กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สร้างสุขภาพ ห่างไกลภาวะแทรกซ้อน
รหัสโครงการ 65-L3329-1-23
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปลักปอม
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 25,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศิริขวัญ เพ็ญสุวรรณ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาววาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถิติผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีจำนวนสูงมากขึ้น ซึ่งจัดเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศไทย หากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมอาการของโรคได้ นำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขึ้นมีโอกาสเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้น 3-4 เท่าและโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น 3-8 เท่า และผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลต่ำกว่าปกติมีโอกาสเสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น ขณะที่รายที่มีระดับน้ำตาลสูงกว่าปกติมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อวัยวะต่างๆ ของร่างกายเพิ่มขึ้น อาทิ ความเสื่อมสภาพของหลอดเลือดสมอง หัวใจ ตา ไต และเท้า เป็นต้น ซึ่งภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวข้างต้นนำไปสู่การสิ้นเปลืองด้านทรัพยากร งบประมาณ อุปกรณ์ ตลอดจนเวชภัณฑ์ต่างๆ ในการรักษาและการจัดการกับภาวะแทรกซ้อนต่างๆ การลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว จะต้องควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ เป้าหมายสำหรับกลุ่มป่วยดังกล่าว และเข้าถึงการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐาน แต่เนื่องด้วยผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงต้องเข้ารับการรักษาต่อเนื่องตลอดชีวิตและมีการปรับพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความเบื่อหน่าย ขาดความใส่ใจในการรักษา ไม่ร่วมมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการควบคุมอาการของโรค กระทบต่อผู้ป่วยโดยตรงจากการกำเริบอาการของโรคและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปลักปอม ในปี 2565 มีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มารับบริการต่อเนื่อง จำนวน 73 ราย พบว่าอัตราระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานอยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ ร้อยละ 45.16 ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ < 140/90 mmHg. ร้อยละ 56.52 จากสถิติดังกล่าวจะเห็นได้ว่าผู้ป่วยที่คุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตไม่ได้ยังมีจำนวนมาก การหาแนวทางในการป้องกันภาวะแทรกซ้อน และลดความรุนแรงของโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในกลุ่มป่วยดังกล่าว จึงมีความจำเป็นและควรเริ่มต้นจากการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ป่วยเอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เขียนโครงการเพื่อของบจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลควนเสาธง
  2. วิเคราะห์ปัญหา / พฤติกรรมสุขภาพ ของผู้ป่วยแต่ละบุคคล
  3. ทำ SMBG / SMBP ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่มีความเสี่ยงสูง พร้อมทั้งปรึกษาแพทย์เพื่อปรับเปลี่ยนยา
  4. เจาะ DTX  วัดความดันโลหิตทุกเดือน x 6 เดือน พร้อมทั้งจุดกราฟเส้นสีชี้ชะตาชีวิต ดูแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง
  5. ทำกิจกรรมกลุ่ม / ทบทวนตนเอง / สื่อสารความเสี่ยงจำนวน 3 ครั้ง
  6. ให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ตามหลัก 3 อ 2 ส จำนวน 2 ครั้ง
  7. สาธิตอาหารสำหรับผู้ป่วย ( เต็มวัน )
  8. ติดตามเยี่ยมบ้าน ย่องครัว ดูพฤติกรรมการบริโภคอาหารรายบุคคล ให้คำปรึกษารายบุคคลที่บ้าน
  9. ติดตามประเมินผล และสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
  10. ปรับปรุง พัฒนาจากผลการดำเนินงาน เพื่อใช้ในการจัดทำแผนงาน / โครงการต่อไป
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง มีความรู้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองได้ถูกต้องและเหมาะสม
  2. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า
  3. ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับเบาหวานได้ดีร้อยละ ๔๙
  4. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีร้อยละ ๖0
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2565 00:00 น.