กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนจัดการขยะรักษ์สิ่งแวดล้อม ประจำปี 2565
รหัสโครงการ L2485
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มเกาะยาวสามัคคี
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 ธันวาคม 2565 - 27 ธันวาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 28 ธันวาคม 2565
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะยูโซ๊ะ สาแลแม
พี่เลี้ยงโครงการ นายชาติชาย แก้วเมฆ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

บ้านเกาะยาว หมู่ที่ 1 ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส มีหลังคาเรือนทั้งหมด 120 หลังคาเรือน    มีประชากร 683 คน และมีปริมาณขยะ 0.77 ตัน/วัน ซึ่งมาจากการดำรงชีวิตของคนในชุมชน หากคิดเฉลี่ยเป็นรายบุคคล ปริมาณขยะจะอยู่ที่ 1.14 กิโลกรัม/คน/วัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนในชุมชน เช่น ชุมชนสกปรกไม่น่ามอง ทัศนียภาพเสีย ส่งกลิ่นเหม็นรบกวน เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และพาหนะนำโรคต่าง ๆ เช่น หนู แมลงสาบ แมลงวัน ทั้งยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคโดยตรง เช่น อหิวาตกโรค โรคอุจจาระร่วง โรคบิด โรคผิวหนัง โรคบาดทะยัก โรคระบบทางเดินหายใจและเกิดการปนเปื้อนของสารพิษ เช่น ตะกั่ว ปรอท ลงสู่พื้นดินและแหล่งน้ำ ทำให้แหล่งน้ำเน่าเสีย ท่อระบายน้ำอุดตัน ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาน้ำท่วมและเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง เขม่า ควัน จากการเผาขยะและเกิดก๊าชมีเทนจากการฝังกลบขยะ ขยะบางชนิดไม่ย่อยสลายและกำจัดได้ยาก เช่น โฟม พลาสติก ทำให้ตกค้างสู่สิ่งแวดล้อม  การร่วมกันริเริ่มดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะในชุมชน โดยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน ตลอดจนมีการจัดตั้งองค์กรชุมชนในการบริหารจัดการขยะโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน และก่อให้เกิดการสร้างรายได้ควบคู่การสร้างจิตสานึกต่อการรักษ์บ้านเกิดของคนในชุมชน  นอกจากจะเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนและชุมชน  และยังเป็นการลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัด ทำให้ช่วยลดปรากฎการณ์เรือนกระจก (Green House Effect) ลดปริมาณก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีผลให้อุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้นตามมา หรือเรียกว่า ภาวะโลกร้อน (Globel Warmming)
      ดังนั้น กลุ่มเกาะยาวสามัคคี หมู่ที่ 1 บ้านเกาะยาว ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จึงได้จัดทำโครงการชุมชนจัดการขยะรักษ์สิ่งแวดล้อม ประจำปี 2565 ขึ้น เพื่อให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะ ส่งผลทำให้ชุมชนเกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน เกิดความร่วมมือของหมู่บ้าน ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการบริหารจัดการขยะแบบคัดแยกจากต้นกำเนิด และจัดการขยะอย่างเป็นระบบและถูกหลักสุขาภิบาล ส่งผลให้เป็นชุมชนต้นแบบแห่งการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนอย่างแท้จริง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และความตระหนักในการคัดแยกขยะมูลฝอยที่ต้นทาง

ประชาชนมีความรู้และความตระหนักในการคัดแยกขยะมูลฝอย จำนวน 120 คน ร้อยละ 100

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนเกิดจิตสำนึกและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทิ้งขยะมูลฝอย

ประชาชนเกิดจิตสำนึกและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทิ้งขยะมูลฝอย
จำนวน 120 คน ร้อยละ 100

0.00
3 เพื่อให้ชุมชนมีการบริหารจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน

ชุมชนมีการบริหารจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน จำนวน 1 ชุมชน

0.00
4 ทุกหลังคาเรือนมีและใช้ถังขยะเปียกลดโลกร้อน

หลังคาเรือน จำนวน 120 หลังคาเรือน มีและใช้ถังขยะเปียก ลดโลกร้อน ร้อยละ 100

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
27 ธ.ค. 65 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องขยะมูลฝอย สาธิตและฝึกปฎิบัติการคัดแยกขยะมูลฝอยที่ต้นทาง 120 20,000.00 20,000.00
รวม 120 20,000.00 1 20,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้และความตระหนักในการคัดแยกขยะมูลฝอยที่ต้นทาง     2. ประชาชนเกิดจิตสำนึกและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทิ้งขยะมูลฝอย
        3. ชุมชนบริหารจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน     4. ทุกหลังคาเรือน มีและใช้ถังขยะเปียกลดโลกร้อน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2565 15:41 น.