กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหมู่บ้านตัวอย่าง สังกัดเทศาบาลเมืองสะเดา ประจำปี 2565

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหมู่บ้านตัวอย่าง สังกัดเทศาบาลเมืองสะเดา ประจำปี 2565
รหัสโครงการ 65-L7252-03-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหมู่บ้านตัวอย่าง
วันที่อนุมัติ 27 พฤษภาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 พฤษภาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 40,720.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเพียงพิส โสพิกุล
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวฑิตฐิรีย์ ทองสาย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.636,100.416place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 96 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพอนามัยเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเด็กปฐมวัยใน  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกคนให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีจะอยู่อาศัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้อย่างเท่าเทียม      และอยู่ร่วมกันกับครูผู้ดูแลเด็กและเพื่อนๆอย่างสงบสุขมีความสะดวกสบายสะอาดถูกสุขอนามัยมีความปลอดภัยได้รับการส่งเสริมพัฒนาการและความคิดสร้างสรรค์อย่างเหมาะสมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีการจัดการควบคุมส่งเสริมสนับสนุนปัจจัยเอื้อและขจัดหรือลดปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความน่าอยู่ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยมุ่งหวังให้เด็กเล็กได้รับการพัฒนาให้มีความสมบูรณ์ทั้งทางกายจิตใจสังคมอารมณ์และสติปัญญาภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ    การสร้างเสริมสุขภาพและครูผู้ดูแลเด็กได้รับการส่งเสริมให้สามารถทำงานได้อย่างมีความสุขกายสบายใจ ครูผู้ปกครองและชุมชน  มีบทบาทสำคัญยิ่งในการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเด็กเล็กควรได้รับการปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพทั้งด้านการดูแล ความสะอาดของสิ่งแวดล้อมอันจะส่งผลให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีและทำได้ถูกต้อง    เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ครูผู้ดูแลเด็กได้รับการฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านต่างๆ เพื่อให้สามารถดูแลเด็กได้ดียิ่งขึ้นผู้ปกครองเข้าร่วมสนับสนุนกิจกรรมโดยสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่างต่อเนื่องระหว่างบ้านและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและเกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคลในท้องถิ่นทำให้เกิดความร่วมมือร่วมใจจาก  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชุมชนดังนั้นเพื่อสร้างเสริมสุขภาพเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงได้บูรณาการงานด้านการส่งเสริมสุขภาพและการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยให้ได้รับการส่งเสริมให้มีสุขภาพดีอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สะอาดปลอดภัยเอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดถึงได้รับการปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพและพฤติกรรมอนามัยสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสมสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ดีเพื่อเด็กจะได้เติบโตเป็นประชากรที่มีคุณค่าสำหรับประเทศต่อไป ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหมู่บ้านตัวอย่างจึงได้จัดทำ โครงการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลเมืองสะเดาขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยทุกคนมีมีพัฒนาการสมวัย ทั้ง 5 ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และคุณธรรม แต่ทั้งนี้จะต้องร่วมมือกันหลายฝ่าย เช่น ครู ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขรวมถึงหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย โดยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาลเมืองสะเดา มีจำนวน 3 ศูนย์ มีเด็กเล็ก จำนวน 96 ราย รายละเอียดดังนี้
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหมู่บ้านตัวอย่าง มีเด็กเล็ก จำนวน 20 ราย
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไทรงามสัมพันธ์ มีเด็กเล็ก จำนวน 50 ราย - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสันติ มีเด็กเล็ก จำนวน 26 ราย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพพ่อแม่หรือผู้ปกครองให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมและประเมินพัฒนาการ เด็ก 2-4 ปี จำนวน 96 คน 2. เพื่อให้เด็ก 2-4 ปี ได้รับการประเมินและกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย จำนวน 96 คน 3. เพื่อให้เด็ก 2-4 ปี ที่สงสัยพัฒนาการล่าช้าและหรือมีอายุ 24, 30 และ 42 เดือนได้รับการคัดกรองโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 2 คน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • เด็ก 2-4 ปี มีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม
  • เด็กผ่านมาตรฐานตามตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข ตามแบบบันทึกการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ตามช่วงอายุ โดยภาคีเครือข่ายและตามคู่มือเฝ้าระวังและการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2565 10:37 น.