กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์
รหัสโครงการ 60-L6959-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะสาวอ
วันที่อนุมัติ 12 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 28,280.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฟารีดะห์ ฮาแวมาเนาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะสาวอ ตำบลลุโบะสาวอ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.486,101.667place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 124 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การตั้งครรภ์เป็นสภาวะที่สภาพร่างกายของคนเกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนอย่างต่อเนื่อง ขณะตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงในช่องปากที่พบได้บ่อย คืออัตราไหลของน้ำลายลดลง เหงือกอักเสบ(การอักเสบของเหงือกและมีเลือดออกเหงือกบวมแดงเหงือกโตผิดปกติ) ฟันผุ และการสึกกร่อนของฟัน เป็นต้น โรคในช่องปากที่มีโอกาสพบมากในหญิงตั้งครรภ์คือเหงือกอักเสบโรคปริทันต์และโรคฟันผุหญิงตั้งครรภ์มีโอกาสเกิดเหงือกอักเสบรุนแรงกว่าช่วงเวลาอื่น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และอาจเกิดฟันผุได้มากขึ้นเนื่องจากรับประทานอาหารบ่อยขึ้น และการมีอนามัยช่องปากที่ไม่ดีอาการอาเจียนบ่อยๆขณะแพ้ท้องอาจทำให้เกิดฟันสึกกร่อนจากการสัมผัสน้ำย่อยที่เป็นกรด ภาวการณ์เป็นโรคปริทันต์ หรือเหงือกอักเสบ อาจส่งผลต่อคุณภาพของการตั้งครรภ์และการคลอด มีการศึกษาที่ยืนยันถึงความสัมพันธ์ของโรคปริทันต์กับการเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดและเด็กน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ซึ่งยังเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยจากการศึกษาของสำนักทันตสาธารณสุขพบว่า หญิงตั้งครรภ์มีฟันผุเฉลี่ย๖.๖ ซี่ ร้อยละ ๙๐.๔มีเหงือกอักเสบร้อยละ ๘๙.๖๐ และจากการศึกษาข้อมูลของหญิงตั้งครรภ์ในเขตตำบลลุโบะสาวอ ในปี ๒๕๕๙ จำนวน ๑๑๐ คน พบว่าหญิงตั้งครรภ์มีฟันผุเฉลี่ย๕.๒ ซี่ ร้อยละ๙๔.๕๔มีเหงือกอักเสบ ร้อยละ ๙๔.๕๔ ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่มีควาเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคฟันผุทั้งปาก พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์ยังส่งผลต่อการเกิดฟันผุของลูกในอนาคตเพราะเชื้อโรคที่ทำให้ฟันผุสามารถส่งต่อจากแม่หรือคนเลี้ยงไปสู่เด็กผ่านทางน้ำลายดังนั้นแม่ที่อนามัยช่องปากไม่สะอาดมีฟันผุมากจึงมีโอกาสสูงมากขึ้นที่จะส่งผ่านเชื้อไปสู่ลูกแม่ที่มีฟันผุสูงมีโอกาสที่จะส่งผ่านเชื้อที่ทำให้ฟันผุไปยังลูกผ่านทางน้ำลายโดยเด็กที่ได้รับเชื้อที่ทำให้ฟันผุตั้งแต่อายุน้อยร่วมกับการกินอาหารที่มีน้ำตาลสูงจะเกิดฟันผุรวดเร็วและรุนแรงนอกจากนี้การตรวจสุขภาพช่องปากและให้คำแนะนำรวมถึงให้บริการขูดหินน้ำลายยังช่วยลดอัตราการเกิดเหงือกอักเสบในหญิงตั้งครรภ์ได้กว่าครึ่งรวมทั้งการสร้างทัศนคติและทักษะให้แม่สามารถดูแลช่องปากของตนเองได้ดีจะส่งผลต่อทักษะการดูแลลูกต่อไปในอนาคต ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะสาวอ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อมุ่งเน้นให้หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตัวเองและลูกได้ถูกต้องและเหมาะสม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากของตัวเองและลูก

 

2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจประเมินสุขภาพช่องปาก

 

3 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝึกแปรงฟันอย่างมีประสิทธิภาพ

 

4 เพื่อให้ อสม. มีส่วนร่วมในการดูแลทันตสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ ๑. ประชุมเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน
๒. สำรวจปัญหาทันตสุขภาพ ๓. เขียนโครงการ กำหนดรายละเอียดแผนงาน และการดำเนินงาน ๔. ประสานงานเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และภาคีที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามโครงการและแผนงาน ๕. จัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์ จัดเตรียมอุปกรณ์ในการดำเนินงาน ๖. ประชุมเตรียมการดำเนินงาน และกำหนดแผนการดำเนินงาน ขั้นดำเนินงาน ๑. ทบทวนและจัดทำแนวทางการส่งเสริมทันตสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์
๒. ตรวจประเมินสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษาแก่หญิงตั้งครรภ์ ๓.จัดอบรมให้แก่หญิงตั้งครรภ์ และอสม. เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์และเด็กแรกเกิด ๔. ให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการย้อมสีฟันและฝึกแปรงฟันจริง ๕. สร้างกระแสในชุมชน ด้วยการค้นหาต้นแบบหญิงตั้งครรภ์สุขภาพช่องปากดี หลังดำเนินงาน -ประเมินผลโครงการ -สรุปผลโครงการ -นำเสนอผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและลูก ๒. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจประเมินสุขภาพช่องปากทุกคน ๓. หญิงตั้งครรภ์สามารถแปรงฟันได้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ๔. อสม.เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2559 12:23 น.