กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการนวัตกรรมใหม่ให้ลูกน้อยฟันดี ด้วยนม Probiotics ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ปีงบประมาณ 2565

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการนวัตกรรมใหม่ให้ลูกน้อยฟันดี ด้วยนม Probiotics ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65–L3323-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพนางตุง
วันที่อนุมัติ 14 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 37,656.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอภัยรัตน์ มุขตา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.759,100.14place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพช่องปากของประชาชนไทยยังคงเป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะโรคฟันผุในเด็กเล็กซึ่งส่งผลกระทบต่อพัฒนาการ สุขภาพ การบดเคี้ยว ตลอดจนการใช้ชีวิตประจำวัน ข้อมูลจากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศครั้งที่ 8 ปี พ.ศ. 2560 พบว่ากลุ่มเด็กอายุ 3 ปี มีฟันน้ำนมผุร้อยละ 52.9 โดยส่วนใหญ่ไม่ได้รับการรักษาร้อยละ 52 และเด็กอายุ 5 ปี มีฟันน้ำนมผุร้อยละ 75.6 ไม่ได้รับการรักษาร้อยละ 73.8 ในขณะที่ภาคใต้ พบว่าเด็ก 3 ปีมีอัตราการเกิดฟันผุสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับภาคอื่นๆ เป็นร้อยละ 51 และเป็นฟันผุที่ยังไม่ได้รับการรักษาสูงสุดร้อยละ 50 สำหรับจังหวัดพัทลุง ปัญหาฟันผุใน เด็กเล็กยังเป็นปัญหาสำคัญ โดยจากระบบรายงานสาธารณสุข (HDC) ปี พ.ศ. 2563 - 2564 พบว่ามีความชุกฟันผุในฟันน้ำนม เป็นร้อยละ 55.2 และ 49.2 ตามลำดับ และจากการสำรวจสภาวะช่องปากในเด็กอายุ 1 - 6 ปี ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ในปี 2564 พบว่า เด็กมีอัตราการเกิดฟันผุ ร้อยละ 55.8,52.8 ตามลำดับ ส่วนใหญ่เด็กมีฟันผุในช่องปากอย่างน้อย 1 ซี่
สาเหตุและปัจจัยของการเกิดโรคฟันผุในเด็กเล็ก
การเกิดโรคฟันผุเกิดจากการทำความสะอาดช่องปากที่ไม่เพียงพอซึ่งทำให้มีเชื้อโรคก่ออันตรายได้โดยเฉพาะผู้ที่มีปริมาณเชื้อ สเตรปโตคอคคัสมิวแทนส์ (mutans streptococci หรือ MS) และแลคโตแบซิลลัส (lactobacillus) มาก ถือว่าเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคฟันผุสูง เพราะเชื้อแบคทีเรียทั้งสองชนิด เป็นสาเหตุของโรคฟันผุ ซึ่งเชื้อโรคเหล่านี้จะอาศัยอาหารกลุ่มแป้งและน้ำตาล ทำให้เกิดการสร้างกรด และเมื่อกรดมีการสัมผัสฟันบ่อยครั้งหรือเป็นเวลานาน ๆในแต่ละครั้ง เช่น ในผู้ที่ทานอาหารที่น้ำตาลบ่อย ๆ ผู้ที่ดื่มนมหลับคาขวดนม หรือ หรือผู้ที่แปรงฟันไม่สะอาด ขาดการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ รวมถึงในช่วงที่มีฟันขึ้นมาใหม่ๆซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนที่จะเกิดการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ หากมีเชื้อโรคและน้ำตาลร่วมด้วย จะทำให้เกิดการสูญเสียแร่ธาตุ (demineralization) ของผิวเคลือบฟันได้อย่างรวดเร็วและก่อให้เป็นรูผุและหากลุกลามจะทำให้สูญเสียฟันในที่สุด ดังนั้นการป้องกันการเกิดฟันผุ โดยเฉพาะในวัยเด็กนั้น จึงจำเป็นที่จะดูแลทั้งในการจัดการเชื้อโรค ผ่านการแปรงฟันด้วยการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง การควบคุมอาหารหวาน การเคลือบหลุมร่องฟัน การใช้สารฟลูออไรด์วานิชทาฟันเพื่อป้องกันฟันผุ เป็นมาตรการหลักที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม