กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมเเละป้องกันโรคมือ เท้า ปาก อบต.ลุโบะบือซา
รหัสโครงการ 65-L2501-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อบต.ลุโบะบือซา
วันที่อนุมัติ 8 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2565 - 30 ธันวาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,720.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวิชุดา กูลเกื้อ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวพาตีเม๊าะ ซะรีเเลเเม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลุโบะบือซา อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.43,101.725place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคติดเชื้อไวรัสในลำไส้ของมนุษย์ สายพันธุ์ที่ก่อโรคมือ เท้า ปาก ได้แก่ Coxsackie virus group A,B เเละ Enterovirus 71 (EV71) มักพบในเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ผู้ป่วยมักจะมีอาการไข้ มีผื่นหรือตุ่มพองในปาก ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ส่วนมากอาการไม่รุนเเรง มีเพียงส่วนน้อยประมาณ ร้อยละ 1 ที่มีอาการรุนเเรงจนถึงเสียชีวิตได้จากภาวะเเทรกซ้อน เช่น ปอดบวมน้ำ สมองอักเสบ หัวใจวาย สายพันธุ์ที่มักทำให้เกิดอาการรุนเเรง ได้แก่ EV71 โรคนี้มักระบาดในสถานนรับเลี้ยงเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนที่มีชั้นอนุบาล ข้อมูลผู้ป่วยจากข้อมูลการเฝ้าระวังโรคของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ส่วนใหญ่พบในเด็กต่ำกว่า 5 ปี การระบาดกระจายไปทั่วทุกจังหวัด มีการระบาดเป็นกลุ่มก้อน ขายเป็นวงกว้างในหลายจังหวัด ซึ่งหากไม่มีการป้องกันควบคุมโรคที่ดีเเล้ว ก็อาจทำให้มีการระบาดมากขึ้นได้   สถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะบือซา พบผู้ป่วยโรคนี้เป็นระยะๆ โดยการป่วยด้วยโรคดังกล่าวนั้นมีอยู่ก่อนเเล้ว ไม่ใช่เป็นโรคที่เกิดขึ้นมาใหม่ ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เฝ้าระวังการระบาดของโรคนี้เเล้ว โดยเฉพาะในพื้นที่ใหญ่ๆ โดยทำความเข้าใจกับโรงเรียนเเต่ละเเห่ง หากพบว่ามีเด็กป่วยด้วยโรคนี้ ก็ขอให้หยุดเรียนทันที เพื่อป้องกันการระบาดไปสู่เพื่อนนักเรียนในชั้นเรียน เเม้ว่ายังไม่มีรายงานการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคนี้ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะบือซาก็ตาม เเต่จากการระบาดเเละมีการเสียชีวิตของผู้ป่วยในประเทศไทย ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการระบาด โรคนี้เป็นโรคที่ติดต่อได้ง่าย เกิดขึ้นกับเด็กเล็กที่สามารถป้องกันโรคด้วยตัวเองได้ ดังนั้น อบต.ในฐานะที่เป็นหน่วยงานมีน้าที่ในการป้องกันเเละควบคุมโรคให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ได้จัดทำโครงการควบคุมเเละป้องกันโรคมือ เท้า ปาก องค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะบือซาประจำปีงบประมาณ 2565 เพื่อชี้เเจงทำความเข้าใจถึงสถานการณ์ของโรคเเต่ละโรคที่ต้องเฝ้าระวัง โดยเฉพาะโรคมือ เท้า ปาก ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย มิให้มีการแพร่ระบาดจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเเละในโรงเรียนไปสู่ชุมชนได้   ดังนั้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังโรคนี้เป็นพิเศษตามเเนวทางการเฝ้าระวัง สอบสวนเเละรายงานโรค กรณีสงสัยติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) ที่มีอาการรุนเเรง เเละการระบาดของโรคนี้ของกรมควบคุมโรค มาตรการควบคุมการระบาด ทำได้โดยการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยทุกราย ครูผุ้ดูเเลเด็ก ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในการรักษาความสะอาดของร่างกายเเล้ว วิธีที่จำเป็นในการตัดวงจรของโรค คือ การทำความสะอาดอาคาร สถานที่ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเเละทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง อย่างต่อเนื่อง หากพบว่าเด็กป่วย กรมควบคุมโรคเเนะนำให้ดำเนินการตามเเนวทางป้องกันโรค ดังนี้       1.แยกเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ       2.เเจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่รับผิดชอบ       3.เเจ้งให้ผู้ปกครองรับกลับบ้านเเละพาเด็กไปพบเเพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยเเละรักษา       4.ทำความสะอาดอุปกรณ์ ของใช้ ของเล่น เป็นประจำทุกสัปดาห์เเละทุกครั้งที่มีเด็กป่วย หากพบอีกว่าในห้องเรียนเดียวกันมีเด้กป่วยมากกว่า 2 ราย ใน 1 สัปดาห์ ควรพิจารณาปิดห้องเรียนนั้น เเละดำเนินการตามเเนวทางป้องกันควบคุมโรค หรือหากพบเด็กป่วยมากกว่า 1 ห้องเรียน ให้พิจารณาปิดสถานที่ดังกล่าวชั่วคราว อย่างน้อย 5 วันทำการ เเละดำเนินการตามเเนวทางป้องกันควบคุมโรคอย่างเข้มข้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อควบคุม ป้องกัน โรคมือ เท้า ปาก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเเละในโรงเรียนในพื้นที่ตำบลลุโบะบือซา 2.เพื่อเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก ไม่ให้มีการเเพร่ระบาดจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเเละในโรงเรียนไปสู่ชุมชน

1.เพื่อควบคุม ป้องกัน โรคมือ เท้า ปาก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเเละในโรงเรียนในพื้นที่ตำบลลุโบะบือซา
2.เพื่อเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก ไม่ให้มีการเเพร่ระบาดจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเเละในโรงเรียนไปสู่ชุมชน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.เสนอโครงการเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณ 2.เเต่งตั้งคณะทำงานเเละประชุมมอบหมายงาน 3.ดำเนินการจัดหาวัสดุ เคมีภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง 4.ประชาสัมพันธ์โครงการให้กลุ่มเป้าหมายรับทราบอย่างทั่วถึง 5.ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ (จัดสรรวัสดุเคมีภัณฑ์แก่กลุ่มเป้าหมาย) 6.กลุ่มเป้าหมายดำเนินการป้องกันเเละควบคุมโรคในโรงเรียน 7.ติดตาม ควบคุมกำกับ เเละประเมินโครงการ 8.สรุปผลเเละรายงานผลโครงการต่อหน่วยงานเจ้าของงบประมาณ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเเละโรงเรียนในพื้นที่มีการเฝ้าระวัง โรค มือ เท้า ปาก เเละโรคติดต่อในระบบทางเดินอาหารอย่างต่อเนื่อง 2.ทำให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเเละโรงเรียนในพื้นที่ไม่เกิดการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2565 10:44 น.