กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปี ๒๕๖๕ ตำบลวังพญา
รหัสโครงการ 65-L4165-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังพญา
วันที่อนุมัติ 24 พฤษภาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 มิถุนายน 2565 - 28 มิถุนายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 13,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังพญา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลวังพญา อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.544,101.375place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเต้านมจัดได้ว่ามะเร็งร้ายอันดับ ๑ ของผู้หญิงทั่วโลก จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ระบุว่ามีผู้หญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งเต้านม รายใหม่ประมาณ ๒๐,๐๐๐ คนต่อปีหรือ ๕๕ คนต่อวัน ทั้งยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นทุกปี ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด หากแต่มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่สัมพันธ์กับการเกิดโรค เช่น ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า ๕๐ ปี ปัจจัยทางพันธุกรรมโดยเฉพาะหากครอบครัวมีญาติสายตรง เป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่ มีคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งเต้านมหลายคน หรือมีญาติเคยเป็นมะเร็งเต้านมเมื่ออายุน้อย หรือเป็นมะเร็งเต้านมพร้อมกันทั้ง ๒ ข้าง ปัจจัยด้านฮอร์โมนเพศคือเริ่มมีประจำเดือนเมื่ออายุน้อยกว่า ๑๒ ปี หรือประจำเดือนหมดช้าหลังอายุ ๕๕ ปี ผู้หญิงที่ไม่มีบุตรหรือมีบุตรคนแรกหลังอายุมากกว่า ๓๐ ปี นอกจากนี้ ผู้หญิงที่กินยาฮอร์โมนทดแทนหลังวัยทองเป็นระยะเวลานานเกิน ๕ ปี ปัจจัยทั้งหมดนี้ก็มีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมได้เช่นกัน รวมทั้งการดื่มสุรา การฉายรังสีบริเวณทรวงอก และการกินยาคุมกำเนิด ซึ่งพบว่าเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคอยู่บ้าง แต่ไม่ชัดเจนมากนัก อาการเริ่มต้นของมะเร็งเต้านม ส่วนใหญ่มักจะไม่ รู้สึกเจ็บ จนกระทั่งก้อนเนื้อเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นหรือลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น เมื่อนั้นผู้ป่วยจึงจะเริ่มรู้สึกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น และจากข้อมูลการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ๓ ปีย้อนหลังของตำบลวังพญาพบว่าตั้งแต่ปี ๒๕๖๒ – ๒๕๖๔ ได้รับการตรวจ ๑,๒๔๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๖.๓๖,    คน คิดเป็นร้อยละ และ ๑,๑๔๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๔.๕๖ พบผิดปกติที่ไม่ใช่ cellมะเร็ง ๐ คน , ๑ คนและ ๓ คน ได้รับการส่งต่อเพื่อการวินิจฉัยร้อยละ ๑๐๐ และโรคมะเร็งรองลงมาเป็นอันดับ ๒ ของผู้หญิง คือโรคมะเร็งปากมดลูกกำลังพุ่งสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่ามะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆของผู้หญิงทั่วโลก มีการประมาณการไว้ว่าในทุกๆปีจะพบผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปากมดลูกรายใหม่มากกว่า ๕๐,๐๐๐ รายและครึ่งหนึ่งในจำนวนนั้นจะเสียชีวิตลงซึ่งนับได้ว่าทุกๆ ๑ ชั่วโมงจะมีผู้หญิงทั่วโลกเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกถึง ๓๐ คน ในส่วนของประเทศไทยแต่ละปีจะพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ราย และเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกประมาณ ๕,๐๐๐ ราย ซึ่งอัตราการเสียชีวิตของผู้หญิงไทยนั้นเพิ่มขึ้นจาก ๗ คนเป็น ๑๔ คนต่อวัน ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นมานี้ส่วนหนึ่งเกิดจากความประมาทเพราะคิดว่าตนเองไม่มีความเสี่ยง แล้วจะเป็นโรคนี้ได้อย่างไร แต่ในความเป็นจริงผู้หญิงทุกคนที่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาแล้วมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ทั้งสิ้น แม้จะเป็นเพศสมพันธ์ที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวก็ตาม จากสถิติรายงาน ๓๐ % ของผู้หญิงไทยไม่เคยได้เข้ารับการตรวจแปปสเมียร์เพื่อคัดกรองหาเชื้อมะเร็งปากมดลูกเลย จากข้อมูลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ๓ ปีย้อนหลังของตำบลวังพญาพบว่าตั้งแต่ปี ๒๕๖๒ – ๒๕๖๔ ได้รับการตรวจ ๖๒๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๒.๘๒ , ๑๕๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๔.๐๔ และ๓๘๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๘๖ พบผิดปกติที่ไม่ใช่cellมะเร็ง ๐ คน , ๑ คนและ ๖ คน ได้รับการส่งต่อเพื่อการวินิจฉัยร้อยละ ๑๐๐

ดังนั้นเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ มีความตระหนัก รู้จักป้องกันและมารับบริการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูก ค้นหากลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูก และได้รับการรักษาได้ทันท่วงที ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังพญา จึงได้จัดทำโครงการ โครงการเฝ้าระวังโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปี ๒๕๖๕ ตำบลวังพญา ขึ้น โดยคัดกรองในกลุ่มประชาชนที่มีอายุ๓๐ – ๗๐ ปี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มอายุ ๓๐ – ๗๐ ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมร้อยละ ๘๐

ประชาชนกลุ่มอายุ  ๓๐ – ๗๐ ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมร้อยละ ๘๐

0.00
2 ๒. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มอายุ ๓๐ – ๖๐ ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ ๒๐

ประชาชนกลุ่มอายุ  ๓๐ – ๖๐ ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ ๒๐

0.00
3 ๓. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มอายุ ๓๐ – ๗๐ ปีมีความรู้ในการตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ ๘๐

ประชาชนกลุ่มอายุ  ๓๐ – ๗๐ ปีมีความรู้ในการตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ ๘๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2565 14:43 น.