กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังสารปนเปื้อนในอาหาร
รหัสโครงการ 65-L1485-1-28
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำปลอก
วันที่อนุมัติ 23 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2565 - 31 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2565
งบประมาณ 12,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอนงค์นุช อ่อนเกตุพล ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ รพ.สต.บ้านลำปลอก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 53 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานอาหารไทย ตลอดจนการดำเนินการพัฒนาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลอาหารที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงต้องมีการปรับปรุงและยกระดับมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารสำหรับสถานที่ต่างๆ เช่น ตลาด ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารโรงอาหารในโรงเรียน เพื่อให้สถานที่ต่างๆได้มาตรฐานตามที่กำหนด อันจะทำให้ประชาชนมีความปลอดภัยจากการบริโภคอาหารเพิ่มขึ้น ในส่วนของการดำเนินงานในเรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร รัฐบาลมอบให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินโครงการอาหารปลอดภัย เพื่อดูแลมาตรฐานอาหารในประเทศไทย ให้ได้มาตรฐานสากล เนื่องจากอาหารที่วางจำหน่ายในท้องตลาด ปัจจุบันยังมีการปนเปื้อนของสารต้องห้าม อันอาจก่อให้เกิดโรคต่างๆมากมาย อาทิ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคไต ซึ่งปัจจุบันได้มีมาตรการต่างๆ เพื่อตรวจสอบมาตรฐานอาหารที่จำหน่ายในท้องตลาด เช่น การตรวจสารปนเปื้อนในอาหารสดที่วางจำหน่ายในตลาดของหมู่บ้าน การตรวจสอบมาตรฐานร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร รวมถึงการสร้างเครือข่ายในการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารในภาคประชาชน เป็นต้น
ดังนั้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำปลอก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในงานด้านอาหารและร้านขายของชำ จึงได้จัดทำโครงการขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านอาหารปลอดภัยของนโยบายกระทรวงสาธารณสุข และสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และการสร้างภาคีเครือข่ายในการพัฒนางานด้านอาหารปลอดภัย ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และรักษาคุณภาพด้านอาหาร เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคในพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ชุมชนมีกระบวนการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพอาหาร

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหารสดมีความรู้ ความเข้าใจในการเลือกซื้อและจำหน่ายอาหารสดที่สะอาดปลอดภัย

 

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย ปราศจากสารปนเปื้อน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ
2.1 สำรวจข้อมูล แผงลอย ร้านอาหาร และร้านขายของชำ ในพื้นที่เขตรับผิดชอบ       2.2 จัดทำโครงการ เสนอเพื่อพิจารณา       2.3 จัดทำแผนการดำเนินงานตามโครงการ ในการออกติดตาม ตรวจสอบและพัฒนาร้านชำ ร้านอาหาร และแผงลอย       2.4 ดำเนินการตามโครงการ         2.4.1 จัดอบรมความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย และฝึกการใช้ชุดตรวจสอบผลิตภัณฑ์         2.4.2 แกนนำร่วมกับ จนท.รพ.สต.ลำปลอกที่ผ่านการอบรมออกสุ่มเก็บอาหารตรวจและให้คำแนะนำ ในพื้นหมู่บ้านที่รับผิดชอบ         2.4.3 ตรวจแนะนำร้านชำ ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ปรับปรุงและพัฒนาด้านสุขาภิบาล ให้ได้ตามมาตรฐาน
  โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 2.5 สรุป/ประเมินผลการดำเนินงาน และนำเสนอผลการดำเนินงาน แนวทางการพัฒนา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

(1) ชุมชนมีกระบวนการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพอาหาร   (2) ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหารสด มีความรู้ ความเข้าใจในการเลือกซื้ออาหารสดปลอดภัยมาจำหน่ายในชุมชน   (3) ประชาชนในพื้นที่ได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยไร้สารปนเปื้อน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2565 09:32 น.