กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเข้าสุนัตหมู่ในเยาวชนมุสลิมตำบลตาเนาะปูเต๊ะ
รหัสโครงการ 65-L8411-01-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ตาเนาะปูเต๊ะ
วันที่อนุมัติ 13 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2565 - 31 ตุลาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 49,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมารียะ สาเมาะแม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.355399858,101.3271073place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (การเข้าสุนัต) เป็นพิธีกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งของผู้ชายมุสลิมที่ทุกคนพึงปฏิบัติ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการการเอาใจใส่ในการรักษาสุขอนามัย ความสะอาดของอวัยวะเพศส่วนบุคคลตามหลักศาสนาอิสลาม หรือที่เรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า “การขลิบ” ซึ่งจะกระทำกับเด็กอายุระหว่าง        5 – 12 ปีโดยผู้นำศาสนา บิดามารดา หรือญาติพี่น้อง จะไปว่าจ้างผู้ที่มีความชำนาญ เพื่อประกอบพิธีทางศาสนา จากงานวิจัยพบว่าการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย สามารถลดความเสี่ยงโรคติดต่อทางเพศ เช่น ซิฟิลิส แผลริมอ่อน เอดส์ (HIV) และลดความเสี่ยงของมะเร็งองคชาติ ได้ร้อยละ 50 - 60 เนื่องจากผิวหนังบริเวณนี้ จะมีต่อมซึ่งจะสร้างสารที่เรียกว่า smegma คือคราบตะกรันที่เกาะตามอวัยวะเพศชาย ซึ่งเป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรีย และถ้าหากขลิบในวัยเด็ก ก็จะลดโอกาสเกิดการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะในเด็กได้ด้วยมุสลิมจึงได้มีการจัดทำพิธีสุนัตหมู่ เพื่อเป็นการทำนุบำรุงศาสนา การอนุรักษ์ การสืบสานธรรมเนียมประเพณีทางศาสนาอิสลามให้เด็กและเยาวชนมุสลิมได้เข้าสุนัตอย่างถูกต้องปลอดภัยและแบ่งเบาภาระการเข้าสุนัตของผู้ปกครอง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมตำบลทุ่งบุหลัง จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นการรณรงค์และสร้างความตระหนัก ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ นอกจากนี้ทำให้เด็กและเยาวชนมุสลิมในตำบลทุ่งบุหลังได้สามารถเข้าถึงบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคโดยเฉพาะโรคติดเชื้อ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์และสร้างความตระหนัก ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ

เกิดความตระหนักและเข้าใจในการดูแลดูแลสุขภาพและป้องกันโรคติดเชื้อ

2 เพื่อให้เด็กและเยาวชนมุสลิมในพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค

เด็กและเยาวชนสามารถเข้าถึงบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 90 49,600.00 2 49,600.00
26 ต.ค. 65 กิจกรรมบรรยายความรู้ในการเข้าสุนัตและดูแลสุขภาพ (การป้องกันโรคติดต่อ) 60 10,600.00 10,600.00
27 ต.ค. 65 กิจกรรมการขลิบปลายหนังหุ้มอวัยวะเพศชาย 30 39,000.00 39,000.00
  1. ขั้นตอนการวางแผน
    • ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินโครงการ

- แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนโครงการ
- ประสานดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง - ประชาสัมพันธ์ ลงพื้นที่สำรวจและรับสมัครเด็กและเยาวชนมุสลิมเข้าร่วมโครงการ
2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตาเนาะปูเต๊ะ
3. ขั้นตอนการดำเนินงาน
- จัดกิจกรรมบรรยายความรู้ในการเข้าสุนัตหมู่และการดูแลสุขภาพ (การป้องกันโรคติดต่อ)
  - กิจกรรมเข้าสุนัตหมู่ (ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย) 4. ประเมินผลการดำเนินงาน
5. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนโครงการส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตาเนาะปูเต๊ะ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กและเยาวชนมุสลิมได้รับการทำสุนัต (ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย) อย่างถูกต้องปลอดภัย
  2. เด็กและเยาวชนมุสลิมที่ได้รับการทำสุนัต สามารถลดภาวะเสี่ยงของการเกิดโรคติดต่อทางเพศได้
  3. เด็กและเยาวชนมุสลิมมีความตระหนัก ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2565 11:05 น.