กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ รณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โรคไข้ซิกา โรคไข้ปวดข้อยุงลาย ปี 2565
รหัสโครงการ 65-L7499-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลสทิงพระ
วันที่อนุมัติ 2 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2565 - 31 มกราคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กุมภาพันธ์ 2566
งบประมาณ 145,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชยุต ขุนรักษาพล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.473304423,100.4389966place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1290 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อนำโดยยุงลาย ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย และโรคติดเชื้อไวรัสซิกา เป็นโรคประจำถิ่นของประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยมีลักษณะของภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อยุงลาย ซึ่งผลจากการสุ่มสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พบว่า สถานที่สำคัญต่างๆ โดยเฉพาะศาสนสถาน สถานที่ราชการและโรงเรียน มีสัดส่วนการสำรวจพบลูกน้ำยุงลายมากที่สุด ซึ่งสถานที่เหล่านี้เป็นสถานที่ที่มีการรวมตัวของประชาชนเพื่อมาทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย จึงทำให้ประเทศไทยมีโอกาสที่จะมีการแพร่ระบาดของโรคติดต่อนำโดยยุงลายทั้ง 3 โรค ในหลายพื้นที่ การเกิดโรคไข้เลือดออกในปัจจุบันมีรูปแบบการระบาดที่ไม่แน่นอน โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีทั้งการระบาด แบบปีเว้นปี ปีเว้นสองปี หรือปีเว้นสามปี สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2564 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 25 พฤศจิกายน 2564 พบผู้ป่วย 9,084 ราย เสียชีวิต 6 ราย เป็นเพศชาย 5 ราย เพศหญิง 1 ราย อยู่ในกลุ่มอายุ 5-14 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่พบมากที่สุด และกลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไป โดยมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในเด็ก คือ มีน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน และในผู้สูงอายุคือ การมีโรคประจำตัวเรื้อรัง สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่สำคัญ ได้แก่ ได้รับการวินิจฉัยล่าช้า รวมถึงมีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายบริเวณที่พักอาศัย "แม้ว่าในปีนี้ จำนวนคนป่วยจะน้อยกว่าช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา หรือลดลงมากกว่าร้อยละ 80 แต่คาดการณ์ว่าในปี 2565 จะมีการระบาดมากขึ้น เพราะโรคไข้เลือดออกจะระบาดปีเว้นปี หรือปีเว้น 2 ปี เนื่องจากภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติในคนลดลง, โรคไข้ปวดข้อยุงลายปี พ.ศ. 2563 มีรายงานผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี มีแนวโน้มการระบาดสูงขึ้นตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2561 โดยเริ่มต้นพบผู้ป่วยในพื้นที่ภาคใต้ จากการเคลื่อนย้ายของประชากรทำให้เริ่มพบผู้ป่วยประปรายในจังหวัดนอกพื้นที่ภาคใต้ และกระจายเป็นกลุ่มก้อนไปยังภูมิภาคอื่นทั่วประเทศ และต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน และประเทศไทยพบการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสซิกาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 มีรายงานผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2563) หรือเป็นโรคประจำถิ่น (endemic disease) เช่นเดียวกับโรคติดต่อที่นำโดยแมลงอื่น ๆ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย โรคไข้สมองอักเสบเจอี เป็นต้น แม้ว่าสถานการณ์การระบาดในภาพรวมของปัจจุบันจะมีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยลดลงแต่ยังคงมีการแพร่เชื้ออย่างต่อเนื่องและกระจายทั่วภูมิภาค
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกจากระบบเฝ้าระวังโรค (รง.506) ในปี พ.ศ. 2564 มีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยลดลงอย่างมากตั้งแต่ต้นปี โดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 25 พฤศจิกายน 2564 พบผู้ป่วย 9,084 ราย เสียชีวิต 6 ราย อยู่ในกลุ่มอายุ 5-14 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่พบมากที่สุด และกลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไป โดยมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในเด็ก คือ มีน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน และในผู้สูงอายุคือ การมีโรคประจำตัวเรื้อรัง สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่สำคัญ ได้แก่ ได้รับการวินิจฉัยล่าช้า รวมถึงมีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายบริเวณที่พักอาศัย "แม้ว่าในปีนี้ จำนวนคนป่วยจะน้อยกว่าช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา หรือลดลงมากกว่าร้อยละ 80 แต่คาดการณ์ว่าในปี 2565 จะมีการระบาดมากขึ้น เพราะโรคไข้เลือดออกจะระบาดปีเว้นปี หรือปีเว้น 2 ปี เนื่องจากภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติในคนลดลง แต่หากไม่ได้มีการป้องกันโรคแต่เนิ่นๆ จากการพยากรณ์แนวโน้มการเกิดโรคไข้เลือดออกด้วยวิธีอนุกรมเวลาพบว่า ปี พ.ศ. 2565 ประเทศไทยจะมีการระบาดของโรคไข้เลือดออก โดยจำนวนผู้ป่วยตลอดทั้งปีประมาณ 95,000 ราย โดยช่วงไตรมาสแรกของปีจะมีจำนวนผู้ป่วยประมาณ 3,000 -4,000 รายต่อเดือน และจะสูงขึ้นในเดือนพฤษภาคม จนสูงที่สุดในช่วงฤดูฝนเดือนมิถุนายน – กันยายน ซึ่งอาจจะมีผู้ป่วย 10,000 – 16,000 ราต่อเดือน สำหรับพื้นที่เทศบาลตำบลสทิงพระ เป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้เลือดออก จากข้อมูล 5 ปี ที่ผ่านมามีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ดังนี้ ปี พ.ศ. 2560 มีผู้ป่วย จำนวน 6 ราย ปี พ.ศ. 2561 พบผู้ป่วย 6 ราย ปี พ.ศ. 2562 พบผู้ป่วยโรคไข้ปวดข้อยุงลายจำนวน 8 ราย ปี พ.ศ. 2563 และ พ.ศ. 2564 ไม่มีผู้ป่วย (ข้อมูลจาก รพ.สทิงพระ)
      ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคที่เกิดจากยุงลายที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยน แนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย โรคติดเชื้อไวรัสซิกา เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคติดต่อจากยุงลายเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมจึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อจากยุงลาย กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลสทิงพระ จึงได้จัดทำโครงการ “รณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โรคไข้ซิกา โรคไข้ปวดข้อยุงลาย ปี 2565” ขึ้น เพื่อเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อจากยุงลาย ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชน วัด โรงเรียนตลอดจนทุกภาคส่วน ร่วมมือผนึกพลัง ความคิดความร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก ไข้ซิก้า โรคไข้ปวดข้อยุงลาย ตามมาตรการ 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค เพื่อรักษาความสะอาดและร่วมมือกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมในครัวเรือนที่พักอาศัยและชุมชนของตนเองให้สะอาด ถูกสุขลักษณะและรักษาให้เกิดความต่อเนื่องยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก โรคไข้ซิกา โรคปวดข้อยุงลาย และมีความตระหนัก และร่วมมือกันรักษาความสะอาดในบ้านเรือน/ชุมชนของตนเองและปฏิบัติตนตามาตรการ 3 เก็บ ป้องกัน 3โรค

จำนวนประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีการปฏิบัติตนตามมาตรการ 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค อย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 80 ของเป้าหมายโครงการ

0.00
2 เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โรคไข้ซิกา โรคไข้ปวดข้อยุงลาย ในชุมชนได้

ไม่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน โรคไข้ซิกา โรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือมีจำนวนลดลงจากปีที่ผ่านมา

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก โรคไข้ซิกา โรคปวดข้อยุงลาย และมีความตระหนัก และร่วมมือกันรักษาความสะอาดในบ้านเรือน/ชุมชนของตนเองและปฏิบัติตนตามาตรการ 3 เก็บ ป้องกัน 3โรค

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โรคไข้ซิกา โรคไข้ปวดข้อยุงลาย ในชุมชนได้

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 มิ.ย. 65 - 31 ส.ค. 65 กิจกรรมให้ความรู้การป้องกันโรคไข้เลือดออกโรคไข้ซิกา โรคไข้ปวดข้อยุงลาย 0.00 25,200.00 -
1 มิ.ย. 65 - 31 ธ.ค. 65 กิจกรรมรณรงค์พ่นหมอกควันและพ่นสเปรย์กำจัดยุงลาย ก่อนเกิดโรค ขณะเกิดโรค และเฝ้าระวังหลังเกิดโรค 0.00 120,000.00 -
1 ก.ค. 65 - 31 ส.ค. 65 อบรมให้ความรู้การป้องกันโรคไข้เลือดออก โรคไข้ซิกา โรคไข้ปวดข้อยุงลาย 70.00 15,200.00 -
1 - 31 ก.ค. 65 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้การป้องกันโรคไข้เลือดออก โรคไข้ซิกา โรคไข้ปวดข้อยุงลาย 1290.00 10,000.00 -
1 ก.ค. 65 - 31 ธ.ค. 65 กิจกรรมรณรงค์พ่นหมอกควันยุงลาย 1290.00 117,000.00 -
1 ก.ค. 65 - 31 ธ.ค. 65 กิจกรรมรณรงค์พ่นหมอกควันยุงลายและพ่นสเปรย์ แจกทรายเคมีฟอส ขณะเกิดโรคและเฝ้าระวังหลังเกิดโรค 0.00 3,000.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก โรคไข้ซิกา โรคไข้ปวดข้อยุงลาย เรื่องการจัดการบ้านเรือน และสภาพสิ่งแวดล้อมรอบบ้านตามมาตรการ 3 เก็บป้องกัน 3โรค
  2. บ้านเรือนที่อยู่อาศัย และชุมชนหมู่บ้านสะอาด น่าอยู่ ลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคต่างๆ
  3. ไม่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก โรคไข้ซิกา โรคปวดข้อยุงลาย และโรคระบาดติดต่อในชุมชน/หมู่บ้านลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2565 11:26 น.