กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม
รหัสโครงการ 60 - L8426 - 1 -14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 มีนาคม 2560 - 15 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปิยนุช อีตัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตันหยงลิมอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.283,101.775place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 126 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งปากมดลูก/เต้านม เป็นปัญหาทางสาธารณสุขของโลก โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนา ในประเทศไทยโรคมะเร็งปากมดลูก/เต้านม เป็นโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทยมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ ๖,๓๐๐ ราย พบมากที่สุดอายุระหว่าง ๔๕-๕๐ ปี การป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก/เต้านม ต้องมีการค้นหา โดยการตรวจหาเซลล์ มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรกและในระยะก่อนเป็นมะเร็งซึ่งสามารถรักษาให้หายได้และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม และจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทำ pap smear (การป้ายหาเซลล์มะเร็งที่บริเวณปากมดลูก) และการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐-๗๐ ปีทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูก/เต้านมได้ จากเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านป่าไผ่ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อส่งเสริมและรณรงค์ตรวจคัดกรองค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูก/เต้านมในหญิงอายุ ๓๐-๗๐ ปีโดยสร้างความตระหนักถึงปัญหาและเล็งเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก/เต้านม เนื่องจากสามารถรักษาได้หากตรวจพบในระยะเริ่มแรก และเพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก/เต้านมในชุมชน อันจะส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐–๖๐ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก อย่างน้อย ร้อยละ ๒๐

 

2 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐–๗๐ปี ได้รับการสอนทักษะและสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองที่ถูกต้องโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร้อยละ ๘๐

 

3 เพื่อให้สตรีอายุ ๓๐ – ๗๐ ปีทีตรวจพบภาวะผิดปกติได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ประชุมคณะทำงานและสำรวจกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่รับผิดชอบ ๒. เขียนโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ ๓. ประชุมแกนนำสตรี/อสม.(หญิง) เพื่อเตรียมการในการดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก/เต้านม ๔. อบรมให้ความรู้กลุ่ม เป้าหมายคัดกรองมะเร็งปากมดลูก/เต้านม พร้อมตรวจคัดกรองบางส่วน และนัดกลุ่มเป้าหมาย ที่ยังไม่ได้ตรวจ ๕. แกนนำสตรี/อสม.(หญิง) ติดตามและส่งต่อกลุ่มเป้าหมาย ที่ยังไม่ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมายัง รพ.สต. เพื่อรับการตรวจ จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ๖. จนท. ร่วมกับ แกนนำสตรี/อสม.(หญิง) ออกเชิงรุกตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก/สอนทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองแก่กลุ่มเป้าหมายในรายที่ไม่สามารถมาตรวจที่ รพ.สต. ได้ ๗. บันทึกข้อมูลคัดกรองตามโปรแกรมคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก ๘. สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐–๖๐ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ ๒๐ ๒. สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐–๗๐ปี ได้รับการสอนทักษะและสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองที่ถูกต้องโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร้อยละ ๘๐ ๓. สตรีอายุ ๓๐ – ๗๐ ปีทีตรวจพบภาวะผิดปกติได้รับการรักษาทันท่วงที และถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2560 12:14 น.