กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแม่สมส่วน ลูกสมบูรณ์ ตำบลลุโบะสาวอ ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L6959-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ นางฟารีดะห์ฮาแวมาเนาะ
วันที่อนุมัติ 12 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฟารีดะห์ฮาแวมาเนาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลุโบะสาวอ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.486,101.667place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดูแลหญิงมีครรภ์อย่างมีประสิทธิภาพถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพอนามัยของแม่และเด็ก เพราะหากหญิงมีครรภ์เหล่านี้ได้รับการดูแลและเฝ้าระวังตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์แล้ว จะสามารถป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ได้ เช่น โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะโลหิตจาง เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ถ้าไม่ได้รับการดูแลและแก้ไขต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีขณะตั้งครรภ์แล้ว จะส่งผลกระทบต่อแม่และเด็ก ในด้านความเสี่ยงระหว่างตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด จากรายงานการดำเนินงานด้านอนามัยแม่และเด็ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะสาวอ ตำบลลุโบะสาวออำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ในปีงบประมาณ 2559 พบว่า หญิงมีครรภ์ในเขตรับผิดชอบมารับบริการฝากครรภ์ ทั้งหมด จำนวน 130 คน อัตราการมาฝากครรภ์ของหญิงมีครรภ์ทั้งหมดมารับบริการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ ร้อยละ 90.10 มาฝากครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์ ก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ ร้อยละ 93.51 และ อัตราภาวะโลหิตจางของหญิงตั้งครรภ์ ร้อยละ 5.15 โดยตัวชี้วัดระดับจังหวัด ได้กำหนดให้อัตราการฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90อัตราการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80และ อัตราภาวะโลหิตจางของหญิงตั้งครรภ์ ไม่เกินร้อยละ 10นอกจากนี้ ยังพบว่า หญิงมีครรภ์ทั้งหมดที่มาฝากครรภ์มีภาวะเสี่ยง ร้อยละ 19.22 จากข้อมูลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กดังกล่าว ถือว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ต้องได้รับการดูแล และแก้ไขปัญหาต่อไป จากข้อมูลดังกล่าวเพื่อเป็นการลดปัญหาสุขภาพทุกประเภทที่อาจจะเกิดขึ้นในหญิงขณะตั้งครรภ์ในระหว่างคลอดและหลังคลอด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะสาวอตำบลลุโบะสาวออำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส จึงมีแนวคิดในการพัฒนากระบวนการในการดูแลหญิงมีครรภ์ต้องได้รับการดูแลฝากครรภ์ระหว่างตั้งครรภ์โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขครบ 5 ครั้ง หญิงมีครรภ์มาฝากครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ครบถ้วนตามเป้าหมายที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลถึงคุณภาพชีวิตมารดาและทารกมีสุขภาพดีตลอดระยะเวลาของการตั้งครรภ์ และหลังคลอด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงมีครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอดอย่างมีประสิทธิภาพ

 

2 เพื่อให้ หญิงมีครรภ์รายใหม่ได้รับการเฝ้าระวัง ปัจจัยเสี่ยง และแก้ไขปัญหาสุขภาพอย่างทันท่วงที

 

3 เพื่อช่วยลดอัตราป่วยตายและปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนในระยะของการตั้งครรภ์

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการให้กับ ผดุงครรภ์โบราณผ่านการอบรม อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
ผู้นำทุกหมู่บ้าน 2.จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์การมาฝากครรภ์
3.ให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์รายใหม่และสามีทุกราย 4.จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนระหว่างตั้งครรภ์ แก่หญิงตั้งครรภ์และสามีหรือญาติจำนวน
30 คู่ ( 60 คน) โดยบูรณาการตามหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม” โดยวิทยากรที่มีความรู้ด้านศาสนาอิสลาม 5.สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง มีกำหนดพี่เลี้ยง ผู้ดูแลการรับประทานยาให้วิตามินเสริมธาตุ เหล็ก (Hae-movit) โดยให้สามีหรือญาติและอสม.เป็นผู้คอยดูแลให้หญิงตั้งครรภ์ได้กินยาต่อหน้าทุกวันและมีบันทึกการติดตามการกินยาโดย อสม. 6.จัดทำสื่อการสอนเรื่องอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงที่มีในท้องถิ่น โดยใช้ภาษาไทยและภาษาท้องถิ่น 7.อสม.ค้นหาและนำส่งหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ มาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์12 สัปดาห์ 8.มอบอุปกรณ์เยี่ยมหลังคลอด แก่หญิงหลังคลอด

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

หญิงมีครรภ์รับรู้และตระหนักถึงภาวะเสี่ยงในขณะตั้งครรภ์และสามารถเข้ารับบริการดูแลโดยเจ้าหน้าที่ตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข คือครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพก่อนคลอด นอกจากนี้ยังสามารถลดอัตรามารดามีภาวะโลหิตจางและอัตราป่วยตายของทารกแรกคลอดอีกด้วย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2559 12:25 น.