กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างความเข้าใจโรคโควิด 19 ปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 2565-L3001-1-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาตำบลเกาะจัน
วันที่อนุมัติ 12 พฤษภาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 พฤษภาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 26,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมาหลา เจ๊ะอูมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะจัน อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.723,101.382place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)           จากการระบาดของโรคโควิด 19 ที่ผ่านมา การติดเชื้อโควิด-19 นับว่าเป็นโรคที่ส่งผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพราะว่าหลังจากรักษาหายแล้ว แต่หลายคนยังรู้สึกเหมือนยังไม่หายดี เพราะว่าระหว่างการติดเชื้อ ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อไปจับกับเซลล์โปรตีนของบางอวัยวะ ทำให้เกิดการอักเสบในร่างกาย เป็นผลให้อวัยวะนั้นๆ ได้รับความเสียหาย ส่งผลกระทบไปทั่วร่างกาย เช่น อาการปอดบวม หรือ เนื้อปอดถูกทำลาย โดยระดับความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับความรวดเร็วในรักษา และการกำจัดเชื้อโควิดในร่างกาย เราเรียกภาวะนี้ว่า “โควิดระยะยาว (Long COVID)” สามารถพบได้ถึง 30-50% สาเหตุหลักมาจาก เครียดสะสม หรือเป็นผลข้างเคียงของยาที่ใช้ เช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ โรคแฝง หรือบางรายอาจติดเชื้อโควิดซ้ำแต่คนละสายพันธุ์หลังการติดเชื้อโควิด ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานตามธรรมชาติและมักจะไม่ติดเชื้อโควิดซ้ำในช่วง 1-3 เดือนแรกหลังหายป่วย แต่ภูมิต้านทานจะค่อยๆ ลดลงและไม่คงอยู่ตลอด ทำให้มีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้อีกในอนาคต จึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 อย่างเคร่งครัดอยู่เสมอ เช่น ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา หมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ 70% รับประทานอาหารร้อน ช้อนกลาง และไม่ไปในแหล่งชุมชนแออัด หรือสถานที่อากาศไม่ถ่ายเท ดังนั้น ผู้ที่หายจากโควิด-19 ต้องสังเกตตัวเองอย่างละเอียด ประเมินร่างกายตนเองอยู่เสมอ และฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายอย่างถูกต้อง หากมีอาการดังกล่าวข้างต้นที่รบกวนการใช้ชีวิต แนะนำให้พบและปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุอย่างละเอียด และอาจจะต้องมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อทำการรักษาให้ตรงกับปัญหาที่เกิดขึ้น อย่าปล่อยทิ้งไว้จนรุนแรงและเรื้อรัง ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียโอกาสในการรักษาและส่งผลเสียต่อสุขภาพที่มากขึ้นนั่นเอง ในรอบปี 2564 สถานการณ์การติดเชื้อของตำบลเกาะจัน พบผู้ติดเชื้อยืนยัน จำนวน 222 คน เข้ารับการรักษาตามระบบและจากการติดตามในพื้นที่ยังพบกลุ่มติดเชื้อที่มีอาการ Long COVID จากการสุ่มสอบถามจากกลุ่มติดเชื้อ จำนวน 80 คน หลังจากรักษาครบกำหนด พบว่ายังมีอาการอ่อนเพลีย หายใจเหนื่อย เบื่ออาหาร และยังมีอาการนอนไม่หลับ จำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 46.25 ซึ่งส่วนใหญ่พบในกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มโรคเรื้อรัง ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก การให้องค์ความรู้ในการปฏิบัติตัว ประเมินร่างกายตนเองอยู่เสมอ และฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการเกิดโรคและการดูแลตนเองขณะป่วยและหลังป่วย ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้นกลุ่มงานระบาดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะจันเล็งเห็นความสำคัญของการสร้างความเข้าใจดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างความเข้าใจโรคโควิด19 ปี 2565 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ กลุ่มเป้าหมาย ได้รับการองค์ความรู้เพื่อเฝ้าระวังตนเองได้ถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมาย ได้รับการองค์ความรู้เพื่อเฝ้าระวังตนเองได้ถูกต้องร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อให้ กลุ่มเป้าหมาย ได้รับการองค์ความรู้และประเมินอาการตนเองได้ถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมาย ได้รับการองค์ความรู้และประเมินอาการตนเองได้ถูกต้อง ดีขึ้นร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้การเฝ้าระวังการระบาดและควบคุมโรคในชุมชน

คนในชุมชนช่วยกันเฝ้าระวังการระบาดและควบคุมของโรคโควิด 19 ร้อยละ 70

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต 1. กลุ่มเป้าหมาย ได้รับความรู้และปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง
2. กลุ่มเป้าหมาย สามารถประเมินอาการตนเองได้ถูกต้อง 3. กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้และและสามารถแนะนำคนในบ้านได้ถูกต้อง
ผลลัพธ์ 1. คนในชุมชน มีความรู้ในการเฝ้าระวังตนเองได้ถูกต้อง ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคโควิด19 ได้ 4. คนในชุมชน มีความรู้และประเมินอาการตนเองได้ถูกต้อง ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคโควิด19 ได้ 5. อัตราการเกิดโรคโควิด 19 ลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2565 09:23 น.