กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหญิงตั้งครรภ์ยุคใหม่ ห่างไกลภาวะซีด ปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-L5191-02-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.ตาแปด
วันที่อนุมัติ 15 สิงหาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 สิงหาคม 2565 - 30 ธันวาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ธันวาคม 2565
งบประมาณ 46,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพรรณี ดวงมะลิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 6 ก.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 46,500.00
รวมงบประมาณ 46,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 56 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
58.00
2 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ได้รับการคัดกรองและป้องกันโรคทาลัสซีเมีย
70.00
3 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการคัดกรองและป้องกันภาวะโลหิตจาง
70.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การตั้งครรภ์เป็นระยะพัฒนาการที่สำคัญของครอบครัว โดยเฉพาะการตั้งครรภ์ครั้งแรกการตั้งครรภ์ทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งในด้านกายวิภาค ชีวเคมี และสรีรวิทยาการเปลี่ยนแปลงนี้ดำเนินไปตลอดการตั้งครรภ์และร่างกายจะมีการปรับตัวอย่างมากมายกับ การเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆของร่างกายที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสลับซับซ้อนสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพแวดล้อม เพื่อเตรียมสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอด นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์ ยังต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคม เช่น บทบาทหน้าที่ ภาพลักษณ์ สัมพันธภาพกับครอบครัว เป็นต้น ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์เป็นปัญหาด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่สำคัญปัญหาหนึ่งที่พบในทุกภูมิภาคของประเทศโดยเกิดขึ้นต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และเป็นสาเหตุการตายของมารดาและทารกที่พบบ่อย จากการศึกษาพบว่าสาเหตุการตายของดามีความสัมพันธ์กับการมีภาวะโลหิตจางร่วมด้วยถึงร้อยละ ๔๐ (ธีระ ทองสงและชเนนทร์ วนาภิรักษ์:๒๕๓๕ ) ซึ่งสาเหตุของการเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กจะส่งผลกระทบต่อหญิงตั้งครรภ์โดยในช่วงแรกทำให้อัตราการตายของมารดาและทารกระหว่างการคลอดสูง การตั้งครรภ์จะทำให้เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดและทารกแรกเกิดคลอดน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ นอกจากนี้ยังส่งผลทำให้เด็กที่เกิดมามีพัฒนาการทางสมองลดลง เกิดผลเสียต่อการเรียนรู้ ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์นั้นเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุด อุบัติการณ์พบได้สูงถึงร้อยละ ๓๐ ในบางพื้นที่ (WHO 1989)ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.ตาแปด จึงได้จัดทำโครงการป้องกันภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ขึ้น เพื่อลดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ ตลอดจนหญิงตั้งครรภ์มีความรู้ที่ถูกต้องในการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ เพื่อคุณภาพชีวิตของมารดาที่มีความสำคัญต่อทารกที่จะเป็นเยาวชนของชาติโดยมุ่งเน้นให้ภาคีเครือข่าย มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาชุมชนด้วยตนเอง อันจะก่อให้เกิดความยั่งยืนของโครงการต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ (เพิ่มขึ้น)

58.00 80.00
2 เพื่อป้องกันโรคทาลัสซีเมีย

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่ ได้รับการคัดกรองและป้องกันโรคทาลัสซีเมีย เพิ่มขึ้น

70.00 90.00
3 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการคัดกรองและป้องกันภาวะซีดเพิ่มขึ้น

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการคัดกรองและป้องกันภาวะโลหิตจางเพิ่มขึ้น

70.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 46,500.00 0 0.00
8 ส.ค. 65 อบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์ สามี ครอบครัว จำนวน 112 คน 0 28,500.00 -
15 ส.ค. 65 - 30 ธ.ค. 65 อบรมเชิงปฏิบัติการสาธิตการทำอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง+ติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ที่บ้านโดยภาคีเครือข่าย 0 18,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อัตราโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ไม่เกินร้อยละ 10 2.การจัดบริการให้สามีเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพมารดาและบุตรทำให้สามีมีความภาคภูมิใจที่มีส่วนทำให้ลูกในครรภ์มีความปลอดภัย และพึงพอใจในบริการมากขึ้น
3. ความรักในครอบครัวที่มีต่อหญิงตั้งครรภ์นำพาให้เกิดความมือแก้ไขภาวะแทรกซ้อนอย่างจริงจัง โดยสามีเป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหาทำให้หญิงตั้งครรภ์มีความปลอดภัยมากขึ้น
4. ความรักในครอบครัวเสริมแรงให้หญิงตั้งครรภ์ สนใจดูแลสุขภาพตนเอง เพื่อลูกในครรภ์ คลอดปลอดภัย
5. เครือข่าย อสม.มีความเข้มแข็งและสนับสนุนการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก อันส่งผลให้มารดาและทารก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2565 00:00 น.