กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย เพื่อสุขภาพ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 23 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 มิถุนายน 2565 - 30 ธันวาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ธันวาคม 2565
งบประมาณ 93,890.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาลัชฎาวรรณ สุวรรณะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases : NCDs) หรือ กลุ่มโรควิถีชีวิต ได้แก่ เบาหวาน หัวใจ และหลอดเลือด และกลุ่มโรคมะเร็ง โดยพบว่าการขาดกิจกรรมทางกายส่งผลให้เกิดการเสียชีวิต ๓.๒ ล้านคน ต่อปี ของทั้งโลก ในประเทศไทย พบมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังถึงร้อยละ ๗๑ ของการเสียชีวิตทั้งหมด โดยการมีกิจกรรมทางกาย ไม่เพียงพอเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ๑๑,๑๑๙ ราย และเด็กไทยมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนที่ร้อยละ ๑๒.๕ ข้อมูลกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ ๒๕๖๒ พบอัตราป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ๒๐๖,๓๐๐ ราย พื้นที่อำเภอหาดใหญ่ พบอัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง รวม ๕๐,๙๗๑ ราย ในตำบลทุ่งตำเสา มีอัตราป่วยโรคความดันโลหิตสูง ๑๗๙ คน และโรคเบาหวาน ๒๘๕ คน (ระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจังหวัดสงขลา) และข้อมูลปี ๒๕๕๙ จังหวัดสงขลาพบสาเหตุการเสียชีวิต ๑๐ อันดับแรก เกิดจากโรค ไม่ติดต่อเรื้อรัง ประกอบกับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Covid ๑๙) ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.๒๕๖๓ ประเทศไทยได้มีข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๑-๔๒) และออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการ เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค ส่งผลให้การดำเนินชีวิตและการเข้าร่วมกิจกรรมของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป มีการขอความร่วมมือประชาชน ให้ประชาชนอยู่ในเคหสถาน ตามแนวคิด “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคอย่างเคร่งครัด โดยเน้นการเว้นระยะห่างทางสังคม ในทุกกิจกรรม ประชาชนมีพฤติกรรมการออกกำลังกายเปลี่ยนแปลงไป มีการออกกำลังกายน้อยลง ซึ่งรวมถึงประชาชนในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสาเช่นกัน     การออกกำลังกายถือเป็นกิจกรรมที่สำคัญของคนทุกเพศทุกวัย เป็นการดูแลสุขภาพและทำให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง การส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายหรือกิจกรรมทางกายของประชาชน ให้มีสุขภาพที่ดี โดยการสร้างเสริมสุขภาพที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านนโยบาย ด้านสิ่งแวดล้อม และสร้างความเข้มแข็งของชุมชน สามารถผลักดันการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม ให้ประชาชนหันมาสนใจการมีกิจกรรมทางกายเพิ่มมากขึ้น เพราะการออกกำลังกายหรือมีกิจกรรมทางกาย ส่งผลดีต่อสุขภาพหลากหลายด้าน ได้แก่ ทางด้านร่างกาย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบปอดและระบบไหลเวียนโลหิต เพิ่มประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อเอ็น และข้อต่าง ๆในร่างกาย เพิ่มประสิทธิภาพของระบบประสาท ทางด้านจิตใจช่วยผ่อนคลายและลดความเครียด สร้างความเชื่อมั่นให้ตัวเอง สร้างความสนุกสนานและทำให้มีทัศนคติที่ดีต่อร่างกาย และทางด้านสังคม ทำให้มีเพื่อนใหม่ๆสังคมใหม่ โดยปีพ.ศ. 2564 สำนักงานส่งเสริมสุขภาพ แนะนำให้ประชาชนเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายด้วยวิดีทัศน์ ชุดความรู้จังหวะไทย จังหวะหัวใจ ซึ่งเป็นวิดีทัศน์สอนการมีกิจกรรมทางกายด้วยเพลงไทยประกอบท่าเต้น ซึ่งสนุกสนานและได้สุขภาพดี ส่วนปัจจัยแห่งความสำเร็จของกลุ่มออกกำลังกายต่าง ๆที่ทำให้กลุ่มเข้มแข็งและมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่องคือ การมีผู้นำกลุ่ม/ชมรม ที่มีความมุ่งมั่น มีความรู้ ความสามารถ ในเรื่องการออกกำลังกายที่ดี มีความเสียสละ มีความเป็นผู้นำ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทุ่มเทแรงกายและแรงใจในการจัดกิจกรรมต่าง ๆของชมรมฯสามารถโน้มน้าวจิตใจให้สมาชิกให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆของชมรมได้ (นิตยา เพ็ญศิณนภา,๒๕๕๓) รวมถึงการสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่าย เพื่อเพิ่มศักยภาพแกนนำในชุมชนให้มีศักยภาพในการถ่ายทอด การส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายสู่ชุมชนและประชาชนในรูปแบบการเป็นผู้นำออกกำลังกาย