กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ฉีดวัคซีนโควิด-19 ในพื้นที่ตำบลบ้านโหนด
รหัสโครงการ 65-L5258-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ห้วยบอน
วันที่อนุมัติ 18 พฤษภาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2564 - 31 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 38,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านโหนด อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ธ.ค. 2564 31 ส.ค. 2565 38,300.00
รวมงบประมาณ 38,300.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 240 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด 2019 ซึ่งมีการประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้ โรคไวรัสโคโรน่า หรือ COVID-19 เป็นโรคร้ายแรง ทำให้เกิดการตื่นหนักของประชาชนทั่วโลกและคนไทย ซึ่งพบการระบาดไปในหลายประเทศส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก สถานการณ์ระบาดกำลังแพร่ระบาดกระจายยังไม่สามารถควบคุมได้สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่ ตัวไวรัส COVID-19 จะทำให้เกิดอาการไข้สูง จาม ไอ การอักเสบของปอดและเยื้อหุ้มปอดอย่างรุนแรง ในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบในวงกว้างอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะใช้มาตรการป้องกันควบคุมโรคหลายมาตรการ เช่น คัดกรองและเฝ้าระวังโรคกักตัวผู้มีความเสี่ยงรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า งดจัดกิจกรรมที่รวมกลุ่มคนจำนวนมาก ทำความสะอาดสถานที่่และพื้น เป็นต้น แต่สิ่งที่เป็นความหวังของรัฐบาลและประชาชนในขณะนี้ คือวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือเรียกสั้นๆ ว่า วัคซีนโควิด 19 นั้น ประเทศไทยได้มีการเตรียมความพร้อมที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาวัคซีนดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงการใช้วัคซีนที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพได้มากที่สุดเท่าที่ศักยภาพของประเทศจะดำเนินการได้ ทั้งนี้ การรณรงค์ประชาสัมพันธ์การฉีดวัคซีนและเฝ้าระวังป้องกัน COVID-19 จึงจำเป็นต้องมีการดำเนินการเพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักในการฉีดวัคซีนและได้รับการฉีดวัคซีนให้ได้มากที่สุด จากสถานการณ์การณ์โรคโควิด – 19 จังหวัดสงขลา ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 พบผู้ป่วยยืนยันรายใหม่ 457 ราย ยอดสะสม 57,776 ราย เสียชีวิต 244 ราย ส่วนอำเภอสะบ้าย้อยพบผู้ป่วยรายใหม่ ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 จำนวน 7 ราย ยอดสะสม 3,305 ราย เสียชีวิต 24 ราย และตำบลบ้านโหนดพบผู้ป่วยรายใหม่ ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 จำนวน 2 ราย ยอดสะสม 334 ราย เสียชีวิต 3 ราย ซึ่งมาตรการสำคัญในการลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 และลดความรุนแรงของอาการป่วย คือ การเร่งฉีดวัคซีนโควิด - 19 ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงสูงในพื้นที่ จากผลการดำเนินการฉีดวัคซีน พบว่า อำเภอสะบ้าย้อยมีเปอร์เซ็นของการฉีดวัคซีนเข็มแรกเป็นอันดับสุดท้ายของจังหวัดสงขลา คิดเป็นร้อยละ 60.59 ในขณะที่การรับบริการฉีดวัคซีนเข็มแรกในพื้นที่ตำบลบ้านโหนดมีเพียงร้อยละ 73.51 (https://healthcare.skho.moph.go.th) ดังนั้น โรงพยาบาลสะบ้าย้อย ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยบอน และองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโหนดจึงจัดโครงการรณรงค์ฉีดวัคซีนโควิด-19 ในพื้นที่ตำบลบ้านโหนดขึ้น เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการฉีดวัคซีนในพื้นที่ตำบลบ้านโหนด ส่งผลให้สามารถลดการติดเชื้อและความรุนแรงของโรคโควิด – 19 ได้ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00
2 2.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนทุกคน

2.อัตราป่วยด้วยโรคโควิด-19 ลดลง

0.00
3 3. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ในการดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่อง โควิด-19

3.สามารถลดความรุนแรงของอาการป่วยด้วยโรคติดเชื้อโควิด - 19 ในผู้ฉีดวัคซีนได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 38,300.00 0 0.00
1 ธ.ค. 64 - 31 ส.ค. 65 กิจกรรมอบรม 0 38,300.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
    1. อัตราป่วยด้วยโรคโควิด-19 ลดลง
    1. สามารถลดความรุนแรงของอาการป่วยด้วยโรคติดเชื้อโควิด - 19 ในผู้ฉีดวัคซีนได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2565 00:00 น.