กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพจิต พิชิตสุขภาพใจ ประจำปี 2565
รหัสโครงการ 2565-L6896-01-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรัง
วันที่อนุมัติ 26 พฤษภาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 52,880.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธีรณัฐ ปุตสะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลกพบว่าในประชากร 4 คนจะมีผู้มีปัญหาสุขภาพจิต 1 คนและอีก 2 คนเป็น ผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาสุขภาพจิต เช่น เป็นญาติพี่น้องคนในครอบครัว เป็นต้น จากการสำรวจระดับชาติล่าสุดในปี 2561 พบคนไทยร้อยละ 14 หรือ 9 ล้านกว่าคนมีปัญหาสุขภาพจิต จากข้อมูลสถานการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวชเป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นกับประชาชนจำนวนมาก เมื่อเกิดขึ้นแล้วส่งผลกระทบอย่างมากต่อ การดำเนินชีวิต ทั้งของผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตเอง คนใกล้ชิด และครอบครัว ตามการคาดการณ์ปี 2565 ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปในประเทศไทยจะขยับสัดส่วนเป็นร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ นั่นหมายถึงประชากร 1 ใน 5 คือผู้สูงอายุ วัยสูงอายุ เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายคือระบบต่างๆ เสื่อมลง มีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่าย ยังมีการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เช่น การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก การสูญเสียรายได้ หรือสูญเสียบทบาททางสังคม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางดังกล่าว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจตามมา
ปัญหาสุขภาพจิตที่พบบ่อยที่สุดในผู้สูงอายุคือภาวะซึมเศร้า จากการศึกษาในประเทศไทยพบว่าผู้สูงอายุมีภาวะซึมเศร้าถึงร้อยละ 72.3 และภาวะซึมเศร้าเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งในการนำไปสู่การฆ่าตัวตาย ผู้สูงอายุจะเกิดความรู้สึกมืดมน จิตใจหดหู่ อ่อนเพลีย หมดหวัง ท้อแท้เบื่อหน่ายชีวิตรู้สึกไร้คุณค่า อาจเกิดความรู้สึกไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไปและทำร้ายตนเองในที่สุด ภาวะซึมเศร้าเป็นภาวะเรื้อรัง มีโอกาสกลับเป็นซ้ำบ่อย ส่งผลให้เกิดความบกพร่องทั้งทางร่างกายและสังคม อีกทั้งเป็นภาระแก่ผู้ดูแล การรักษาโรคซึมเศร้าอย่างหนึ่งนั่นคือการส่งเสริมสุขภาพจิต การส่งเสริมสุขภาพจิตเป็นกระบวนการสร้างเสริมให้บุคคลสามารถปรับตัว และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข โดยการดูแลสภาพร่างกายและจิตใจรวมทั้งส่งเสริมการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อเพิ่มความผาสุกทางจิตใจ การสร้างปัจจัยป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยงของสาเหตุปัญหาสุขภาพจิต ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ นอกจากจะเป็นการป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุแล้ว ยังช่วยลดปัญหาสุขภาพจิตผู้สูงอายุด้วย
ในเขตเทศบาลนครตรัง มีผู้สูงอายุทั้งสิ้น 8,663 คน จากข้อมูล ณ วันที่ 21 ตุลาคม 2564 ซึ่งเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 208 คน และมีแนวโน้มจำนวนเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพจิตนั้นควรมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเป็นกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่หนึ่งใน การดูแลประชาชนในชุมชนให้มีภาวะสุขภาพที่ดีทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม กลุ่มบุคคลดังกล่าวมีความใกล้ชิด สนิทสนม และสามารถเข้าถึงผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเป็นผู้ที่มีบทบาทและมีพลังอย่างยิ่ง ที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุในชุมชนมีสุขภาพจิตที่ดีและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข งานส่งเสริมสุขภาพ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรัง ได้เล็งเห็นความสำคัญของเรื่องดังกล่าว จึงได้จัด โครงการส่งเสริมสุขภาพจิต พิชิตสุขภาพใจ ประจำปี 2565 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านได้มีการฟื้นฟูความรู้ ความเข้าใจในการคัดกรอง ดูแล และ เฝ้าระวัง การให้คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษาให้กับผู้สูงอายุและประชาชนกลุ่มเสี่ยง เพื่อป้องกันและลดปัญหาสุขภาพจิต รวมถึงฟื้นฟูสุขภาพจิตใจให้ดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับสุขภาพจิตและสามารถประเมิน คัดกรองและติดตามผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับสุขภาพจิตและสามารถประเมิน คัดกรองและติดตามผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนได้ถูกต้อง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65
1 กิจกรรมประเมินความรู้(27 พ.ค. 2565-27 พ.ค. 2565) 1,040.00        
2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้(27 พ.ค. 2565-27 ก.ย. 2565) 30,640.00        
3 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ลงพื้นที่เพื่อประเมิน คัดกรองและให้คำแนะนำสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในชุมชน(27 พ.ค. 2565-27 ก.ย. 2565) 13,600.00        
4 จัดประชุมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อสรุปผลการลงพื้นที่ประเมิน คัดกรองสุขภาพจิตและให้คำแนะนำในชุมชน(27 พ.ค. 2565-27 ก.ย. 2565) 7,600.00        
รวม 52,880.00
1 กิจกรรมประเมินความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 1,040.00 1 0.00
27 พ.ค. 65 - 27 ก.ย. 65 ประเมินความรู้เรื่องการประเมินและคัดกรองสุขภาพจิต การส่งเสริมสุขภาพจิตและการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ก่อนและหลังอบรม 0 1,040.00 0.00
2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 30,640.00 1 8,600.00
27 พ.ค. 65 - 27 ก.ย. 65 2.1 การประเมินและคัดกรองสุขภาพจิต 2.2 การส่งเสริมสุขภาพจิต 2.3 การป้องกันปัญหาสุขภาพจิต 2.4 จัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกการประเมินและคัดกรองสุขภาพจิต การส่งเสริมสุขภาพจิตและการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต 0 30,640.00 8,600.00
3 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ลงพื้นที่เพื่อประเมิน คัดกรองและให้คำแนะนำสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 13,600.00 1 0.00
27 พ.ค. 65 - 27 ก.ย. 65 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ลงพื้นที่เพื่อประเมิน คัดกรองและให้คำแนะนำสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในชุมชน 0 13,600.00 0.00
4 จัดประชุมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อสรุปผลการลงพื้นที่ประเมิน คัดกรองสุขภาพจิตและให้คำแนะนำในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 7,600.00 1 0.00
27 พ.ค. 65 - 27 ก.ย. 65 จัดประชุมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อสรุปผลการลงพื้นที่ประเมิน คัดกรองสุขภาพจิตและให้คำแนะนำในชุมชน 0 7,600.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการประเมินและคัดกรองสุขภาพจิต
  2. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมสุขภาพจิตและการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต
  3. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถ ประเมิน คัดกรองและติดตามผู้มีภาวะเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนได้
  4. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถ ส่งต่อผู้มีภาวะเสี่ยงหรือมีปัญหาสุขภาพจิตในระดับรุนแรงให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือจิตแพทย์เพื่อเข้าระบบส่งต่อและได้รับการบำบัดรักษาที่ถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2565 10:06 น.