กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาการเด็กปฐมวัยเล่นเปลี่ยนโลก
รหัสโครงการ 65-L3329-2-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2564 - 31 กรกฎาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2565
งบประมาณ 5,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปาริชาติ ขุนจันทร์
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาววาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสภาพปัจจุบันการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ผู้ปกครองให้ความสำคัญกับการประกอบอาชีพ ซึ่งบางครอบครัวไม่ได้อยู่กับพ่อและแม่ ในยุคปัจจุบันที่ก้าวทันต่อเทคโนโลยี สื่ออิเล็กทรอนิกส์ มือถือ ในการเล่นและทำกิจกรรมต่างๆ กับเด็กปฐมวัย ร้อยละ 67.30 (กรมอนามัย,2559) สถานการณ์การตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัย ปีงบประมาณ 2559 – 2561 พบว่า เด็กมีพัฒนาการสมวัยในครั้งแรกมีแนวโน้มลดลง ร้อยละ 86.22 ร้อยละ 83.61 และร้อยละ 78.82 ซึ่งไม่สมวัยด้านการเคลื่อนไหว ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก และด้านการใช้ภาษา ส่งผลไปยังสถานการณ์ระดับสติปัญญาเด็กไทย ปี 2559 พบว่าเด็กประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มี IQ ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ (IQ น้อยกว่า 90 ) อยู่ถึง 31.81 (ไม่ควรเกิน ร้อยละ 25 )(สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต , 2559) การเล่นเป็นการส่งเสริมพัฒนาการและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้พัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ผ่านการเล่น (มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก,2522) ในศตวรรษที่ 21 เป็นช่วงเวลาที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปรวดเร็ว ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมตั้งแต่เด็กให้มีทักษะสำหรับการดำรงชีวิตให้ทันต่อโลก และตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ 2560 – 2579) ให้ความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพในเด็กปฐมวัย กำหนดเป็น ‘ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์” ด้วยการส่งเสริมพัฒนาการและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ผ่านการเล่น เพื่อเตรียมความพร้อมพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการและทักษะที่จำเป็น อีกทั้งแก้ไขปัญหาแนวโน้มการตรวจพบพัฒนาการล่าช้าให้น้อยลง
หากประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ตระหนักในการดูแลเลี้ยงดูเด็ก รวมทั้งมีทักษะในการเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสม จะสามารถดูแลเด็กที่อยู่ในช่วงปฐมวัย ลดโอกาสการคัดกรองพบพัฒนาการล่าช้าในกลุ่มเด็กปฐมวัยในแต่ละช่วงอายุ ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ศูนย์สุขภาพชุมชนควนเสาธงได้ตระหนักถึงความสำคัญที่จะดูแลส่งเสริมพัฒนาการเด็กผ่านการเล่น ตามหลักทฤษฎี 3 F ( Family Free Fun ) เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสม มีทักษะในการเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กภายใต้โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยเล่นเปลี่ยนโลก จึงได้จัดทำโครงการขึ้นเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในครั้งนี้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 จัดทำโครงการ/ขออนุมัติโครงการจากคณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนโครงการ 1.2 ประชุมชี้แจง สมาชิกชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ศูนย์สุขภาพชุมชนควนเสาธง เพื่อหาแนวทางร่วมกัน 1.3 ประชาสัมพันธ์เชิญชวนกลุ่มเป้าหมาย เข้าร่วมโครงการ
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 จัดกิจกรรมอบรมตามจัดกิจกรรมอบรมตามโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย โดยให้ความรู้ในเรื่องการส่งเสริมพัฒนาการเด็กในช่วงอายุ 0 – 5 ปี โดยการเล่น ( กิน นอน กอด เล่น เล่า ) 2.2 จัดกิจกรรมอบรมตามโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยเล่นเปลี่ยนโลก ตามหลักการทฤษฎี 3F ได้แก่ 1) Famiiy 2) Free 3) Fun 2.2 สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน พร้อมข้อเสนอแนะทางแก้ไขปัญหา
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลเด็กและการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก แต่ละช่วยอายุ ผ่านการเล่นเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 70
  2. เพิ่มอัตราการตรวจคัดกรองพัฒนาการพบสมวัย ในเด็กอายุ 0 – 5 ปี มากกว่าร้อยละ 90 ตามเกณฑ์กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
  3. ลดอัตราการตรวจคัดกรองพัฒนาการพบสงสัยล่าช้าในเด็กอายุ 0 – 5 ปีน้อยกว่า 20 ตามเกณฑ์กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2565 00:00 น.