กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
รหัสโครงการ 65-L8422-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุ (สภาซูรอบ้านยานิง)
วันที่อนุมัติ 26 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 พฤษภาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 45,320.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายคณาวิทย์ เจ๊ะซู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ชมรมผู้สูงอายุ (สภาซูรอบ้านยานิง) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2561 โดยการรวมตัวของกลุ่มผู้สูงอายุในหมู่บ้านกำปงดือลง บ้านยานิง อำเภอเจาะไอร้อง ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้สูงอายุในหมู่บ้านมาทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพร่วมกัน และเป็นการพัฒนาจิตใจให้ผู้สูงอายุมีความสดชื่นเบิกบาน ซึ่งแนวโน้มของผู้สูงอายุนับวันจะมีจำนวนมากขึ้นอันจะนำมาซึ่งภาวะเสี่ยงและปัญหาสุขภาพโดยเฉพาะการเจ็บป่วยเรื้อรัง เนื่องจากวัยสูงอายุตามธรรมชาติจะมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่เสื่อมลงทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม ทั้งนี้พบว่า ผู้สูงอายุมีสถิติการเกิดโรคมากกว่าวัยอื่นๆถึง 4 เท่า นอกจากนั้นยังพบว่าผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 65ปี ประมาณ 4 ใน 5คน จะมีโรคประจำตัวอย่างน้อย 1โรค ส่วนปัญหาทางด้านจิตใจในผู้สูงอายุที่สำคัญ คือ ภาวะซึมเศร้าที่เกิดจากการสูญเสียบุคคลใกล้ชิด รวมทั้งการขาดรายได้ การเปลี่ยนแปลงบทบาทหน้าที่ในสังคม จึงมีความจำเป็นที่ต้องเตรียมการในการดูแลผู้สูงอายุ ในด้านการส่งเสริมบทบาทสังคม และการดูแลสุขภาพเรื่องรองรับการบริการของผู้สูงอายุตามสิทธิตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ชมรมผู้สูงอายุ (สภาซูรอบ้านยานิง) ตระหนักถึงปัญหาด้านสุขภาพ และการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ซึ่งมีจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง และเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุ (สภาซูรอบ้านยานิง) เพื่อให้เป็นการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในด้านต่างๆ เน้นให้ผู้สูงอายุมาทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพร่วมกัน แลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกันอันเป็นแนวทางที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุได้รับการพัฒนาความรู้ อารมณ์ และจิตใจให้ผ่องแผ้วเบิกบาน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพกาย และจิตใจของผู้สูงอายุ 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พบปะเพื่อนในวัยเดียวกัน 3. เพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุในการทำกิจกรรมร่วมกัน 4. เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับผู้สูงอายุในการดำเนินชีวิตประจำวัน 5. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีโอกาสทบทวนเรื่องการละหมาดและบทดุอาอ์
  1. ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการได้รับการส่งเสริมการดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
  2. ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้พบปะเพื่อนในวัยเดียวกัน
  3. ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการได้รวมกลุ่มการทำกิจกรรมร่วมกัน
  4. ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการได้รับการสร้างขวัญกำลังใจในการดำเนินชีวิตประจำวัน
  5. ผู้สูงอายุได้ทบทวนละหมาดเดือนละครั้ง เพื่อสร้างความมั่นใจในการประกอบศาสนกิจประจำวัน
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 45,320.00 4 45,320.00
10 พ.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมพบปะประชุมประจำเดือนๆละ 1ครั้ง/กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในชมรมผู้สูงอายุ และให้บริการตรวจสุขภาพประจำปี 0 18,800.00 18,800.00
10 พ.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุที่บ้าน 0 22,720.00 22,720.00
10 พ.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมตรวจสุขภาพประจำปี 0 2,000.00 2,000.00
17 พ.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมทบทวนบทละหมาด และดุอาอ์ 0 1,800.00 1,800.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุได้รับความรู้ และประสบการณ์อันประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งทางร่ายกาย และจิตใจ
  2. ผู้สูงอายุเกิดความเข้าใจ และสามัคคีระหว่างผู้สูงอายุด้วยกัน
  3. ผู้สูงอายุได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พบปะเพื่อนในวัยเดียวกัน
  4. ผู้สูงอายุได้รับการเยี่ยมเยียนจากเพื่อนสมาชิก เสริมพลังบวกให้กำลังใจ
  5. มีการประสานงาน และเสริมสร้างบทบาทการมีส่วนร่วมของทุกส่วนในการดูแลผู้สูงอายุ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2565 00:00 น.