กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเยาวชนรุ่นใหม่ห่างไกลยาเสพติดบ้านหัวช้าง ม.2
รหัสโครงการ 2565-L3328-2-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ม.2 บ้านหัวช้าง
วันที่อนุมัติ 10 พฤษภาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 พฤษภาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 16,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประเสริฐ ดำหนู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 10 มิ.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 16,200.00
รวมงบประมาณ 16,200.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การแพร่ระบาดของยาเสพติดมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแพร่ระบาดเข้าไปในทุกสถาบันของสังคมทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว ชุมชน ทั้งในเขตเมืองและชนบท รวมถึงกลุ่มนักเรียน นักศึกษา จนทำให้ดูเหมือนว่าปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่พบเห็นได้ทั่วไปในสังคม ประกอบกับปัจจัยที่เอื้อต่อการเกิดและแพร่กระจายของยาเสพติดยังดำรงอยู่ ส่งผลให้ปัญหายาเสพติดยิ่งขยายตัว กลายเป็นภัยคุกคามที่กัดกร่อนบ่อนทำลายสังคมไทยมากยิ่งขึ้น ตลอดจนส่งผลอย่างกว้างขวางทั้งต่อตัวบุคคล และสังคมโดยรวม โดยเฉพาะกระทบต่อพัฒนาการทางร่างกาย จิตประสาทและทำลายสมองของเยาวชน และแรงงานที่เป็นพลังสำคัญในอนาคต ซึ่งเป็นยุคเศรษฐกิจใหม่ที่ต้องการสติปัญญา ความรู้เป็นฐานในการพัฒนา ส่งผลกระทบต่อความอบอุ่น ความเข้มแข็งของครอบครัว ชุมชน ความสงบสุขของสังคม ซึ่งปัจจุบันสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในชุมชนบ้านหัวช้างที่มีมากขึ้น มีการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงในกลุ่มเยาวชน คณะผู้จัดโครงการจึงเห็นความสำคัญของเยาวชนรุ่นใหม่ๆ ในชุมชน เพื่อให้เยาวชนในชุมชนไม่ตกเป็นทาสยาเสพติด จึงได้จัดทำโครงการเยาวชนรุ่นใหม่ ห่างไกลยาเสพติดบ้านหัวช้างเพื่อให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชนให้ตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติดและให้ความสำคัญในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดที่มีอยู่ในชุมชนบ้านหัวช้างให้เบาบางลงหรือหมดไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เด็ก และเยาวชนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโทษของยาเสพติด

1.เด็ก และเยาวชนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติดมากขึ้น

0.00
2 2.เพื่อให้เด็ก และเยาวชนรู้จักป้องกันตนเอง ให้ห่างไกลจากยาเสพติด

2.เด็ก และเยาวชนสามารถนำความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันของตนเอง ให้สามารถป้องกันตนเอง ครอบครัวชุมชน ให้ห่างไกลจากยาเสพติดได้

0.00
3 3.เพื่อให้เด็ก และเยาวชนมีส่วนร่วมในการช่วยกันรณรงค์ และเฝ้าระวังการระบาดของยาเสพติดในชุมชน

3.เด็ก และเยาวชนได้มีส่วนร่วมในการช่วยกันรณรงค์ และเฝ้าระวังป้องกันมีให้มีการแพร่ระบาดของ ยาเสพติดเข้ามาสู่ชุมชนได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1.เพื่อให้เด็ก และเยาวชนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโทษของยาเสพติด

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2.เพื่อให้เด็ก และเยาวชนรู้จักป้องกันตนเอง ให้ห่างไกลจากยาเสพติด

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : 3.เพื่อให้เด็ก และเยาวชนมีส่วนร่วมในการช่วยกันรณรงค์ และเฝ้าระวังการระบาดของยาเสพติดในชุมชน

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

10 พ.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 1.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องยาเสพติดแก่เด็ก เยาวชน และประชาชนในชุมชนบ้านหัวช้าง 3,500.00 -
10 พ.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 2. จัดกิจกรรมกีฬาสานสัมพันธ์สร้างเสริมสุขภาพ 12,700.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้เด็ก และเยาวชนไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
  2. เด็กและเยาวชนนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ให้แก่ตนเอง และครอบครัว ตลอดจนร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน
  3. เด็กและเยาวชนได้มีส่วนร่วมในการรณรงค์ และเฝ้าระวังป้องกัน มิให้มีการแพร่ระบาดของยาเสพติดเข้ามาสู่ชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2565 13:37 น.