กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตลาดสดนครตรังสะอาดได้มาตรฐาน อาหารปลอดภัย ปี 2565
รหัสโครงการ 2565-L6896-01-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรัง
วันที่อนุมัติ 26 พฤษภาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 170,901.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววาสินี กี่สุ้น
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตลาดเป็นสถานที่ชุมนุมกันของผู้ประกอบการและผู้บริโภคเพื่อการกระจายแลกเปลี่ยนและจำหน่ายสินค้าต่างๆ เช่น อาหาร วัตถุดิบสำหรับนำไปปรุงประกอบอาหารในครัวเรือนและร้านอาหารจึงนับเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งของสังคมไทย หากตลาดมีการดำเนินงานไม่ดีไม่ถูกสุขลักษณะจะทำให้ตลาดกลายเป็นแหล่งแพร่กระจาย เชื้อโรคทำให้เกิดการเจ็บป่วยจากโรคที่มีอาหารเป็นสื่อสู่ผู้บริโภคได้ จากรายงานของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบอัตราป่วยของโรคอาหารเป็นพิษ ในปีงบประมาณ 2560-2564 เป็น 140.65, 1181.70,165.74,133.96 และ 84.94 ต่อแสนประชากรตามลำดับ และจากข้อมูลผลการตรวจประเมินตลาดตามมาตรฐานของสถานที่จำหน่ายอาหาร ปงบประมาณ 2562 จากสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย พบว่าได้มีการตรวจตลาดสด จำนวน 43 แห่ง ผ่านเกณฑ์การประเมิน 24 แห่ง(คิดเป็นร้อยละ 55.81) และไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน จำนวน 19 แห่ง (คิดเป็นร้อยละ 44.19) นอกจากนี้จากรายงานสถานการณ์ความปลอดภัยด้านอาหาร ณ สถานที่จำหน่ายอาหาร ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ.2564 พบว่าเจอการปนเปื้อนของเชื้อ E.coli ในปี 2558 - 2561 ร้อยละ 22.43, 17.74, 48.69, 57.30 ตามลำดับซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นและลดลงอย่างต่อเนื่องในปี 2563 – 2564 ร้อยละ 13.35, 12.98 ตามลำดับ และพบว่าสถิติการปนเปื้อนสารเคมีอันตราย ได้แก่ สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลีน สารฟอกขาว สารกันรา ยาฆ่าแมลง สีสังเคราะห์ โพลาร์ กรดแร่อิสระ และไอโอดีน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 - 2564 พบการปนเปื้อนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในปี 2559 – 2560 และมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2561 - 2564 โดยพบปนเปื้อนร้อยละ 0.11, 0.15, 0.17 และ 0.10 ตามลำดับ ซึ่งจากสถิติการปนเปื้อนสารเคมีและจุลินทรีย์พบว่ายังคงเป็นปัญหาที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง และประกอบกับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ในปัจจุบันถึงแม้สถานการณ์การระบาดจะคลี่คลายลงแล้ว แต่การยังคงไว้ซึ่งมาตรการการป้องกันโรคตามวิถีใหม่ (New-normal) จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันตอนนี้ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการปนเปื้อนของอาหารและนำไปสู่การลดความเสี่ยงของการเกิดโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อได้       กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรัง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของตลาดซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่จะกำหนดความปลอดภัยของอาหารที่มีต่อผู้บริโภค ประกอบกับอำนาจหน้าที่ พรบ.เทศบาล พ.ศ.2496 และแก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 14 พ.ศ.2562 กำหนดหน้าที่ของเทศบาลนคร ตามมาตรา 56(4) การควบคุมสุขลักษณะและอนามัยในร้านจำหน่ายอาหาร โรงมหรสพ และสถานบริการอื่น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมจึงเสนอโครงการตลาดสด        นครตรังสะอาดได้มาตรฐาน อาหารปลอดภัย ปี 2565 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการสุขาภิบาลอาหารในตลาดภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ให้แก่ผู้ประกอบการในตลาดสดเขตเทศบาลนครตรัง ซึ่งเมื่อผู้ประกอบการสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร อันจะส่งผลให้ผู้บริโภคได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย ปราศจากสารปนเปื้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการสุขาภิบาลอาหารภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรค โควิด-19 ให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนในตลาดสดเขตเทศบาลนครตรัง

ผู้ประกอบการในตลาดสดเขตเทศบาลนครตรังได้รับการรณรงค์สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการสุขาภิบาลอาหารภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 อย่างครอบคลุมทุกตลาด

0.00
2 เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับอาหารที่สะอาด ปลอดภัยปราศจากสารปนเปื้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ตลาดสดในเขตเทศบาลนครตรัง ปลอดภัยจากสารปนเปื้อนที่อันตรายต่อสุขภาพตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรมอนามัย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65
1 กิจกรรมรณรงค์(27 พ.ค. 2565-27 ก.ย. 2565) 47,761.00          
2 กิจกรรมตรวจตลาด(27 พ.ค. 2565-27 ก.ย. 2565) 82,840.00          
3 กิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูลและประชาสัมพันธ์(27 พ.ค. 2565-27 ก.ย. 2565) 40,300.00          
รวม 170,901.00
1 กิจกรรมรณรงค์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 47,761.00 1 29,460.00
27 พ.ค. 65 กิจกรรมรณรงค์สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการสุขาภิบาลอาหารภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในตลาดสดเขตเทศบาลนครตรัง จำนวน 6 ครั้ง (ตลาดละ 1 ครั้ง) 0 47,761.00 29,460.00
2 กิจกรรมตรวจตลาด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 82,840.00 2 56,590.00
27 พ.ค. 65 - 27 ก.ย. 65 กิจกรรมตรวจแนะนำด้านกายภาพและประเมินสุขาภิบาลในตลาด 0 1,840.00 0.00
27 พ.ค. 65 - 27 ก.ย. 65 ตรวจสอบคุณภาพอาหารด้วยชุดทดสอบเบื้องต้นตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรมอนามัย พารามิเตอร์ในการตรวจ 0 81,000.00 56,590.00
3 กิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูลและประชาสัมพันธ์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 40,300.00 2 12,880.00
27 พ.ค. 65 วิเคราะห์ข้อมูลผลการตรวจสอบคุณภาพ พร้อมให้คำแนะนำการแก้ไขปัญหาแก่ผู้จัดการตลาด และมอบสัญลักษณ์แสดงว่าป้ายร้านปลอดภัยจากสารอันตราย 0 40,000.00 12,880.00
27 พ.ค. 65 กิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการตรวจสอบคุณภาพอาหารแก่ประชาชนและสรุปผลโครงการ 0 300.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของอาหารและเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัย
  2. ตลาดสดในเขตเทศบาลนครตรังปลอดการใช้สารปนเปื้อนในอาหาร ได้แก่ บอแรกซ์ ฟอร์มาลีน สารฟอกขาว สารกันรา ยาฆ่าแมลง สารเร่งเนื้อแดงตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
  3. ผู้ประกอบการและผู้จำหน่ายเกิดความตระหนักและรับผิดชอบในด้านความสะอาด คุณภาพและความปลอดภัยของอาหารที่นำมาจำหน่ายกับผู้บริโภค
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2565 10:18 น.