กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก
รหัสโครงการ 65-L4165-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังพญา
วันที่อนุมัติ 24 พฤษภาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 กรกฎาคม 2565 - 12 กรกฎาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 23,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังพญา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลวังพญา อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.544,101.375place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาประเทศให้มีการเจริญเติบโต แข็งแกร่ง ยั่งยืนในทุกด้าน ประการสำคัญมุ่งเน้นการพัฒนาคนเป็นหลัก เพื่อให้ได้คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมีศักยภาพ จะต้องเริ่มต้นตั้งแต่การปฏิสนธิในครรภ์เพราะเด็กเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต โดยมารดาและเด็กจะได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด หลังคลอด เมื่อเกิดแล้วต้องได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม เพื่อให้เติบโตสมวัยและเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต ปัญหาทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม เป็นปัญหาที่สำคัญของงานอนามัยแม่และเด็กใน ประเทศไทย โดยกระทรวงสาธารณสุข ตั้งเป้าหมายในแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่7 จนถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่9 ได้ กำหนดเป้าหมายทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย ไม่เกินร้อยละ 7 ผลการดำเนินงาน งานอนามัยแม่และเด็ก ในปี 2563 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังพญา จำนวนทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม จำนวน 9 ราย ซึ่งคิดเป็นอัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย ภาพรวมได้ร้อยละ 7.14 และพบว่าอัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง 5 โรค จำนวน 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 10.20 และพบว่าวัยรุ่นจะมีภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์สูงกว่าผู้ที่มีอายุเกินกว่า 20 ปี เช่น ภาวะโลหิตจาง ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ภาวะคลอดก่อนกำหนดสูง เจ็บครรภ์คลอดนาน การคลอดโดยใช้อุปกรณ์ช่วยคลอด เสี่ยงต่อการผ่าตัดคลอด ภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม และวัยรุ่นยังไม่พร้อมด้านจิตใจสำหรับการเป็นแม่ เมื่อไม่พร้อมในการเป็นแม่จึงฝากบุตรไว้กับญาติหรือผู้ดูแลเด็ก โดยการให้กินนมผสม ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจตามมานอกจากนี้ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นยังก่อให้เกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอีกด้วยคือ การต้องหยุดหรือออกจากการศึกษา ไม่มีงานทำ ค่ารักษาพยาบาลขณะตั้งครรภ์ การคลอดบุตร และการเลี้ยงดูบุตร ปัญหาเหล่านี้ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของทั้งแม่วัยรุ่นและบุตรที่เกิดมา ทำให้ปัญหา“เด็กเกิดน้อยแต่ด้อยคุณภาพ”ของประเทศไทยทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เป็นภาวะวิกฤติหนึ่งที่มีผลกระทบทางด้านสุขภาพทางกาย จิต การศึกษาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ทั้งต่อตัววัยรุ่นเอง ครอบครัว และสังคมไทยในภาพรวม ดังนั้นปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและการตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อน ตลอดจนถึงภาวะคลอดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องได้รับการป้องกันและแก้ไขโดยทุกภาคส่วนที่ต้องอาศัย ความร่วมมืออย่างจริงจัง เป็นไปตามนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2553-2558) ที่เน้นการพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ดีในกลุ่มประชากรวัยรุ่นและเยาวชนก่อน ซึ่งจะส่งผลต่อการลดการตั้ง ครรภ์ การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอดส์ในประชากรวัยนี้ ดังนั้นจึงมีความ จำเป็นที่จะต้องเร่งการดำเนินงานแบบบูรณการในบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ป้องกันภาวะคลอดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ และให้ความรู้แก่ชมรมแม่อาสา เพื่อคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความตระหนักให้หญิงตั้งครรภ์และชุมชนเห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นแก่หญิงตั้ง ครรภ์ และทารกในครรภ์

สร้างความตระหนักให้หญิงตั้งครรภ์และชุมชนเห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นแก่หญิงตั้ง ครรภ์ และทารกในครรภ์

0.00
2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์คุณภาพ

หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์คุณภาพ

0.00
3 เพื่อแก้ไขปัญหาและลดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์

หญิงตั้งครรภ์ได้รับการแก้ไขปัญหาและลดภาวะซีด

0.00
4 เพื่อแก้ไขปัญหาทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ให้ผ่านเกณฑ์

ได้แก้ไขปัญหาทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ให้ผ่านเกณฑ์

0.00
5 เพื่อส่งเสริมให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว อย่างน้อย ๖ เดือน

มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว อย่างน้อย ๖ เดือน

0.00
6 .เพื่อสร้างเสริมทักษะให้แก่ชมรมแม่อาสาประจำหมู่บ้านให้มีความรู้ด้านสุขภาวะทางการตั้งครรภ์ และชมรมแม่อาสาสามารถคัดกรองกลุ่มเสี่ยงได้รวดเร็วและถูกต้อง

ชมรมแม่อาสาประจำหมู่บ้านมีความรู้ด้านสุขภาวะทางการตั้งครรภ์ และชมรมแม่อาสาสามารถคัดกรองกลุ่มเสี่ยงได้รวดเร็วและถูกต้อง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 65
1 กิจกรรมที่1(18 ก.ค. 2565-21 ก.ค. 2565) 0.00  
2 กิจกรรมที่ 2(18 ก.ค. 2565-21 ก.ค. 2565) 23,600.00  
3 กิจกรรมที่3(18 ก.ค. 2565-21 ก.ค. 2565) 0.00  
รวม 23,600.00
1 กิจกรรมที่1 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 กิจกรรมที่ 2 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 23,600.00 1 23,600.00
18 - 21 ก.ค. 65 กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้หญิงวัยเจริญพันธ์หญิงตั้งครรภ์และแกนนำงานอนามันแม่และเด็กในพื้นที่ตำบลวังพญา 100 23,600.00 23,600.00
3 กิจกรรมที่3 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.หญิงวัยเจริญพันธ์ หญิงตั้งครรภ์และแกนนำอนามัยแม่และเด็กในพื้นที่ตำบลวังพญา มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์ และสามารถดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์ได้
2.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์คุณภาพ ได้แก่ ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์และได้คลอดในโรงพยาบาล
3.แกนนำอนามัยแม่และเด็กมีความรู้และความสามารถให้การแนะนำแก่หญิงวัยเจริญพันธ์ หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดให้มีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของตนเองที่ถูกต้องเหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2565 10:47 น.