กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยการเต้นไลน์แดนซ์ชุมชนคุปตาสา
รหัสโครงการ 65 – L7452 – 2 – 2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนคุปตาสา
วันที่อนุมัติ 26 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 14,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาคร จักขุรักษ์ ประธานชุมชนคุปตาสา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล กิจกรรมทางกาย (Physical activity) หมายถึง การเคลื่อนไหวของของร่างกายที่ทำให้เกิดการเผาผลาญพลังงานในวิถีชีวิตประจำวัน ที่ส่งผลต่อสุขภาพ และการลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังคำว่า กิจกรรมทางกาย (Physical Activity) และการออกกำลังกาย (Exercise) มักถูกนำมาใช้แทนกันอยู่เสมอ แต่โดยความหมายแล้วจะแตกต่างกัน โดยกิจกรรมทางกาย เป็นการเคลื่อนไหวของร่างกายที่เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อโครงร่างที่ทำให้เกิดการเผาผลาญพลังงาน มีการใช้พลังงานของร่างกายมากกว่าภาวะพัก ไม่ว่าจะเป็นในการทำงานประกอบอาชีพ (Occupational activity ) การทำงานบ้าน งานสวนในบริเวณบ้าน (Household activity) การเดินหรือปั่นจักรยานไปทำงาน เดินขึ้นบันได (Transportation activity) และ การทำกิจกรรมในเวลาว่าง หรืองานอดิเรก (Leisure time activity) ส่วนการออกกำลังกายเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมทางกาย โดยการออกกำลังกายเป็นกิจกรรมทางกายที่มีการกำหนดรูปแบบและแบบแผนกิจกรรมไว้แล้วตามหลักการ FIT ได้แก่ มีการกำหนดความถี่ของการออกกำลังกาย (Frequency) ความหนักของ การออกกำลังกาย (Intensity) และระยะเวลาการออกกำลังกาย (Time) โดยให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ ทั้งนี้จะมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะปรับปรุงสมรรถภาพทางกายให้ดีขึ้น หรือคงสภาพสมรรถภาพทางกายที่มีอยู่เอาไว้ ซึ่งสมรรถภาพทางกาย (Physical Fitness) เป็นปัจจัยสำคัญที่จะบ่งบอกถึงความมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ ซึ่งจะมีผลต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไลน์แดนซ์ (Line Dance) คือ การออกกำลังกายด้วยการเต้น ซึ่งเป็นการผสมผสานการเต้นลีลาศกับการเต้นแอโรบิก ที่นิยมนำมาเป็นกิจกรรมออกกำลังกาย เนื่องจากสามารถลดปัญหาการเต้นแอโรบิกที่การเต้นมีจังหวะเร็ว และเปลี่ยนท่าบ่อยทำให้ผู้เต้นบางคนไม่ถนัด ทั้งลดปัญหาการเต้นลีลาศที่ต้องอาศัยคู่เต้นโดยมีจุดกำเนิดมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา จากกลุ่มของผู้สูงอายุที่รวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรมเต้นเข้าจังหวะ แล้วพัฒนาเป็นรูปแบบ ไลน์แดนซ์ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ให้ความสนุกแบบใหม่ที่ได้ทั้งสุขภาพกายและใจ แถมช่วยบำรุงสมองจากการจดจำไลน์ของการขยับ และการเต้นเข้าจังหวะ ซึ่งนั่นเท่ากับการถอยห่างจากโรคอัลไซเมอร์ โดยปริยาย ทั้งยังช่วยให้ผู้สูงอายุมีความคล่องตัว รู้สึกกระฉับกระเฉง กระชุ่มกระชวย และมีชีวิตชีวามากขึ้น ชุมชนคุปตาสา ได้เห็นถึงการดูแลส่งเสริมสุขภาพได้รวมกลุ่มเพื่อจัดให้มีกิจกรรมทางกาย จึงจัดทำโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยการเต้นไลน์แดนซ์ชุมชนคุปตาสา ขึ้น เพื่อให้สมาชิกในชุมชนคุปตาสาและชุมชนต่างๆ ที่สนใจ มีการเพิ่มกิจกรรมทางกายด้วยการออกกำลังกายเต้นไลน์แดนซ์ เป็นวิธีออกกำลังกายง่ายๆที่ช่วยบริหารร่างกาย บริหารสมอง และช่วยเพิ่มความสุขทางกายและใจไปพร้อมๆ กัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกชุมชนคุปตาสาและชุมชนต่างๆ ที่สนใจ มีการเพิ่มกิจกรรมทางกายด้วยการออกกำลังกายเต้นไลน์แดนซ์
  1. ร้อยละ 80 ของสมาชิกชุมชนคุปตาสาและชุมชนต่างๆ ที่สนใจ เข้าร่วมกิจกรรมเต้นไลน์แดนซ์
80.00
2 2. เพื่อให้สมาชิกชุมชนคุปตาสาและชุมชนต่างๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรม มีค่าดัชนีมวลกายเกิน สามารถลดค่าดัชนีมวลกายหลังเสร็จสิ้นกิจกรรม
  1. ร้อยละ 20 ของสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมที่มีค่าดัชนีมวลกายเกิน มีค่าดัชนีมวลกายลดลงหลังเสร็จสิ้นกิจกรรม
20.00
3 3. เพื่อให้สมาชิกชุมชนคุปตาสาและชุมชนต่างๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมที่มีโรคประจำตัวสามารถควบคุมโรคได้
  1. ร้อยละ 80 ของสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมที่มีโรคประจำตัวสามารถควบคุมโรคได้
80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 14,300.00 0 0.00
1 มิ.ย. 65 กิจกรรมที่ 1. ตรวจสุขภาพเบื้องต้น 0 3,500.00 -
2 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมที่ 2 ออกกำลังกายเต้นไลน์แด๊นซ์ สัปดาห์ละ 3 วัน เดือนละ 12 วัน จำนวน 3 เดือน รวม 36 วัน 0 10,800.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สมาชิกชุมชนคุปตาสาและชุมชนต่างๆ ที่สนใจ ที่เข้าร่วมกิจกรรมมีสุขภาพแข็งแรง มีน้ำหนักและดัชนีมวลกายลดลงหรือไม่เพิ่มขึ้นจากเดิม
  2. สมาชิกชุมชนคุปตาสาและชุมชนต่างๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมที่มีโรคประจำตัวสามารถควบคุมโรคได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2565 08:55 น.