กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ฟื้นฟูสุขภาพร่างกายด้วยศาสตร์ การแพทย์แผนไทย
รหัสโครงการ 65-L2537-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมุโนะ
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 21,220.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซูไฮลา ลีเดร์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมูโนะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีเป้าหมายคือการสร้างหลักประกันให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพได้ตามความจำเป็นโดยถือ “สิทธิ” ขั้นพื้นฐานของประชาชนมิใช่เป็นเรื่องที่รัฐสงเคราะห์ หรือช่วยเหลือประชาชนทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๕๒ ที่ว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิ์เสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานและผู้ยากไร้มีสิทธิ์ได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ” อย่างไรก็ตามเนื่องจากการสร้างหลักประกันให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพเพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอที่จะทำให้ประชาชนทุกคนมี “สุขภาพดี”หรือมี“สุขภาวะ”ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของระบบสุขภาพได้ การที่ประชาชนจะมีสุขภาพที่ดีได้นั้น ประชาชนต้องสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพได้มากขึ้น สามารถเข้ามามีส่วนร่วม ดูแลและบริหารจัดการระบบสุขภาพได้ โดยถือว่า “สุขภาพ” เป็นเรื่องของประชาชนทุกคน และเพื่อประชาชนทุกคน (All for Health and Health for All) ทั้งหมดจะเน้นการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพ การแพทย์แผนไทยเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์มีเป้าหมายเพื่อช่วยให้บุคคลมีสุขภาพดีรวมไปถึงครอบครัวผู้ป่วยในลักษณะองค์รวม (Holisticcare) ครอบคลุมทั้ง ๔ มิติ ได้แก่ กาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ ซึ่งตรงตามจุดเน้นในการพัฒนาเกี่ยวกับ Palliativecare ให้การดูแลผู้ป่วยที่เป็นแม่หลังคลอด โรคเรื้อรัง พิการ อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคที่รักษาไม่หายขาด และมีความพิการหลงเหลืออยู่ ต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นระยะเวลานานส่งผลให้ผู้ป่วยและครอบครัวเกิดความเครียด วิตกกังวล ขาดกำลังใจในการทำกิจกรรมต่างๆ จึงเล็งเห็นความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์-อัมพาตร่วมกับแกนนำเครือข่ายการแพทย์แผนไทยหมู่บ้านละ ๒ คน เพื่อระบบบริการสาธารณสุขสามารถให้บริการผู้ป่วยได้อย่างใกล้ชิด ทั่วถึง ต่อเนื่อง ผู้ป่วยและญาติ สามารถประเมินถึงภาวะของร่างกายด้านการฟื้นฟู ภาวะโรคแทรกซ้อน ความผิดปกติอื่นๆ เป็นต้น ถึงการมีสุขภาพที่ดีขึ้นหรือลดลงอย่างไรนอกจากนี้ญาติผู้ป่วยมีแรงจูงใจใหม่และกำลังใจ ในการดูแลรักษาสุขภาพที่แตกต่างไปจากการดูแลรักษาสุขภาพเฉพาะแต่ในโรงพยาบาลเพียงอย่างเดียว และทำให้ผู้ป่วยสามารถมีชีวิตที่ยืนยาว สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข เป็นที่ยอมรับในสังคมและครอบครัว ตลอดจนทำให้ผู้ป่วยบุคคลธรรมดา และผู้ที่สนใจได้เข้าใจถึงเหตุและปัจจัยต่างๆ ของโรค รวมไปถึงวิธีและแนวทางปฏิบัติเพื่อดูแลรักษาโรคได้อย่างถูกต้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อดูแลสุขภาพประชาชนด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทยร่วมกับเครือข่ายการแพทย์แผนไทย

 

0.00
2 เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคอย่างต่อเนื่อง

 

0.00
3 เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพเบื้องต้นแก่ประชาชนในการดูแลสุขภาพเมื่อเจ็บป่วย

 

0.00
4 สามารถนำความรู้ไปใช้อย่างถูกวิธีมีความปลอดภัยต่อสุขภาพ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 ฟื้นฟูสุขภาพร่างกายด้วยศาสตร์ การแพทย์ไทย 0 21,220.00 21,220.00
รวม 0 21,220.00 1 21,220.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถนำความรู้ไปใช้อย่างถูกวิธีมีความปลอดภัยต่อสุขภาพ
  2. สามารถนำความรู้ไปดูแลสุขภาพเบื้องต้นให้กับตนเองและครอบครัว
  3. ความรู้ไปดูแลฟื้นฟูสุขภาพให้กับผู้ป่วยอัมพฤกษ์-อัมพาตได้
  4. สามารถอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาสมุนไพรไทยให้สืบทอดคงอยู่ต่อไป
  5. เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2565 00:00 น.