กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ “ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ” ตำบลธารน้ำทิพย์ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-L4129-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลธารน้ำทิพย์
วันที่อนุมัติ 8 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 10 กันยายน 2565
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจันทรา ฐิติเมฆินทร์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลธารน้ำทิพย์ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสาเหตุการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน อัมพฤต อัมพาต โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง และโรคอ้วน เป็นต้นซึ่งโรคต่างๆ เหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องดังกล่าวเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพ เรื่องการบริโภคอาหารขาดการออกกำลังกาย และ อารมณ์เครียดทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาซึ่งประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตของคนในสังคมต้องดิ้นรน และต้องต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของตนเอง ส่งผลให้ชีวิตประจำวันเกิดความเร่งรีบ มีความเครียดสั่งสมจากการทำงาน โอกาสในการออกกำลังกายมีน้อย บริโภคอาหารที่คำนึงถึงความสะดวกรวดเร็วอิ่มท้องต้องพึ่งพาบุหรี่ และแอลกอฮอล์ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวล้วนมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานโรคมะเร็งและภาวะโรคอ้วนลงพุงโดยในปัจจุบันประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพได้อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตแต่ความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน และลดความเสี่ยงเหล่านี้ยังไม่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการคัดกรองพบว่าการดูแลสุขภาพที่ไม่เหมาะสมตลอดจนการมีพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ
มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของโรคเรื้อรังต่างๆการค้นหาความเสี่ยงนับว่าเป็นหัวใจสำคัญของการตรวจสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสร้างเสริมสุขภาพให้แก่บุคคล จากการดำเนินงานคัดกรองกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไป ในเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอเบตง ปี 2564 จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่คัดกรองโรคเบาหวานทั้งหมด 19,499 ราย พบกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน 1,051 ราย คิดเป็นเป็นร้อยละ 5.39กลุ่มป่วย 1,810 รายคิดเป็นร้อยละ 3.58 ของประชากรทั้งหมด และจากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 17,447 ราย พบกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง 1,706 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.78กลุ่มป่วย 4,608 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.12 ของประชากรทั้งหมด และจากการดำเนินงานคัดกรองกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไป ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลธารน้ำทิพย์ ปี 2564จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่คัดกรองโรคเบาหวานทั้งหมด 1,498 ราย พบกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน 179 ราย คิดเป็นเป็นร้อยละ 11.95กลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวาน 103 รายคิดเป็นร้อยละ 6.26 ของประชากรทั้งหมด และจากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 1,380 ราย พบกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง 195 ราย คิดเป็นร้อยละ 14.13 กลุ่มป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง 285 ราย คิดเป็นร้อยละ 19.40 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งมีอัตราที่สูง และปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าว ได้แก่ การขาดการออกกำลังกายพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสมกับวัยซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้นำมาซึ่งความเจ็บป่วยและการสูญเสียตามมา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลธารน้ำทิพย์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ในกลุ่มเสี่ยงดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมี.ค. 65เม.ย. 65พ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65
1 จัดทำฐานข้อมูลกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไป และกลุ่มป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ในพื้นที่(7 มิ.ย. 2565-30 มิ.ย. 2565) 0.00                  
2 ติดตามประเมินผลโครงการ และสรุปโครงการ(17 ก.ย. 2565-30 ธ.ค. 2564) 0.00                  
3 จัดประชุมผู้รับผิดชอบงาน และอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อชี้แจงแนวทางการตรวจสุขภาพกลุ่ม เสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไป และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง(17 พ.ย. 2565-17 พ.ย. 2565) 0.00                  
4 อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยง(17 พ.ย. 2565-17 พ.ย. 2565) 20,000.00                  
5 ติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยง(17 พ.ย. 2565-17 พ.ย. 2565) 0.00                  
รวม 20,000.00
1 จัดทำฐานข้อมูลกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไป และกลุ่มป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ในพื้นที่ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 0.00
15 - 30 มี.ค. 65 จัดทำฐานข้อมูลกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไป และกลุ่มป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ในพื้นที่ 0 0.00 0.00
2 ติดตามประเมินผลโครงการ และสรุปโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 0.00
21 ก.ค. 65 ประเมินโครงการและสรุปผลการดำเนินโครงการ 0 0.00 0.00
3 จัดประชุมผู้รับผิดชอบงาน และอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อชี้แจงแนวทางการตรวจสุขภาพกลุ่ม เสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไป และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 0.00
6 มิ.ย. 65 ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนดำเนินกิจกรรม 0 0.00 0.00
4 อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 120 20,000.00 1 20,000.00
20 - 21 ก.ค. 65 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อรัง / การปฏิบัติตัวเพื่อห่างไกลโรคเรื้อรัง/การบริโภคอาหารที่เหมาะสม/การออกกำลังกาย/สุขภาพจิต และการจัดการความเครียด 120 20,000.00 20,000.00
5 ติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 120 0.00 1 0.00
22 ก.ค. 65 - 22 ต.ค. 65 เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุข ติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยง และ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เดือนละครั้ง จำนวน 3 เดือน เพื่อประเมินภาวะสุขภาพกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 120 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพิ่มขึ้น ทำให้มีพฤติกรรมสุขภาพปรับเปลี่ยน ไปในทางที่ดีขึ้นเพิ่มขึ้น ร้อยละ 100
  2. ประชาชนกลุ่มป่วยด้วยโรคเรื้อรังมีความรู้ และทักษะในการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน สามารถประเมิน และแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
  3. ผู้เข้าอบรมมีทักษะในการฝึกปฏิบัติการในแบบต่างๆที่เลือกสรร และนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง บุคคลในครอบครัว และชุมชน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2565 00:00 น.