กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ปี 2565
รหัสโครงการ 65-L6961-1-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
วันที่อนุมัติ 30 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 สิงหาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 63,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอริสมัน กริยา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 2800 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็กในกลุ่มเป้าหมาย ได้รับวัคซีนโปลิโอครบ 2 ครั้ง
90.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปี 2531 องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศที่จะกวาดล้างโปลิโอให้หมดไปจากโลก กระทรวงสาธารณสุข จึงกำหนดนโยบายที่จะกวาดล้างโปลิโอให้หมดไปจากทุกพื้นที่ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2537 จนถึงปัจจุบัน นับเป็นปีที่ 28 กลุ่มเด็กเป้าหมายได้รับวัคซีนในช่วงรณรงค์ด้วยผลความครอบคลุมในระดับสูงกว่าร้อยละ 95 มาตลอด อย่างไรก็ดี ในแต่ละปียังมีเด็กเกิดใหม่ รวมทั้งเด็กเล็กในกลุ่มแรงงานเคลื่อนย้ายอพยพทั้งที่เป็นเด็กไทยและเด็กต่างด้าว ที่พลาดโอกาสการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอตามระบบปกติ หรือยังได้รับวัคซีนไม่ครบถ้วนตามกำหนด ซึ่งนับเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อที่อาจแพร่ระบาดเข้ามาจากภายนอกประเทศได้ การระดมให้วัคซีนแก่เด็กกลุ่มเป้าหมายพิเศษ จึงเป็นกลวิธีสำคัญที่ช่วยลดโอกาสการเกิดโรค และการกลับมาระบาดใหม่ของโรคโปลิโอในประเทศไทย ใน พ.ศ. 2565 จึงกำหนดให้มีการรณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอเช่นทุกปี ทั้งนี้ เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบัน ปัญหาการระบาดข้ามประเทศจากประเทศที่ยังมีโรคโปลิโอเป็นโรคประจำถิ่นไปยังประเทศที่ปลอดจากโรคแล้ว เป็นปัญหาสำคัญที่ทุกประเทศต้องหาทางป้องกัน ขณะเดียวกัน ยังพบปัญหาการได้รับวัคซีนไม่ครบถ้วนในประชากรบางกลุ่ม บางพื้นที่ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อต่อไปภายในประเทศ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีภูมิต้านทานต่อโรคโปลิโอสูงเพียงพอที่จะป้องกันการแพร่เชื้อโปลิโอชนิดก่อโรคจากภายนอกเข้ามาในประเทศ รวมทั้งการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสวัคซีนโปลิโอ อันเนื่องจากระดับความครอบคลุมการได้รับวัคซีนอยู่ในระดับต่ำ โดยการให้วัคซีนโปลิโอเสริม 2 ครั้ง แก่เด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปี และเด็กต่างชาติอายุต่ำกว่า 15 ปี

เด็กในกลุ่มเป้าหมาย ได้รับวัคซีนโปลิโอครบ 2 ครั้ง ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ในทุกชุมชน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 63,000.00 2 63,000.00
1 ก.ค. 65 - 5 ส.ค. 65 ประชุมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมในการรณรงค์ ฯ แก่ผู้รับผิดชอบโครงการโรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาล ศูนย์สุขภาพชุมชน และ อสม. 0 1,500.00 1,500.00
17 ส.ค. 65 - 21 ก.ย. 65 รณรงค์หยอดวัคซีนโปลิโอ จำนวน 2 ครั้ง (ครั้งที่ 1 รณรงค์17 สิงหาคม 2565 ครั้งที่ 2 รณรงค์21 กันยายน 2565) 0 61,500.00 61,500.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถดำเนินการรณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอครบถ้วน โดยได้รับความร่วมมือสนับสนุนด้วยดีจากผู้ปกครอง อาสาสมัคร และหน่วยงานต่าง ๆ
  2. เสริมประสิทธิภาพมาตรการกวาดล้างโปลิโอ ในทุกพื้นที่ ตำบลสุไหงโก-ลก ซึ่งจะส่งผลให้สามารถกวาดล้างโรคโปลิโอให้หมดไปจากประเทศไทย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2565 12:48 น.