กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังภาวะโรคโลหิตจางในเด็กอายุ 6 -12 เดือน ตำบลตะโละกาโปร์
รหัสโครงการ 65-50110-01-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละกาโปร์
วันที่อนุมัติ 24 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2565 - 30 ธันวาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ธันวาคม 2565
งบประมาณ 79,175.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนิลิลลา ยอดวารี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.872,101.43place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2565 30 ธ.ค. 2565 79,175.00
รวมงบประมาณ 79,175.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โลหิตจางหรือภาวะซีด (anemia) เป็นปัญหาทางโลหิตวิทยาที่พบบ่อยในเด็ก โดยเฉพาะภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก คือ ภาวะที่ร่างกายมีการขาดหรือพร่องธาตุเหล็กซึ่งทำให้มีปริมาณธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ที่จะนำไปสร้างเม็ดเลือดแดงได้เป็นผลให้ร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดแดงหรือความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเลือดต่ำกว่าปกติ จะพบว่ามีอาการซีดของเล็บและเปลือกตาด้านในด้วย จากการสำรวจภาวะโภชนาการของเด็กไทยอายุ 6 เดือน – 12 ปี ระหว่าง ปี พ.ศ.2553-2555 ภายใต้โครงการ South East Asia Nutrition Survey (SENUTS) เด็กไทยกลุ่มปฐมวัยมีความชุกโลหิตจางสูงในเขตชนบทถึงร้อยละ 41.7 ในขณะที่เด็กในเขตเมืองพบความชุกของโลหิตจางร้อยละ 26 นอกจากนี้โลหิตจางยังเป็นหนึ่งในสาเหตุ 5 อันดับแรกที่ส่งผลต่อสุขภาวะของเด็กไทย โลหิตจางในเด็กมีสาเหตุหลักมาจาก 1) สาเหตุจากการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ในขณะที่ร่างกายเด็กกำลังเจริญเติบโตจึงต้องการธาตุเหล็กมากขึ้น 2) สาเหตุจาก การเสียเลือดอาจเกิดเฉียบพลัน เช่น เลือดออกจากแผลอุบัติเหตุต่าง ๆ หรือจากเลือดออกเรื้อรัง เช่น พยาธิปากขอ มีแผลใน กระเพาะอาหาร เป็นต้นทั้งนี้ การขาด/พร่องธาตุเหล็กเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดที่ก่อให้เกิดโลหิตจางในเด็ก และเป็นภาวะที่พบบ่อยที่สุด ในบรรดาภาวะขาดสารอาหาร ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงธาตุเหล็กมีมากในสมอง เป็นส่วนประกอบของ myelin sheath, neurotransmitters และมีส่วนสำคัญในการป้องกันเชื้อโรค เด็กทุกคนมีโอกาสเกิด “ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก” กันได้ทั้งนั้น ในเด็กไทยทุก 100 คน จะตรวจพบโรค โลหิตจางสูงถึง 30 คน อาการที่พบเห็นได้ทั่วไป คือ เด็กจะมีอาการอ่อนเพลียง่าย เหนื่อยง่าย เวียนศีรษะ พัฒนาการล่าช้า จิตใจและพฤติกรรมเซื่องซึม ไม่อยากอาหาร ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย มีปัญหาด้านการเจริญเติบโต มีปัญหาด้านการเรียน ขาดความสนใจและสมาธิในการเรียน สติปัญญาด้อยลง ไอคิวต่ำกว่าเกณฑ์ ผลการเรียนแย่ลง เด็กๆควรได้รับการเจาะเลือดเพื่อดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ในช่วงอายุ 6 - 12 เดือน ดังนั้นควรมีการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ให้การป้องกันในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจาง และให้การรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เพราะหากปล่อยไว้อาจมีความรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด จากสถานการณ์ของตำบลตะโละกาโปร์ ในปี 2565 ที่ผ่านมา ได้รับการตรวจจากศูนย์อนามัยที่ 12 จากการเจาะเลือดเพื่อดูค่าสารสีแดงในเซลล์เม็ดเลือดแดง (Hemoglobin) ในเด็กอายุ 6-12 เดือน จำนวน 24 ราย โดยใช้เครื่องตรวจ Hemo cue พบภาวะโลหิตจาง จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 58.33 (เกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 20)

ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละกาโปร์ จึงได้เล็งเห็นปัญหาทางด้านสุขภาพ จึงจัดทำโครงการ “เฝ้าระวังภาวะโรคโลหิตจางในเด็กอายุ 6-12 เดือน” ขึ้นมา เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจส่งผลต่อการเรียนรู้      ของเด็กและดูแลแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางในเด็กตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อให้เด็กตำบลตะโละกาโปร์ มีสุขภาพดีปราศจากภาวะโลหิตจาง พร้อมสำหรับการเรียนรู้ในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 6-12 เดือน

เด็กอายุ 6-12 เดือน ได้รับการคัดกรองร้อยละ 80

0.00
2 เด็กที่ตรวจพบภาวะโลหิตจางได้รับการรักษาและส่งต่อ

เด็กอายุ 6-12 เดือน มีภาวะโลหิตจาง ไม่เกินร้อยละ 20

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 265 79,175.00 3 0.00
1 ก.ค. 65 - 30 ธ.ค. 65 กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานและให้ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับการเฝ้าระวังโรคโลหิตจาง ในเด็ก แก่อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตะโละกาโปร์ จำนวน 65 คน 65 8,075.00 0.00
1 ก.ค. 65 - 30 ธ.ค. 65 กิจกรรมที่ 2 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องภาวะโลหิตจางในเด็ก และสาธิตเมนูอาหารที่เพิ่มธาตุเหล็ก แก่ผู้ปกครองเด็ก จำนวน 100 คน และเจาะเลือดเด็กจำนวน 100 คน 200 65,850.00 0.00
1 ก.ค. 65 - 30 ธ.ค. 65 กิจกรรมที่ 3 ติดตามผล Hemoglobin กลุ่มที่มีภาวะโลหิตจาง โดยอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในรายที่มีภาวะโลหิตจางซ้ำ ส่งต่อพบแพทย์เพื่อรับการรักษาต่อไป 0 5,250.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กอายุ 6-12 เดือน ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโลหิตจาง และได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก
  2. ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูแลและป้องกันภาวะโลหิตจางในเด็ก
  3. เด็กที่ตรวจพบภาวะโลหิตจางได้รับการรักษาติดตามและส่งต่อ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2565 10:10 น.