พบว่าในปัจจุบัน ได้มีความพยายามในการรณรงค์เรื่องให้ผู้ปกครองแปรงฟันให้แก่เด็กเล็กเพิ่มขึ้น รวมถึงการแนะนำ การควบคุมอาหารหวาน การเลิกนมขวด และการใช้สารต่าง ๆร่วมด้วย แต่ยังไม่เพียงพอในการควบคุมหรือจัดการสถานการณ์ฟันผุในกลุ่มเหล่านี้ได้ ดังนั้น การหาทางเลือกมาตรการ แนวใหม่ที่สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ และสามารถจัดการฟันผุเพิ่มเติมขึ้น จึงเป็นสิ่งเร่งด่วนที่จะช่วยเพิ่มโอกาสให้เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดีได้ทันท่วงที
ที่มาและประโยชน์ของนม Probiotics โพรไบโอติก คือ จุลินทรีย์ชนิดเดียวหรือหลายชนิดที่มีชีวิต ซึ่งเมื่อบริโภคเข้าไปจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยให้เกิดการสมดุลของเชื้อจุลินทรีย์และเอนไซม์ในผนังเนื้อเยื่อเมือก หรือช่วยกระตุ้นกลไกของระบบภูมิต้านทาน โดยกลไกการทำงานของโพรไบโอติกมีผู้รวบรวมรายงานไว้หลายประการ กล่าวคือ 1) โพรไบโอติกช่วยในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายให้มีความเตรียมพร้อมในการต้านแบคทีเรียก่อโรค 2) โพรไบโอติกเป็นตัวแข่งขันในการแย่งพื้นที่และอาหารเพื่อการดำรงอยู่ในร่างกาย ทำให้แบคทีเรียก่อโรคมีโอกาสในการอยู่รอดในร่างกายได้น้อยลง 3) โพรไบโอติกสร้างสารต้านจุลชีพ (โปรตีน) และสารอื่น ๆ มีผลในการต้านเชื้อก่อโรคและ 4) โพรไบโอติก สร้างสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ไวตามิน เป็นต้น โดยในปัจจุบัน ได้มีในการนำโพรไบโอติกมาใช้ในวงการสุขภาพช่องปาก จากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบโดย Jorgensen และคณะ ศึกษาถึงผลการใช้โพรไบโอติกในเด็กอายุ 0-6 ปี พบว่า สามารถลดการเกิดฟันผุในเด็กเล็กได้ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับผลิตภัณฑ์หลอก 4 โดยเฉพาะในกลุ่ม ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำหรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุสูง สำหรับมาตรการในการแก้ปัญหาโรคฟันผุในเด็กเล็ก เน้นการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ดี โดยการให้บริการเชิงรุก บูรณาการงานสุขภาพช่องปากกับสหวิชาชีพ ในทุกสถานบริการ ได้แก่ การให้ความรู้ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภคและการดูแลช่องปากเด็กเล็กแก่ผู้ปกครอง ฝึกทักษะการแปรงฟันให้กับผู้ปกครอง รณรงค์การแปรงฟันก่อนนอนให้เด็กโดยผู้ปกครอง การตรวจสุขภาพช่องปากและคัดกรองกลุ่มเสี่ยง การทาฟลูออไรด์วานิชป้องกันฟันผุ และสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รวมทั้งการมุ่งเน้นการใช้นวัตกรรมใหม่เพื่อพัฒนากิจกรรมด้านการสร้างเสริมป้องกันโรคในช่องปากให้มีประสิทธิภาพ ปัจจุบันมีนวัตกรรมใหม่ คือ การพัฒนาจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์เพื่อป้องกันฟันผุ จากการคัดเลือกสายพันธ์สู่การนำไปใช้ ซึ่งเป็นผลงานการวิจัยที่ได้รับรางวัลดีเด่นในระดับนานาชาติ ของ ศ.ดร.รวี เถียรไพศาล และผศ.ดร.ทพญ.สุพัชรินทร์ พิวัฒน์ คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยจุลินทรีย์ที่มีชีวิต เมื่อร่างกายได้รับในปริมาณที่เพียงพอ จะทำให้เกิดผลที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ (อย.กระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 346 พ.