กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ของนักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะนางคำ
รหัสโครงการ 65-L3333-02-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านเกาะนางคำ
วันที่อนุมัติ 23 พฤษภาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 12,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจิดาภา มณีดำ
พี่เลี้ยงโครงการ นายกำพล เศรษฐสุข
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็น “ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ” เนื่องจากเชื้อไวรัสดังกล่าวได้มีการแพร่ระบาด ไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกอย่างรวดเร็ว และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (COVID-19) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตรายแล้ว ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องชื่อ และอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2563 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 และกระทรวงศึกษาธิการ เห็นถึงความสำคัญ ความจำเป็น จึงไดแถลงความพร้อมของกระทรวงศึกษาธิการในการเปิดภาคเรียน ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ตามแนวทาง “โรงเรียนสุขภาพดี นักเรียนมีความสุข (Back to Healthy School)” โดยกล่าวว่า สถานศึกษาทุกสังกัดทั่วประเทศจะเปิดภาคเรียนในวันที่ 17 พฤษภาคม 2565 ตามนโยบาย “โรงเรียนสุขภาพดี นักเรียนมีความสุข (Back to Healthy School)” โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และพ่อแม่ผู้ปกครอง เพื่อให้การเรียนของนักเรียน ได้รับทั้งความรู้ และความปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
มาตรการในการเปิดเรียน สิ่งสำคัญที่สุด คือ กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ออกคู่มือการปฏิบัติสำหรับสถานศึกษา ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งแบ่งเป็น 6 มิติด้วยกัน คือโดยมิติที่ 1 ว่าด้วยเรื่องความปลอดภัยจากการลดการแพร่เชื้อ มีจำนวน 20 ข้อ ในมิตินี้สถานศึกษาทุกแห่งต้องปฏิบัติให้ครบถ้วน 20 ข้อ ตามมาตรการที่กำหนดโดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งสถานศึกษาทุกแห่งได้รับคู่มือนี้ไปเตรียมรับการประเมิน ส่วนมิติที่เหลือ 24 ข้อ ก็จะเป็นมิติในการเรียนรู้ การครอบคลุมถึงเด็กด้อยโอกาส สวัสดิภาพและการคุ้มครอง นโยบาย และมิติการบริหารการเงิน เพื่อให้สถานศึกษาสามารถนำไปปรับใช้เป็นแนวทางการบริหารจัดการในการเปิดภาคเรียน
สำหรับแนวปฏิบัติของสถานศึกษาระหว่างเปิดภาคเรียน จะต้องมีการคัดกรองสุขภาพ ซึ่งโรงเรียนต้องเตรียมความพร้อมตั้งแต่จุดรับ-ส่งนักเรียน เพื่อจะได้ดูว่านักเรียนมีอาการป่วยหรือไม่ อีกทั้งต้องให้ครูและนักเรียนทุกคนต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา          จัดสถานที่ล้างมือหรือแอลกอฮอล์เจล ลดการแออัด เว้นระยะห่างในห้องเรียน และทำความสะอาดสถานที่ ทั้งนี้ สถานศึกษาทุกสังกัด      ทุกระดับ จะต้องมีการปรับปรุงห้องเรียน ด้วยการจัดโต๊ะที่นั่งเรียน ให้เว้นระยะห่างกันไม่ต่ำกว่า 1.5 เมตร และต้องปรับปรุงพื้นที่อื่น ๆ ในโรงเรียน อาทิ โรงอาหารที่ต้องเว้นระยะห่างบุคคลไม่ต่ำกว่า 2 เมตร และต้องมีการทำความสะอาดบ่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องสุขาและจุดสัมผัสต่าง ๆ ที่สำคัญ ต้องงดการทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดความแออัดอีกด้วย     ดังนั้น จากเหตุผลความสำคัญ ดังกล่าวข้างต้น โรงเรียนบ้านเกาะนางคำ จึงจัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโควิค 19 ของนักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะนางคำ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 558 12,000.00 0 0.00
1 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโควิค 19 186 12,000.00 -
1 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 จัดให้มีจุดบริการวัดอุณภูมิพร้อมเจลแอลกอฮอร์ตามจุดต่างๆในบริเวณโรงเรียนเพื่อบริการนักเรียน บุคลากร ผู้ปกครองหรือประชาชนที่มาโรงเรียน 186 0.00 -
1 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังเพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโควิค 19 186 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) นักเรียนได้ใช้วัสดุในการป้องกัน โรคติดเชื้อไวรัสโควิค 19 อย่างทั่วถึงและเพียงพอ
2) นักเรียนมีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพตัวเองในการป้องกันโรคโควิค 19 ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม 3) นักเรียนนำความรู้ไปเผยแพร่แก่ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2565 14:05 น.