กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลกะลุวอเหนือ ประจำปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-L2491-1-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 31 พฤษภาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 209,590.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกฤษฎา เพ็ชรพันธ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.404,101.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขและเป็นปัญหาซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มของการเกิดโรคสูงขึ้น สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2564 มีแนวโน้มผู้ป่วยลดลงอย่างมากตั้งแต่ต้นปี โดยตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม - 17 พฤศจิกายน 2564 มีรายงานผู้ป่วยเพียง 8,754 ราย อัตราป่วย 13.17 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต 6 ราย (อัตราป่วยตายร้อยละ 0.07) อยู่ในกลุ่มวัยเรียนอายุ 5-14 ปี และ วัยรุ่นอายุ 15-24 ปี มีอัตราป่วยสูงสุด 35.05 และ 22.78 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ (รง.506) แม้ว่าในปีนี้ จำนวนคนป่วยจะน้อยกว่าช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา หรือลดลงมากกว่าร้อยละ 80 แต่คาดการณ์ว่าในปี 2565 จะมีการระบาดมากขึ้น เพราะโรคไข้เลือดออกจะระบาดปีเว้นปี หรือปีเว้น 2 ปี เนื่องจากภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติในคนลดลง ปัจจัยจากการเดินทางมากขึ้นในช่วงเปิดประเทศ หรือมีน้ำท่วมขัง ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง สถานการณ์โรคระบาดในปัจจุบัน" ซึ่งจะสามารถป้องกันได้ทั้งโรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย และโรคติดเชื้อไวรัสซิกา มาตรการการควบคุมโรคที่ได้ผลในขณะนี้ยังคงเป็นมาตรการการควบคุมยุงพาหะนำโรค ซึ่งเป็นการยากที่จะอาศัยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้นการที่จะให้ได้ผลอย่างเต็มที่จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกครัวเรือนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้นำชุมชนช่วยกันป้องกันโรคดังกล่าวในหลากหลายรูปแบบ เช่น การรณรงค์ การร่วมมือกับโรงเรียน ชุมชน สถานที่ราชการต่างๆ การจัดหาสารฆ่าลูกน้ำ การพ่นหมอกควันและสารเคมี การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย การใช้วิธีทางธรรมชาติในการกำจัดลูกน้ำ และสำคัญที่สุดคือการรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด
ตำบลกะลุวอเหนือเป็นตำบลหนึ่งที่พบผู้ป่วยทุกปี จึงจำเป็นต้องป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายรวมถึงการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหนะนำโรคไข้เลือดออกในครัวเรือน หมู่บ้าน วัด/มัสยิด โรงเรียน อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกสำหรับประชาชนในพื้นที่ อาศัยอำนาจแห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 13 พ.ศ.2552 มาตรา 50 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ข้อ (4) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ เทศบาลตำบลกะลุวอเหนือ จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกขึ้น เพื่อป้องกันและควบคุมการเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้แกนนำมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และตระหนักปัญหาของโรค

แกนนำมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และตระหนักปัญหาของโรค ร้อยละ90

0.00
2 2.เพื่อให้ประชาชนทุกหลังคาเรือนมีความตระหนัก และร่วมมือในการป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง

ประชาชนทุกหลังคาเรือนมีความตระหนัก และร่วมมือในการป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง ร้อยละ 90

0.00
3 3.เพื่อสร้างความร่วมมือร่วมใจในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกของชุมชน

ประชาชนมีความร่วมมือร่วมใจในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกของชุมชน ร้อยละ 90

0.00
4 4.เพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลกะลุวอเหนือ

ในพื้นที่ตำบลกะลุวอเหนือมีการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1.เพื่อให้แกนนำมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และตระหนักปัญหาของโรค

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2.เพื่อให้ประชาชนทุกหลังคาเรือนมีความตระหนัก และร่วมมือในการป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : 3.เพื่อสร้างความร่วมมือร่วมใจในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกของชุมชน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : 4.เพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลกะลุวอเหนือ

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

6 - 30 มิ.ย. 65 กิจกรรมป้องกันไข้เลือดออก 0.00 209,590.00 -
6 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 1.กิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 0.00 750.00 -
6 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในการการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 0.00 10,750.00 -
6 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรม Big cleaning ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 0.00 102,610.00 -
6 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมลงสำรวจลูกน้ำยุงลาย 0.00 19,500.00 -
6 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมการประกวดบ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย 0.00 62,730.00 -
6 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมสรุปผลการดำเนินการ(ถอดบทเรียน) 0.00 13,250.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. แกนนำมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี เกิดความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาของโรค ๒. ประชาชนทุกหลังคาเรือนมีความตระหนัก และร่วมมือในการป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง ๓. ประชาชนทุกหลังคาเรือนมีการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน ๔. จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงหรือไม่มีผู้ป่วย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2565 14:33 น.