ศ.2555) กลไกการทำงานของจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ ได้แก่ แข่งขันการได้รับสารอาหารและพื้นที่ยึดเกาะจากเชื้อที่ก่อโรค ปล่อยสารโปรตีนที่ต้านจุลชีพ และกระตุ้นภูมิคุ้มกันในช่องปาก ปัจจุบันมีการพัฒนาในรูปแบบ “นมอัดเม็ดผสมโพรไบโอติกส์” ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ง่าย ซึ่งจากการศึกษาวิจัยพบว่า ผลการป้องกันฟันผุและการเกิดฟันผุใหม่ในเด็กเล็กที่มีฟันผุ 0-2 ซี่ ได้ถึง 5.25 เท่า และในเด็กที่มีฟันผุ 2-5 ซี่ มีผลในการป้องกันการเกิดฟันผุใหม่ 3.6 เท่า และเด็กที่มีฟันผุมากกว่า 6 ซี่ มีผลในการป้องกันการเกิดฟันผุใหม่ 2.7 เท่า (nuntiya et. Al,2018 ) การใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ในการป้องกันฟันผุจึงเป็นนวัตกรรมใหม่ที่นำมาส่งเสริมให้เด็กสร้างภูมิต้านทานเชื้อโรคโดยตนเองภายใต้การจัดการให้ได้รับอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ปี ร่วมกับการแปรงฟันด้วยยาสีฟันฟลูออไรด์อย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน ให้สอดคล้องในการป้องกันโรคในภาวะชีวิตวิถีใหม่ (new normal)
ในการนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ได้เห็นถึงความสำคัญของการใช้นวัตกรรมนมผสมโพรไบโอติกส์ในการป้องกันฟันผุ จึงได้จัดทำโครงการโครงการนวัตกรรมใหม่ให้ลูกน้อยฟันดี ด้วยนม Probiotics ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ปีงบประมาณ 2565 ขึ้น เพี่อเป็นการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากให้เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดีในชีวิตวิถีใหม่ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเด็กปฐมวัยและเด็กก่อนวัยเรียน ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลสุขภาพตำบลพนางตุง ได้รับนมอัดเม็ดผสมโพรไบโอติกตามปริมาณและขนาดที่เหมาะสมต่อวันเป็นเวลา 4 เดือน

1.เด็กปฐมวัยและเด็กก่อนวัยเรียน ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพนางตุง ได้รับนมอัดเม็ดผสมโพรไบโอติกตามปริมาณและขนาดที่เหมาะสมต่อวันเป็นเวลา 4 เดือน ร้อยละ 100

0.00
2 2. เพื่อป้องกันการเกิดฟันผุใหม่ในฟันน้ำนมในเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและในเด็กก่อนวัยเรียนในโรงเรียน
  1. ป้องกันการเกิดฟันผุใหม่ในฟันน้ำนม ในเด็กในปฐมวัยในศูนย์เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนในโรงเรียน ร้อยละ 60
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 37,656.00 0 0.00
1 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 1. ตรวจสุขภาพช่องปากเด็กอายุ 2-6 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ก่อนการให้นมอัดเม็ดผสมโพรไบโอติก 0 144.00 -
1 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 2. ให้นมอัดเม็ดผสมโพรไบโอติกในเด็กอายุ 2-6 ปีในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน จำนวน 3 เม็ดต่อวัน 21 เม็ดต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 4 เดือน 0 36,288.00 -
21 มิ.ย. 65 3. สนับสนุนสื่อทันตสุขภาพเพื่อประชาสัมพันธ์ แก่ผู้ปกครอง เช่น แผ่นพับ ไวนิลโครงการ 0 1,224.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กอายุ 0-5 ปีได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมสู่สุขภาพ 3 ดี (สูงดีสมส่วน ฟันไม่ผุ พัฒนาการสมวัย)
    1. ผู้ปกครองและภาคีเครือข่ายสุขภาพในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพเด็กสู่สุขภาพ 3 ดี
    2. ลดอัตราการเกิดฟันผุอย่างน้อยร้อยละ 2 ต่อปี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2565 16:18 น.