กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพและภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัย
รหัสโครงการ 65-L1512-03-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลคลองปาง
วันที่อนุมัติ 22 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวลักณา รักราวี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองปาง อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.987,99.645place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กในช่วงแรกเกิด - 6 ขวบ ถือเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจและสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม ก็จะส่งผลถึงสุขภาพดีไม่เจ็บป่วย ซึ่ง การรับประทานอาหารที่ถูกต้อง เหมาะสม และเพียงพอจะทำให้มีโภชนาการดีและนำไปสู่การมีสุขภาพดี ในทาง ตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหารหรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วนหรือโภชนาการเกิน "โภชนาการ" จึงเป็นเรื่องของการกินอาหาร ที่ร่างกายเรานำสารอาหารจากอาหารไปใช้ประโยชน์ และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ โดยเฉพาะในเด็กวัยก่อนเรียนซึ่งเป็นวัยรากฐานของการพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา ปัญหาโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้คือ ภาวะการเจริญเติบโตที่ไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กโดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง
        อาหารมีความสำคัญสำหรับทุกวัยโดยเฉพาะสำหรับเด็กวัยเรียนเป็นวัยที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโตเป็นช่วงเวลาที่สมองกำลังพัฒนาอาหารจึงมีความสำคัญอย่างมากสำหรับวัยนี้ ดังนั้นควรกินอาหารให้ครบทั้ง ๕ หมู่แต่ละหมู่ให้หลากหลายปริมาณให้เพียงพอเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอและเหมาะสมเพราะอาหารเป็นปัจจัยสำคัญต่อสติปัญญาและสุขภาพของเด็ก รวมทั้งพัฒนาการของเด็กเด็กที่กินอาหารครบ ๕ หมู่และมีความหลากหลายในปริมาณที่เหมาะสม มีภาวะโภชนาการที่ดี จะมีการเจริญเติบโตดีการพัฒนาของสมองดีเด็กจะฉลาดเรียนรู้เร็วมีความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นผลทำให้พัฒนาการของเด็กเหมาะสมตามวัยแต่ในทางตรงกันข้ามเด็กที่ได้รับอาหารไม่เพียงพอย่อมมีผลทำให้การพัฒนาของสมองไม่ดีไม่ฉลาดไม่อยากเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัวและเรียนรู้ช้าเป็นผลให้มีพัฒนาการไม่เหมาะสมตามวัย
        ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลคลองปาง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังการเกิดภาวะโภชนาการในเด็กเล็ก และก่อนวัยเรียนเพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย จึง ได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและโภชนาการเด็กปฐมวัย ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เฝ้าระวังการเกิดภาวะโภชนาการ การขาดสารอาหารในเด็ก

1.ความรู้ก่อน-หลังการเข้าร่วมอบรม

0.00
2 2. เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้มีความรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับการ ประกอบอาหารโดยใช้เกลือ ไอโอดีน

2.ผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ในการเลือกทำอาหารที่เหมาะสมต่อเด็กเล็ก

0.00
3 3. เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้สังเกตติดตามการ เปลี่ยนแปลง ทางด้านพัฒนาการการ เจริญเติบโตของเด็กเหมาะสมตามวัย

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการเพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลคลองปาง
  2. ติดต่อวิทยากรเพื่อบรรยายให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย
  3. เชิญผู้ปกครองซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องภาวะโภชนาการที่ดีและเหมาะสมตามวัยแก่ผู้ปกครองครู/ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ประกอบอาหาร
  4. ฝึกปฏิบัติในการจัดเมนูอาหารที่เหมาะสมตามวัย
  5. ดำเนินการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงเด็กเล็กทุก ๑ เดือน
  6. ดำเนินการเช่นนี้ไปจนครบ ๓เดือน
  7. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
  8. รายงานผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองเด็กปฐมวัยได้ติดตาม และเฝ้าระวังการเกิดภาวะโภชนาการ การขาด สารอาหารในเด็ก
๒. ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองเด็กปฐมวัยได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เกลือไอโอดีนในการ ประกอบ
  อาหาร และประโยชน์ของสารไอโอดีน
๓. ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองเด็กปฐมวัยได้สังเกตติดตามพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงด้านพัฒนาการการ
เจริญเติบโตของเด็กเหมะสมตามวัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2565 15:56 น.