กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองและค้นหาผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 4 จังหวัดตรัง
รหัสโครงการ L1481-65-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 4 จังหวัดตรัง
วันที่อนุมัติ 23 พฤษภาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 18,165.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปวีณา พิเชฐสินธุ์
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวปวีณา พิเชฐสินธุ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าพญา อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.354,99.674place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 11 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 3 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2563 และคณะรัฐมนตรีมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 ให้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไป จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 และคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ที่ 8/2565 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่เฝ้าระวังสูง และพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2565 กำหนดให้จังหวัดตรัง เป็นพื้นที่เฝ้าระวังสูง ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของจังหวัดตรัง ยังคงพบผู้ติดเชื้อและผู้ป่วย จึงจำเป็นต้องมีการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ฉะนั้น การดำเนินการตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อย่างเคร่งครัด จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง     ในการนี้ รัฐบาลมีนโยบายให้โรงเรียนเปิดเรียนแบบ on-site โดยต้องทำเป็นพื้นที่ปลอดโควิด หรือ Covid free - setting (เปิดเทอมปลอดภัยห่างไกลโควิด-19) ดังนั้น โรงเรียนจึงให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยของนักเรียน ครู และบุคลากร ควบคู่กับการรักษาไว้ซึ่งคุณภาพการศึกษา ที่ผ่านมาได้มีกิจกรรมให้ครู และนักเรียนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 ครบถ้วน และมีแผนการประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงและสุ่มตรวจ ATK เชิงรุกในกลุ่มบุคลากรและนักเรียนในสังกัด เพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (Covid-19) ให้ทันต่อสถานการณ์
    ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 4 จังหวัดตรัง (หน่วยบริการท่าพญา-ย่านตาขาว) จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในโรงเรียน

ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษา

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

7.1 ขั้นตอนการวางแผน - วางแผนกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการ ดำเนินงานโครงการ - จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ - ติดต่อประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง - จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ประกอบการดำเนินงานโครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) 7.2 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่าพญา 7.3 ขั้นตอนการดำเนินงาน - การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) ให้กับนักเรียน และบุคลากรศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 4 จังหวัดตรัง (หน่วยบริการท่าพญา-ย่านตาขาว) - ตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังโรคโควิด-19 (COVID-19) ในศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 4 จังหวัดตรัง (หน่วยบริการท่าพญา-ย่านตาขาว) โดยบุคลากรศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 4 จังหวัดตรัง (หน่วยบริการท่าพญา-ย่านตาขาว และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง - ติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์ / สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

นักเรียนและครูได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ได้รับความรู้ด้านการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เพื่อไม่ให้เป็นพาหะนำโรคระบาดในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2565 16:17 น.