กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กตำบลจะแหนสุขภาพดี ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง และได้รับการตรวจพัฒนาการ ปี 2565 ”
รหัสโครงการ 13/2565
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ทีมแกนนำกลุ่มเด็กปฐมวัย
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มิถุนายน 2565 - 30 มิถุนายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มิถุนายน 2565
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะยือละ โก๊ะสาโยะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ปัญหาภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก เป็นปัญหาสาธารณสุขไทยที่สำคัญ โดยกองโภชนาการ กรมอนามัย พบความชุกโลหิตจางกลุ่มเด็กปฐมวัยอายุ 6 เดือน - 5 ปี ร้อยละ 25.9 กลุ่มเด็กวัยเรียนอายุ 6-8 ปี ร้อยละ 46.7 อายุ 9-11 ร้อยละ 25.4 อายุ 12-14 ปี ร้อยละ 15.7 และจากการสำรวจภาวะโภชนาการเด็กของเด็กไทยอายุ 6 เดือน - 12 ปีพ.ศ. 2553-2555 ภายใต้โครงการ South East Asia Nutrition Survey (SEANUTS) เด็กไทยกลุ่มเด็กปฐมวัย (6 เดือน - 3 ปี)พบความชุกโลหิตจางสูง ในเขตชนบทร้อยละ41.7 ในเขตเมืองร้อยละ 26 และจากการสำรวจโลหิตจางในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ พ.ศ.2547-2553 ของสำนักส่งเสริมสุขภาพกรมอนามัยพบว่าในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์มีแนวโน้มความชุกโลหิตจางสูงขึ้นพ.ศ. 2553 หญิงตั้งครรภ์มีความชุกโลหิตจางร้อยละ 18.4 และจากการรายงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552 พบความชุกโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ  (อายุ 15-45 ปี)ร้อยละ 24.8 แนวโน้มความชุกโลหิตจางในกลุ่มผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 60 ปีมีแนวโน้มสูงขึ้นโดยพบความชุกโลหิตจางในกลุ่มผู้สูงอายุ 60-69 ปี ร้อยละ 34.5 กลุ่มผู้สูงอายุ 70-79 ปี ร้อยละ 48.4 และกลุ่มผู้สูงอายุมากกว่า 80 ปี ร้อยละ 60.7 ปีตามลำดับ โดยภาพรวมของสถานการณ์ปัญหาภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กของประเทศไทยมีผลกระทบต่อประชาชนไทยทุกกลุ่มวัย(เด็กปฐมวัย เด็กวัยเรียน หญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ และผู้สูงอายุ) ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาศักยภาพของประชากรไทยต่อไป(สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข,คู่มือแนวทางการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก,2556 :6)ซึ่งภาวะโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็ก คือ ภาวะที่ร่างกายมีการขาดหรือพร่องธาตุเหล็กซึ่ง ทำให้มีปริมาณธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ที่จะนำไปสร้างเม็ดเลือดแดงได้เป็นผลให้ร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดแดงหรือความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเลือดต่ำกว่าปกติ โลหิตจางในเด็กมีสาเหตุหลักมาจาก 1) การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่พียงพอในขณะที่ร่างกายเด็กกำลังเจริญเติบโตจึงต้องการธาตุเหล็กมากขึ้น และ 2) สาเหตุจากการเสียเลือด อาจเกิดเฉียบพลัน เช่น เลือดออกจากแผลอุบัติเหตุต่างๆ หรือจากเลือดออกเรื้อรัง เช่น พยาธิปากขอ มีแผลในกระเพาะอาหาร และการเสียเลือดจากประจำเดือนในเด็กหญิงวัยเจริญพันธุ์ เป็นต้น ทั้งนี้ การขาด/พร่องธาตุเหล็กเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดที่ก่อ ให้เกิดโลหิตจางในเด็ก และเป็นภาวะที่พบบ่อยที่สุดของภาวะขาดสารอาหาร ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง มีส่วนสำคัญในการป้องกันเชื้อโรค ดังนั้นการขาดธาตุเหล็กจึงส่งผลเสียต่อการทำงานด้านกายภาพ การสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการเจ็บป่วย และพัฒนาการของสมองของเด็กก่อนวัยเรียน โดนเฉพาะเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปีอีกทั้งส่งผลให้สูญเสียความสามารถในการเรียนรู้ตามศักยภาพอย่างถาวร ลดประสิทธิภาพในการเรียนของเด็กวัยเรียน และอาจมีความรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้
จากความสำคัญของปัญหาดังกล่าวพบว่า จะเห็นได้ว่า พบความชุกโลหิตจางกลุ่มเด็กปฐมวัย ที่มาจากการขาดธาตุเหล็ก ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดงการเรียนรู้ ภูมิต้านทานโรคสมรรถภาพในการทำกิจกรรมต่างๆหากขาดเหล็กจะมีผลเสียต่อพัฒนาการและการเรียนรู้อย่างยิ่ง ทีมแกนนำกลุ่มเด็กปฐมวัยจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาและจัดโครงการเด็กตำบลจะแหนสุขภาพดี ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง และได้รับการตรวจพัฒนาการ ปี 2565 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดกรองกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวและหากพบภาวะโลหิตจางและพัฒนาการล่าช้า ได้รับการติดตามและรักษาอย่างทันถ่วงที และเพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มเด็กปฐมวัย เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,000.00 0 0.00
15 - 30 มิ.ย. 65 ดำเนินตรวตคัดกรอง 0 20,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กอายุ6 เดือน – 5 ปี ได้รับการคัดกรองโลหิตจาง และคัดกรองพัฒนาการ
  2. เด็กอายุ6 เดือน – 5 ปี ที่ได้รับการคัดกรองและพบภาวะโลหิตจาง ได้รับการรักษาติดตาม ส่งต่อ
  3. เด็กอายุ 6 เดือน – 5 ปี ได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2565 16:09 น.