กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมผู้สัมผัสอาหารและผู้ประกอบการกิจการด้านอาหาร เทศบาลตำบลกะลุวอเหนือ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕
รหัสโครงการ 65-L2491-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 31 พฤษภาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2565 - 31 กรกฎาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 31,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกฤษฎา เพ็ชรพันธ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.404,101.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ แก้ไขฉบับที่ ๑๓ พ.ศ. ๒๕๕๒ ตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบล มาตรา ๕๐ เทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ตามข้อ (๔) ป้องกันและระงับโรคติดต่อและตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๖(๑๙) ให้เทศบาลมีอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนในด้านการสาธารณสุขการอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล สถานการณ์การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมของประเทศไทยในปัจจุบัน ทำให้วิถีชีวิตของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป พฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชาชนจากการปรุงอาหารรับประทานเองที่บ้าน เปลี่ยนเป็นการบริโภคอาหารนอกบ้านมากขึ้นและการบริโภคอาหารของนักเรียนในโรงเรียน ฉะนั้นทุกคนจึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด หรือมีสารที่เป็นอันตรายปนเปื้อนหรือแม้แต่มีสารที่อนุญาตให้ใช้ในอาหารได้ แต่มีปริมาณที่มากกว่าที่กำหนดก็ย่อมให้เกิดพิษภัยกับผู้บริโภค ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต สาเหตุเนื่องจากผู้ประกอบกิจการที่ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสุขาภิบาลอาหารและน้ำและขาดการควบคุมดูแลสถานประกอบกิจการให้ได้มาตรฐานถูกสุขลักษณะ อีกทั้งผู้สัมผัสอาหารยังขาดความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติตนไม่ถูกต้องระหว่างการเตรียม ปรุง ประกอบอาหาร ทำให้อาหารเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อโรคได้ การส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพดีไม่เจ็บป่วยเป็นสิ่งที่รัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้การสนับสนุน ควบคุม ดูแล เฝ้าระวัง และป้องกันให้กับประชาชน เน้นให้ประชาชนได้บริโภคอาหาร ปลอดภัยมีคุณค่าอย่างทั่วถึง ครอบคลุมทุกพื้นที่ ปัจจุบันปัญหาสำคัญที่พบในอาหารสด มักจะมีสารปนเปื้อนอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ อาจเกิดผลทั้งในระยะสั้นและระยะยาวหรืออาจถึงกับชีวิตได้ เทศบาลตำบลกะลุวอเหนือ ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการอบรมผู้สัมผัสอาหารและผู้ประกอบการกิจการด้านอาหารขึ้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังการประกันคุณภาพของอาหาร และเป็นการพัฒนาสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหารให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสมอันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องสุขาภิบาลอาหาร และอันตรายที่เกิดจากอาหารและน้ำที่ไม่ปลอดภัย

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องสุขาภิบาลอาหาร และอันตรายที่เกิดจากอาหารและน้ำที่ไม่ปลอดภัย ร้อยละ90

0.00
2 2.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีคามรู้ และปฏิบัติตามข้อกำหนด / มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร

กลุ่มเป้าหมายมีคามรู้ และปฏิบัติตามข้อกำหนด / มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร ร้อยละ 90

0.00
3 3.เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคและลดความเสี่ยงของผู้บริโภค อันเนื่องจากการบริโภคอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด

ผู้บริโภคมีความมั่นใจในการเลือกซื้ออาหาร และลดความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด ร้อยละ 90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
6 มิ.ย. 65 - 31 ก.ค. 65 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 0 21,300.00 -
6 มิ.ย. 65 - 31 ก.ค. 65 กิจกรรมประชาสัมพันธ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย 0 10,650.00 -
รวม 0 31,950.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้สัมผัสอาหารและผู้ประกอบการกิจการด้านอาหารได้รับความรู้ ความเข้าใจ ด้านสุขาภิบาลอาหารอย่างถูกต้อง ๒. ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนด / มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร ๓. ร้านอาหารแผงลอยจำหน่ายอาหารและโรงอาหารมีความสะอาด ถูกสุขลักษณะ ปลอดภัยตามมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2565 15:18 น.