กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรู้ทันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงห่างไกลภาวะแทรกซ้อน
รหัสโครงการ 65-L2515-1-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านบาโงกือเต๊ะ
วันที่อนุมัติ 21 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 1 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนาอีม๊ะ เจะเลาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสามัคคี อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.423,101.587place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15,000.00
รวมงบประมาณ 15,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 75 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถิติผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีจำนวนสูงมากขึ้น ซึ่งจัดเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศไทย หากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมอาการของโรคได้ นำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขึ้นมีโอกาสเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้น 3-4 เท่าและโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น 3-8 เท่า และผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลต่ำกว่าปกติมีโอกาสเสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น ขณะที่รายที่มีระดับน้ำตาลสูงกว่าปกติมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อวัยวะต่างๆ ของร่างกายเพิ่มขึ้น อาทิ ความเสื่อมสภาพของหลอดเลือดสมอง หัวใจ ตา ไต และเท้า เป็นต้น ซึ่งภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวข้างต้นนำไปสู่การสิ้นเปลืองด้านทรัพยากร งบประมาณ อุปกรณ์ ตลอดจนเวชภัณฑ์ต่างๆ ในการรักษาและการจัดการกับภาวะแทรกซ้อนต่างๆการลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว จะต้องควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมายสำหรับกลุ่มป่วยดังกล่าว และเข้าถึงการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐาน แต่เนื่องด้วยผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงต้องเข้ารับการรักษาต่อเนื่องตลอดชีวิตและมีการปรับพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความเบื่อหน่าย ขาดความใส่ใจในการรักษา ไม่ร่วมมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการควบคุมอาการของโรค กระทบต่อผู้ป่วยโดยตรงจากการกำเริบอาการของโรคและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น จากการสำรวจข้อมูลการควบคุมเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้าน
บาโงกือเต๊ะตั้งแต่ปี 2563 - 2564 มีดั่งนี้ ปีงบประมาณ 2563 ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมได้ดี เป้าหมาย 422 คน ตรวจความดันโลหิต จำนวน 318 คน ควบคุมได้ดี 64 คน 15.17% ในปี 2564 ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมได้ดี เป้าหมาย 69คน ตรวจน้ำตาล จำนวน 28 คน ควบคุมได้ดี 8 คน คิดเป็นร้อยละ 11.59%ปีงบประมาณ 2564.ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมได้ดี เป้าหมาย 374 คน ตรวจความดันโลหิต จำนวน 374 คน ควบคุมได้ดี 40 คน 5.61% ในปี 2564 ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมได้ดี เป้าหมาย 85 คน ตรวจน้ำตาล จำนวน 37 คน ควบคุมได้ดี 9 คน คิดเป็นร้อยละ 10% จากข้อมูลข้างต้น การหาแนวทางในการป้องกันภาวะแทรกซ้อน และลดความรุนแรงของโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในกลุ่มป่วยดังกล่าว จึงมีความจำเป็นและควรเริ่มต้นจากการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ป่วยเอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงกือเต๊ะ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ประจำปี 2565 ขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีความรู้ และมีความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมกับโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เพื่อมุ่งเน้นให้ดูแลสุขภาพตนเองได้ถูกต้องและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจนเป็นสาเหตุการ เสียชีวิต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงสามรถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตสูงได้ 2. เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง

1.ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ดี เพิ่มขึ้น 5% จากปีที่ผ่านมา
2. ร้อยละของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมความดันโลหิตได้ดีเพิ่มขึ้น 10% จากปีที่ผ่านมา

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 1 15,000.00
23 - 2 ธ.ค. 65 อบรมเชิงปฎิบัติการส่งเสริมสุขภาพให้ความรู้กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูง 0 0.00 15,000.00

1.จัดทำโครงการ ขออนุมัติการจัดทำโครงการตามขั้นตอน 2.ประชุมและวางแผนการดำเนินงานโครงการ แก่เครือข่ายอสม.
3. ให้บริการตรวจสุขภาพประจำปี แก่ผู้ป่วย ได้แก่การตรวจเลือดประจำปี การตรวจตา การตรวจสุขภาพช่องปาก การตรวจเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน 4.เจ้าหน้าที่ให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงสูงตามหลัก 3 อ. 2 ส. อาหารและยาชะลอไตเสื่อม การดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวาน การประเมินภาวะระบบหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจด้วยตนเอง และ การใช้ยาในคลินิกโรคเรื้อรัง 5.ติดตามประเมินตามเกณฑ์ และส่งต่อในรายที่คุมคุมโรคไม่ได้/เกินขีดความสามารถของ รพ.สต. บ้านบาโงกือเต๊ะ 6. สรุปผลการดำเนินงาน จัดทำเอกสารหลักฐานส่ง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาล/ความดันโลหิตสูงได้ดี 2.ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงลดลง
  2. ผู้ป่วยรู้ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและรู้วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลด ปัจจัยเสี่ยงป้องกันและชะลอการดำเนินโรคสู่ภาวะแทรกซ้อน มีทักษะการดูแลตนเองที่บ้าน (Self-care skills )

  3. ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาล/ความดันโลหิตสูงได้ดี 2.ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงลดลง

  4. ผู้ป่วยรู้ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและรู้วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลด ปัจจัยเสี่ยงป้องกันและชะลอการดำเนินโรคสู่ภาวะแทรกซ้อน มีทักษะการดูแลตนเองที่บ้าน (Self-care skills )
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2565 15:27 น.