กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เฝ้าระวังการเกิดผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่บ้านบางพลอง ปี 2565
รหัสโครงการ 65-L3333-02-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ภาคีเครือข่าย อสม.บ้านบางพลอง
วันที่อนุมัติ 23 พฤษภาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 10,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปรีชา พุมภูฆัง
พี่เลี้ยงโครงการ นายกำพล เศรษฐสุข
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 16 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 21 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ประจำปี 2565 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะนางคำ พบผู้สงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 127 คน กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน
269 คน ซึ่งในปัจจุบัน (พฤษภาคม 2565) หมู่ที่ 6 บ้านบางพลองมีจำนวน70หลังคาเรือน ประชากรทั้งหมดจำนวน 191 คน พบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง16 คน คิดเป็นร้อยละ 8.38 ของประชากรทั้งหมด ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและมีโรคแทรกซ้อน จำนวน 1 คน ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปจำนวน 68คน ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงอยู่ในกลุ่มเสี่ยงจำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 9.52 ของประชากรที่ได้รับการคัดครอง และกลุ่มสงสัยป่วย จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 10.29ของประชากรที่ได้รับการคัดครอง จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้ว่าสถานการณ์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งโรคความดันโลหิตสูง เกิดจากการมีพฤติกรรมไม่ถูกต้อง และเป็นภัยเงียบที่เกิดขึ้นกับสุขภาพในการดำเนินการแก้ปัญหาโรคความดันโลหิตสูง นอกจากการมีความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแล้ว จะต้องมีเครื่องมืออุปกรณ์เพียงพอในการดำเนินการเฝ้าระวังไม่ให้เกิดผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่เพิ่มขึ้น กลุ่มภาคีเครือข่ายอสม.หมู่ที่ 6 บ้านบางพลองเล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังการเกิดผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่บ้านบางพลองปี 2565ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มสงสัยป่วย และผู้ป่วยได้รับการติดตามตรวจความดันโลหิต

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มสงสัยป่วย และผู้ป่วย ได้รับการติดตามตรวจความดันโลหิตร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เข้าถึงการวัดความดันโลหิตได้อย่างสะดวก

ความพึงพอใจของประชาชนในการเข้าวัดความดันโลหิตที่จุดบริการวัดความดันโลหิตในชุมชน ร้อยละ 90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มสงสัยป่วย และผู้ป่วยได้รับการติดตามตรวจความดันโลหิต

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เข้าถึงการวัดความดันโลหิตได้อย่างสะดวก

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

15 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 จัดทำโครงการและชี้แจงโครงการแก่ อสม.ที่จะลงพื้นที่ติดตามตรวจความดันโลหิตสูง 6.00 0.00 -
15 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 จัดหาเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล สำหรับใช้ในการปฏิบัติงาน 37.00 10,500.00 -
15 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 ติดตามตรวจความดันโลหิตประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มสงสัยป่วย และผู้ป่วยในรายที่ไม่สามารถไปรับบริการที่ รพ.สต./ รพ.ได้ 37.00 0.00 -
15 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 จัดให้มีจุดวัดความดันโลหิตในชุมชน ให้บริการประชาชนในการวัดความดันโลหิตเพื่อเฝ้าระวังตนเอง 37.00 0.00 -
15 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 สรุปผลการตรวจวัดความดันโลหิต ประชาชนกลุ่มเป้าหมายให้ รพ.สต.บ้านเกาะนางคำ 0.00 0.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง เพิ่มขึ้นไม่เกิน ร้อยละ 5
  2. ประชาชนมีความพึงพอใจในการเข้าวัดความดันโลหิตที่จุดบริการวัดความดันโลหิตในชุมชน ร้อยละ 90
  3. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มสงสัยป่วย และในรายที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามการเฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 90
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2565 14:44 น.