กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดโรค ลดเสี่ยงหลีกเลี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 65-L5267-02-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธาน อสม. หมู่ที่ 5
วันที่อนุมัติ 28 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 13,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางหิรัญญา ศิริพงศ์
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวบุญญาพร คงเอียง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลป่าขาด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.241,100.469place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นสาเหตุของการตายและความทุพลภาพที่สำคัญ เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว ไตวาย หลอดเลือดสมองแตก หลอดเลือดแดงส่วนปลายตีน อัมพาตประสาทตาเสื่อม (คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,๒๕๕๘) ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงกำหนดแนวทางในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงสำหรับประชาชนทั่วไปดังนี้ จำกัดปริมาณเกลือและโซเดียม ในอาหาร ไม่เกินวันละ ๒ กรัม เทียบเท่ากับเกลือแกง ๑ ช้อนชา งดสูบบุหรี่หรือหลีกเลี่ยงการสูดควันบุหรี่ และงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ควบคุมน้ำหนักให้มีค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ ๑๘.๕ - ๒๒.๕ กก./ตร.ม. และมีเส้นรอบ เอวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน สำหรับคนไทย คือ ผู้ชายไม่เกิน ๙๐ ซม. (๓๖ นิ้ว) และสำหรับผู้หญิงไม่เกิน ๘๐ ซม.(๓๒ นิ้ว) เพิ่มกิจกรรมทางกายหรือการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควรออกกำลังกายแบบแอโรบิก อย่างน้อย สัปดาห์ละ ๕ วัน วัดความดันโลหิตเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง (อภิชาตและคณะ, ๒๕๕๘)จากความสำคัญต่อระบบการสาธารณสุขของโรคความดันโลหิตสูงดังกล่าวข้างต้น นักศึกษาพยาบาลศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสงขลา
ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลป่าขาด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่าขาด ได้ร่วมกันทำเวทีประชาคมสุขภาพกับชาวบ้าน หมู่ที่ ๕ ตำบลป่าขาด อ.สิงหนคร จ.สงขลา ผลจากการทำเวทีประชาคมทำให้เห็นความสำคัญและตระหนักถึงการแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จึงได้จัดทำโครงการ "ลดโรค ลดเสี่ยง หลีกเลี่ยงโรคเบาหวานและความ ดันโลหิตสูง เพื่อให้ผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มเสียง และประชาชนในหมู่บ้าน มีความรู้ในการป้องกันและดูแลตนเอง ลดโอกาสในการเกิดภาวะแทรกซ้อนและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง ร้อยละ 60

 

0.00
2 2.ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมกับโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงร้อยละ 60

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ เตรียมความพร้อมของนักศึกษาและตัวแทนชุมชน -ประชุมปรึกษา ทำความเข้าใจแผนงาน และจักทำโตรงการร่วมกัน -แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการ หมู่ที่ 5 ตำบลป่าขาด จัดทำโครงการ -จัดทำกิจกรรมตามโครงการที่ผ่านเวทีประชาคมหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 ตำบลป่าขาด ดังนี้ - กิจกรรมคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง (นอกเหนือจากกลุ่มเป้าหมายของรพ.สต.บ้านสว่างอารมณ์) โดย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสว่างอารมณ์ ตำบลป่าขาด กิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้ และจัดเวทีแลกเปลี่ยน เรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงที่ส่งผลต่อตุภาพและ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โดย โรงพยาบาลส่งเริมสุขภาพตำบลบ้านสว่างอารมณ์ ตำบลป่าขาดและ โรงพยาบาลสิงหนคร (ครั้งที่ ๑) - กิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกาย เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ชุทชนชาวบ้านหมู่ที่ 5 ตำบลป่าขาด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดอุบัติการณ์การเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ(Non-communicable disease) ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2565 11:11 น.