กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขาภิบาลอาหารร้านจำหน่ายอาหารตามแนวทาง Covid free setting ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง ปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-L8422-01-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลเจาะไอร้อง
วันที่อนุมัติ 26 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 พฤษภาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 20,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวพจนารถ คงสุวรรณ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โดยในปัจจุบันวัฒนธรรมการบริโภคอาหาร ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่นิยมประกอบอาหารเพื่อบริโภคเอง โดยเปลี่ยนเป็นนิยม บริโภคอาหารนอกบ้านหรือบริโภคอาหารปรุงสําเร็จ สถานที่จําหน่ายอาหารจึงมีผลกระทบสําคัญต่อสุขภาพ ประชาชน เนื่องจากสถานที่จําหน่ายอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะอาจทําให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรค สารเคมี หรือโลหะหนัก รวมทั้งมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคที่มีอาหารและน้ำเป็นสื่อ ซึ่งกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. ๒๕๖๑ แห่งพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการร้านอาหารและผู้สัมผัสอาหารอาหารต้องดำเนินการตามกฎกระทรวงอย่างเคร่งครัดเพื่อให้สถานที่จำหน่ายอาหารมีสุขลักษณะที่ดี และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส เป็นตำบลที่มีโรงเรียนสำหรับจัดการเรียนการสอนทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนรวมทั้งหมด 7 แห่ง ซึ่งในแต่ละวันโรงเรียนต้องจัดทำอาหารกลางวันเพื่อบริการแก่นักเรียน ครู อาจารย์ เจ้าหน้าที่ต่างๆ รวมทั้งยังมีสถานที่จำหน่ายอาหารในชุมชนสำหรับจำหน่ายอาหารปรุงสุกเพื่อการบริโภคที่ครัวเรือน และบริเวณสถานที่จำหน่ายอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร จึงจำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารและจัดการด้านสุขาภิบาลอาหารที่ถูกต้องตามกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยมุ่งเน้นให้เกิดความสะอาดและปลอดภัยในด้านโครงสร้าง กายภาพ ชีวภาพและเคมีแก่ผู้บริโภค ปราศจากสารปนเปื้อนที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร และโรคที่เกิดจากอาหารเป็นสื่อ (Foodborne diseases) รวมทั้งสารเคมีหรือโลหะหนักด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเฝ้าระวังการจัดการสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน ร้านจำหน่ายอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร 2. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารมีความเข้าใจและเห็นความสำคัญการให้บริการอาหารที่ปลอดภัย 3. เพื่อให้นักเรียน บุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนมีความเข้าใจและเห็นความสำคัญการสุขาภิบาลอาหารและการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย
  1. สถานศึกษาตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง ได้รับการตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร ร้อยละ 80
  2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอเจาะไอร้อง ได้รับการตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารร้อยละ 80
  3. ร้านจำหน่ายอาหารในพื้นที่ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง ได้รับการตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร ร้อยละ 80
  4. แผงลอยจำหน่ายอาหารได้รับการตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร ร้อยละ 80
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อเฝ้าระวังการจัดการสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน ร้านจำหน่ายอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร 2. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารมีความเข้าใจและเห็นความสำคัญการให้บริการอาหารที่ปลอดภัย 3. เพื่อให้นักเรียน บุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนมีความเข้าใจและเห็นความสำคัญการสุขาภิบาลอาหารและการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

??/??/???? ป้ายผ่านการดำเนินงาน Clean Food Good Taste 5,000.00 -
10 พ.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 ตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร (SI-2) ในโรงเรียน ร้านจำหน่ายอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร 6,200.00 -
10 พ.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 ตรวจเชื้อโคลิฟอร์มในน้ำและน้ำแข็ง (อ.11) ในโรงเรียน ร้านจำหน่ายอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร 9,000.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารสถานที่จำหน่ายอาหารมีความเข้าใจและเห็นความสำคัญหลักสุขาภิบาลอาหารที่ถูกต้อง
  2. ผู้ประกอบกิจการแผงลอยจำหน่ายอาหารมีความเข้าใจและเห็นความสำคัญหลักสุขาภิบาลอาหารที่ถูกต้อง
  3. ผู้บริหารสถานศึกษามีความเข้าใจและเห็นความสำคัญหลักสุขาภิบาลอาหารที่ถูกต้อง
  4. ผู้บริโภคในตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง ได้รับประทานอาหารที่ถูกหลักสุขาภิบาล
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2565 00:00 น.