กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดพุง หุ่นดีด้วย DPAC ประจำปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-L2479-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมสร้างสุขภาพตำบลบูกิต
วันที่อนุมัติ 29 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 19,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสะอารี วาหนิ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวซูฮัยลา ยูโซะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 1.ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และ โรคมะเร็งเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญระดับประเทศ เนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนคนไทย มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้อัตราเสี่ยงและอัตราการเกิดของโรคอ้วนลงพุง หรือ โรคเมตาบอลิก ซินโดรม (Metabolic syndrome)และโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มสูงขึ้น จากรายงานสถิติ สุขภาพทั่วโลก พ.ศ. 2555 ขององค์การอนามัยโลกพบว่า 1 ใน 10 ของประชาชนในวัยผู้ใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและ 1 ใน 3 มีภาวะความดันโลหิตสูง นอกจากนี้พบว่าประมาณร้อยละ 63 ของการเสียชีวิตทั้งหมดทั่วโลกเกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยเพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกาย/การมีกิจกรรมทางกาย (Physical Activity) การมีพฤติกรรมสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการ (Diet) ที่เหมาะสม ลดอาหารหวาน มัน เค็ม เพิ่มการรับประทานผักผลไม้ควบคุมป้องกันไม่ให้เกิดภาวะโภชนาการเกินลดการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา จัดการอารมณ์ เน้นการลดปัจจัยเสี่ยง ป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน/อ้วนลงพุง และป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ เพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังให้แก่ประชาชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาให้กลุ่มเสี่ยงมีการเรียนรู้อย่างถูกต้องในเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการกับอารมณ์ ที่เหมาะสม

1.ผู้เข้ารับการอบรมได้รับการเรียนรู้ในการดูแลตนเองเพื่อควบคุมน้ำหนักและไขมันในเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย และจัดการกับอารมณ์ที่เหมาะสม

50.00 50.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

2.ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

50.00 50.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

3.ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

50.00 50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ต.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ร่วมโครงการ 0 0.00 -
1 ต.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในเรื่องการบริโภคอาหาร ออกกำลังกายและการจัดการอารมณ์ 0 14,850.00 14,850.00
1 ต.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมคคัดกรองความดันโลหิตสูง ตรวจเบาหวาน ค่า BMI ครั้งที่ 1 0 1,250.00 -
1 ต.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมติดตามการรับประทานอาหาร/การออกกำลังกาย จากการบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 0 2,500.00 -
1 ต.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมคคัดกรองความดันโลหิตสูง ตรวจเบาหวานค่า BMIครั้งที่ 2 0 1,250.00 -
รวม 0 19,850.00 1 14,850.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้ารับการอบรมได้รับการเรียนรู้ในการดูแลตนเองเพื่อควบคุมน้ำหนักและไขมันในเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย และจัดการกับอารมณ์ที่เหมาะสม
  2. ประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง
  3. ประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 มิ.ย. 2565 00:00 น.