ช่วยส่งผลให้การสร้างเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายในชุมชนมีความยั่งยืน และแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๗๓ ยุทธศาสตร์ ๒ การส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย กำหนดบทบาทและแนวทางการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย ให้ตอบสนองความต้องการของชุมชน โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้กับประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ สนับสนุนการจัดกิจกรรมและสถานที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ มาตรา ๕๔ เทศบาลเมืองอาจจัดทำกิจกรรม ซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๑๖ กำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะของเทศบาล (๑๙) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล และเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๗๓ ยุทธศาสตร์ ๒ การส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย งานส่งเสริมสุขภาพ ฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา จึงจัดทำโครงการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชนในการเป็นผู้นำการออกกำลังกาย เพื่อส่งเสริมและขับเคลื่อนให้ประชาชนในชุมชนมีกิจกรรมทางกาย โดยมีรูปแบบการออกกำลังกายที่หลากหลาย ปฏิบัติได้ง่าย ไม่น่าเบื่อ สร้างความสนุกสนาน ผ่อนคลายจากความเครียด ที่เกิดขึ้นจากการทำงานในชีวิตประจำวัน และเพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของประชาชนในพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้นำออกกำลังกายหรือกิจกรรมทางกายในชุมชน ๒.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีกิจกรรมทางกาย เพื่อสุขภาพ ๓. เพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย

๑. ผู้นำออกกำลังกายที่ผ่านการอบรม สามารถเป็นผู้นำในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายแก่ประชาชนในพื้นที่ มากกว่าร้อยละ ๘๐ ๒. คะแนนความพึงพอใจต่อกิจกรรมโครงการมากกว่าร้อยละ ๘๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65
1 ประชุมคณะทำงานฯ อสม.แกนนำหลักในการออกกำลังกาย และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินโครงการ(27 มิ.ย. 2565-30 มิ.ย. 2565) 1,250.00              
2 จัดกิจกรรมฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพผู้นำการออกกำลังกายในชุมชน(1 ก.ค. 2565-29 ก.ค. 2565) 21,900.00              
3 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำออกกำลังกาย(1 ก.ค. 2565-30 ก.ย. 2565) 56,400.00              
4 ส่งเสริมผู้นำ/แกนนำจัดกิจกรรมทางกาย(1 ส.ค. 2565-30 ธ.ค. 2565) 6,500.00              
5 จัดกิจกรรมมหากรรมสร้างเสริมสุขภาพตำบลทุ่งตำเสา(1 ธ.ค. 2565-30 ธ.ค. 2565) 7,840.00              
รวม 93,890.00
1 ประชุมคณะทำงานฯ อสม.แกนนำหลักในการออกกำลังกาย และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 1,250.00 0 0.00
27 - 30 มิ.ย. 65 ประชุมคณะทำงานฯ อสม.แกนนำหลักในการออกกำลังกาย และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินโครงการ 50 1,250.00 -
2 จัดกิจกรรมฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพผู้นำการออกกำลังกายในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 21,900.00 0 0.00
1 - 29 ก.ค. 65 จัดกิจกรรมฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพผู้นำการออกกำลังกายในชุมชน 50 21,900.00 -
3 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำออกกำลังกาย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 56,400.00 0 0.00
27 มิ.ย. 65 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำออกกำลังกาย 50 56,400.00 -
4 ส่งเสริมผู้นำ/แกนนำจัดกิจกรรมทางกาย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 500 6,500.00 0 0.00
1 ส.ค. 65 - 30 ธ.ค. 65 ส่งเสริมผู้นำ/แกนนำจัดกิจกรรมทางกาย 500 6,500.00 -
5 จัดกิจกรรมมหากรรมสร้างเสริมสุขภาพตำบลทุ่งตำเสา กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 7,840.00 0 0.00
1 - 30 ธ.ค. 65 จัดกิจกรรมมหากรรมสร้างเสริมสุขภาพตำบลทุ่งตำเสา 100 7,840.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. หมู่บ้านในตำบลทุ่งตำเสา มีผู้นำในการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย/ออกกำลังกายประจำทุกหมู่บ้าน ๒. ประชาชนตำบลทุ่งตำเสา มีกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่อง เพิ่มมากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2565 11:01 น.