กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการลดโรค ลดเสี่ยง หลีกเลี่ยงความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุงปี 2565

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดโรค ลดเสี่ยง หลีกเลี่ยงความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุงปี 2565
รหัสโครงการ 65-L3330-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน
วันที่อนุมัติ 10 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 สิงหาคม 2565 - 10 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 9 กันยายน 2565
งบประมาณ 37,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจินดาพัฒน์ แม่ลิ่ม
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.398898,100.148106place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ประชาชนมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัวนิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบการทำงาน บริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ มีการเคลื่อนไหวทางร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรค ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วมและเสียชีวิตก่อนวันอันควรโรคความดันโลหิตสูงเป็นภาวะโรคไร้เชื้อเรื้อรังที่มีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยพบเร็วขึ้นในกลุ่มอายุน้อยและพบเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น (พานทิพย์ แสงประเสริฐ,๒๕๕๔)ปัจจุบันประชากรโลกรวมทั้งประเทศไทยที่ประสบอยู่ โดยคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ.๒๕๖๘ จะประสบปัญหาโรคความดันโลหิตสูง ๑.๕ ล้านคน (จดหมายข่าว วช,๒๕๔๙)ซึ่งอัตราตายต่อประชากรแสนคน จากโรคความดันโลหิตสูงเท่ากับ ๓.๙ ส่วนอัตราป่วยในต่อแสนประชากรด้วยโรคความดันโลหิตสูงเท่ากับ ๘๖๐.๕๓ (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข,๒๕๕๑)อันตรายจากภาวะของโรคนี้คือ ผู้ป่วยอาจมีอาการของโรคเพียงเล็กน้อย เช่น มึนศรีษะท้ายทอย หรือไม่มีอาการเลยได้นานหลายปี จึงเป็นการยากในการตรวจสอบ จนกระทั่งปรากฎร่องรอยที่เป็นอันตรายต่อชีวิตหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนต่ออวัยวะสำคัญของร่างกาย และนำไปสู่โรคอันตรายอื่นอีก เช่นโรคของหลอดเลือดสมองโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต ซึ่งผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด(ปิยะมิตร ศรีธาราและคณะ,๒๕๕๑)เพราะฉะนั้นการตรวจพบโรคความดันโลหิตสูงตั้งแต่เริ่มแรกและได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง รวมทั้งการมีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพจะสามารถควบคุมโรคและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคได้ การปรับพฤติกรรมการบริโภคโดยลดอาหารเค็มและไขมันสูง การควบคุมความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ ลดการดื่มแอลกอฮอล์งดบุหรี่ เป็นการช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตได้ นอกจากนี้การออกกำลังกายซึ่งเป็นกิจกรรมการออกแรงเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็น ข้อต่อส่วนต่างๆของร่างกายอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานพอจึงจะ เป็นการเสริมสร้างสุขภาพให้แข้งแรงยิ่งขึ้นหรือคงไว้ซึ่งสมรรถภาพของร่างกายและลดระดับความดันโลหิตได้(สุรเกียรติ อาชานุภาพ,๒๕๕๐) จากการสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลของประชาชนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสนหมู่ที่ 13ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ปี ๒๕64 จำแนกตามปัญหาสุขภาพและการเจ็บป่วยพบว่าประชากรดังกล่าวที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 180 คนโดยส่วนใหญ่ประชากรป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงอัตราความชุกเทากับ ๕๒.๗๓ ต่อพันประชากร ซึ่งพบว่าสาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมเสี่ยงในการดำเนินชีวิต เช่น การไม่ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารรสจัด (หวาน มัน เค็ม) เช่น แกงส้ม ปลาเค็ม การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เป็นต้น จากผลกระทบและสภาพปัญหาและสาเหตุดังกล่าวข้างต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง จึงได้จัดทำโครงการลดโรค ลดเสี่ยง หลีกเลี่ยงความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุงปี 2565ขึ้นเพื่อให้ประชาชนมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหา ควบคุมระดับความดันโลหิตสูงให้คงที่ปกติ ไม่ส่งผลร้ายจนเกิดภาวะแทรกซ้อน และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันอัตราการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงของประชาชนในชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ ปชช.กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง และการป้องกันภาวะแทรกซ้อน

1.จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ 2.ประเมินผลจากแบบทดสอบก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ

0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันได้ตามเกณฑ์

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันได้ตามเกณฑ์ร้อยละ ๕๐

0.00
3 เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสม

กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 150 37,650.00 2 37,650.00
5 - 6 ส.ค. 65 ประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่ม เสี่ยง ประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มป่วย 50 14,400.00 14,400.00
9 - 10 ส.ค. 65 พบกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การสาธิตเมนูอาหารเพื่อสุขภาพและกิจกรรมการตรวจหาเกลือในอาหารในกลุ่มเสี่ยง 100 23,250.00 23,250.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยมีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย
  2. กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสม
  3. อัตราการเกิดผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงลดลงและผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์
  4. ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายร้อยละ 90
  5. กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ100
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2565 00:00 น.