กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขด้านโรคที่ระบาดหรือภัยภิบัติ ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองปาดังเบซาร์
รหัสโครงการ 61-L5249
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์
วันที่อนุมัติ 22 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ตุลาคม 2560 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 33,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวทัศนีย์ศรีญาณลักษณ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.74,100.241place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์อำเภอสะเดาจังหวัดสงขลาพ.ศ. 2557หมวดที่1 บททั่วไปข้อ 7 (5) กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ให้คณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น เหมาะสม และทันต่อสถานการณ์ได้ เนื่องจากโรคระบาดหรือภัยพิบัติเป็นภัยคุกคามที่เกิดขึ้นในมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นโรคติดเชื้อชนิดใหม่โรคติดเชื้อกลายพันธุ์โรคติดเชื้อที่พบในพื้นที่ใหม่รวมทั้งโรคอุบัติซ้ำซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นในอดีตและสงบไปแล้วกลับมาระบาดใหม่เนื่องจากยุคโลกาภิวัฒน์หรือยุค Globalizationซึ่งมีปัจจัยมากมายในการส่งเสริมหรือเป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้เกิดโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ และมีการระบาดอย่างรวดเร็วเช่น การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและพฤติกรรมความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการรบกวนธรรมชาติและระบบนิเวศการเดินทางที่สะดวกรวดเร็วเหล่านี้ล้วนมีส่วนในการทำให้เกิดโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ มากมายเช่นโรค SARS, H5N1,Ebola Dis,Nipah viral Disเป็นต้น
ปัญหาดังกล่าวนอกจากเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพด้านร่างกาย จิตใจและสังคมแล้วยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจการเมืองทำให้เกิดความโกลาหลของประชาชนในพื้นที่เกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่มีหน้าที่ในการเฝ้าระวังป้องกัน และแก้ไขปัญหาจำเป็นจะต้องเตรียมการในเรื่องดังกล่าวให้ทันต่อเหตุการณ์หรือสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นแต่เนื่องจากโรคระบาดหรือภัยพิบัติไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้จึงจำเป็นจะต้องจัดเตรียมงบประมาณบุคลากรและเครื่องมือเพื่อใช้ในการดำเนินงานดังกล่าวถ้าหากมีความจำเป็นในการดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันและแก้ไขปัญหา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สามารถไปดำเนินการ/เฝ้าระวังป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคระบาดหรือภัยพิบัติได้ทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ

สามารถประสานงานทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) เข้ามาดำเนินการควบคุมโรคในพื้นที่ภายใน24 ชั่วโมง

2 เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคหรือภัยพิบัติให้อยู่ในวงจำกัดรวมทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT)

ควบคุมโรคระบาดหรือภัยพิบัติได้ในวงจำกัดและไม่มีการระบาดเพิ่มมากขึ้น

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ดำเนินโครงการในกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่โดยประสานทีมSRRT อำเภอสะเดาและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการ 2.จัดประชุมทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (SRRT)และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 3.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินงาน 4.ทีมดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ 5.ประชุมทีม SRRT เพื่อสรุปการดำเนินงานและประเมินผลการดำเนินการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนในพื้นที่ระบาดหรือภัยพิบัติสามารถรู้จักป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคระบาดหรือภัยพิบัติได้อย่างถูกต้อง

2.ลดอัตราการป่วยหรือตายจากโรคระบาดหรือภัยพิบัติ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2560 15:15 น.