กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกัน/ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.นาโยงเหนือ
รหัสโครงการ 65-50117-03-008
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.นาโยงเหนือ
วันที่อนุมัติ 26 พฤษภาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 44,360.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.นาโยงเหนือ
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยภรณ์ เยาดำ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.566,99.699place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 13 มิ.ย. 2565 14 มิ.ย. 2565 13 มิ.ย. 2565 14 มิ.ย. 2565 39,471.30
2 13 มิ.ย. 2565 14 มิ.ย. 2565 1,660.00
3 24 มิ.ย. 2565 24 มิ.ย. 2565 1,680.00
รวมงบประมาณ 42,811.30

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (42,811.30 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (44,360.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 56 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยปัจจุบันเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย
ได้ทวีความรุนแรงขึ้น โดยพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มสูงขึ้นในหลายพื้นที่อย่างรวดเร็ว ประกอบกับกรมควบคุมด้วยปัจจุบันเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศกระทรวงสาธารณสุข มีข้อมูลว่าการแพร่ระบาดครั้งนี้เป็นเชื้อสายพันธุ์ที่สามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วกว่าสายพันธ์ปกติ ทั้งนี้ผู้ติดเชื้อบางรายไม่ได้แสดงอาการของโรค แต่ได้แพร่เชื้อไปยังผู้สัมผัสใกล้ชิดอื่นได้ หากไม่มีการกันโรคที่ดีและเข้มงวด ประกอบกับจังหวัดตรังได้มีคำสั่งและแจ้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ 6๒) ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๔ ซึ่งนายกรัฐมนตรี ออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าเพื่อป้องกันการแพร่โรคเมื่ออยู่นอกเคหสถานหรืออยู่ในที่สาธารณะ เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อและป้องกันมิให้เกิดสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะเพื่อจำกัดวงในการระบาดของโรค เมื่ออยู่นอกเคหสถานหรือเมื่ออยู่ในที่สาธารณะให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าและต้องสวมให้ถูกวิธีตามที่กระทรวงสาธารณะแนะนำเมื่อพบผู้ไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ว่ากล่าวตักเตือนและสั่งให้ผู้นั้นปฏิบัติให้ถูกต้อง ถ้าผู้นั้นไม่ปฏิบัติตาม ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติมต่อไป ข้อ ๒ การกำหนดพื้นที่สถานการณ์ ปรับระดับการกำหนดเขตพื้นที่สถานการณ์เพื่อการบังคับใช้ มาตรการควบคุมแบบบูรณาการจำแนกตามเขตพื้นที่ ดังนี้ (๑) พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด รวม ๖ จังหวัด (๒) พื้นที่ควบคุมสูงสุด ให้พื้นที่จังหวัด รวม ๔๕ จังหวัด เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด ซึ่งรวมถึงจังหวัดตรังด้วย (๓) พื้นที่ควบคุม ให้พื้นที่จังหวัด รวม ๒๖ จังหวัด เป็นพื้นที่ควบคุม การป้องกันระบาดของโคติดเชื้อไวสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการที่สำคัญคือการป้องกันตนเองมิให้สัมผัสกับโรคโดยการหลีกเลี่ยงในสถานที่แออัด หรือมีมลภาวะ และไม่อยู่ใกล้ชิดไอหรือจามรวมถึงการสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือด้วยสบู่ เจลแฮลกอฮอล์ หรือแฮลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป อีกทั้ง นโยบายการเปิดเรียนแบบ on site ต้องทำเป็นพื้นที่ปลอดโควิด หรือ Covid free seting มีกิจกรรมให้ครู และนักเรียนฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ครบถ้วน มีการสุ่มตรวจนักเรียนที่มาเรียน on site ด้วยชุดตรวจ atk เพื่อเป็นการดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา  ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนในเขตพื้นที่ตำบลนาโยงเหนือ  มีความปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคนา COVID-19  ให้ทันต่อ


ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.นาโยงเหนือ  จึงดำเนินการจัดทำ โครงการป้องกัน/ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.นาโยงเหนือ ขึ้น  โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพของส่วนตำบลนาโยงเหนือ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็กปฐมวัยและบุคลากรครู เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วยชุดตรวจ ATK ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ได้รับความรู้การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2. เพื่อให้มีวัสดุและอุปกรณ์อย่างเพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 3. เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65
1 โครงการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(1 มิ.ย. 2565-30 ก.ย. 2565) 44,360.00        
รวม 44,360.00
1 โครงการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 106 44,360.00 0 0.00
1 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง บุคลากรครู และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 56 1,680.00 -
1 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมคัดกรอง ATK ให้กับเด็กปฐมวัยและบุคลากรครู 50 39,870.00 -
1 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมประชาสัมพันธ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา COVID 19 0 2,810.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กปฐมวัยและบุคลากรครู เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วย ชุดตรวจ ATK ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ได้รับความรู้การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
  2. มีการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่างคลอบคลุม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2565 08:45 น.