กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการเฝ้าระวังการตั้งครรภ์ภาวะเสี่ยงสูงในหญิงตั้งครรภ์ ปี 2565
รหัสโครงการ 65-L2481-5-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสะท้อน
วันที่อนุมัติ 20 พฤษภาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปิยุกฤษฏ์ ทองบุญ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะสะท้อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.22,102.059place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 17,250.00
รวมงบประมาณ 17,250.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานอนามัยแม่และเด็กเป็นบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่มีความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพของประชากร ซึ่งเริ่มตั้งเเต่การเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ การดูแลระหว่างตั้งครรภ์ และการดูแลหลังคลอด เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดมีคุณภาพ (ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย) มารดาและทารกปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และมีคุณภาพสมบูรณ์แข็งเเรงปัญหางานอนามัยแม่เเละเด็กที่สำคัญและเด่นชัด คือ การมาฝากครรภ์ช้า (อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์) มีภาวะซีดขณะตั้งครรภ์ มารดาตั้งครรภ์มีภาวะเสี่ยง 5 โรค (ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, หัวใจ, หอบหืด และไทรอยด์ เป็นต้น) และนอกจากนี้ พบว่ามารดาหลังคลอดส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ด้านการวางแผนครอบครัวหรือการคุมกำเนิด   จากผลการดำเนินงานอนามัยแม่เเละเด็กของโรงบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสะท้อน ปี 2556 พบว่า อัตราภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ ร้อยละ 28.92 (เกณฑ์เป้าหมายกำหนดไม่เกินร้อยละ 10) ซึ่งหากหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางจะส่งผลกระทบทั้งมารดาและทารกในครรภ์ อาจทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนด คลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม พัฒนาการล่าช้า มารดาตกเลือดเเละติดเชื้อหลังคลอด และนอกจากนี้ยังพบมารดาตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น เช่นร้อยละ 1.20 เป็นต้น จากข้อมูลดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสะม้อน จึงได้จัดทำโครงการ ส่งเสริมการเฝ้าระวังการตั้งครรภ์ภาวะเสี่ยงสูงในหญิงตั้งครรภ์ ปี 2565 ขึ้น เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ สามีและญาติ หญิงวัยเจริญพันธ์ุที่คาดว่าจะมีบุตรอีกมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลตนเองในขณะตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงโดยเฉพาะหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่อยู่กินสามีที่มีโรคประจำตัวด้วยโรคต่างๆได้มีความรู้ในการดูแลตนเองและเลือกวิธีคุมกำเนิดที่ถูกต้องต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด ได้อย่างมีคุณภาพ

หญิงตั้งครรภ์ มีความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดเพิ่มขึ้นร้อยละ 80

2 เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง ไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์

หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงทุกคน ได้รับการเฝ้าระวัง ป้องกัน ไม่ให้เกิอาการเเทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ร้อยล่ะ 100

3 อาสาสมัครสาธารณสุข สามารถประเมินภาวะผิดปกติของหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด สามารถส่งต่อทันท่วงที

หญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด ที่มีภาวะผิดปกติ ที่ได้รับการประเมินจากอาสาสมัครสาธารณสุข ได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง ร้อยละ 100

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 150 17,250.00 0 0.00
1 เม.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 โครงการส่งเสริมการเฝ้าระวังการตั้งครรภ์ภาวะเสี่ยงสูงในหญิงตั้งครรภ์ ปี 2565 150 15,000.00 -
1 เม.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 โครงการส่งเสริมการเฝ้าระวังการตั้งครรภ์ภาวะเสี่ยงสูงในหญิงตั้งครรภ์ ปี 2565 0 2,250.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.หญิงตั้งครรภ์ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปฏิบัติตัวขณะตั้งครรณ์ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการดูแลตนเองและลูกน้อยในครรภ์ได้อย่างมีคุณภาพ 2.หญิงตั้งครรภ์มีภาวะเสี่ยง ได้รับการเฝ้าระวังป้องกัน ไม่เกิดอาการแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ 3.อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพมารดาและทารกหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง สามารถประเมินภาวะผิดปกติและส่งต่อทันท่วงที

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2565 10:50 น.