กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กไทยฟันดี เริ่มที่ผู้ปกครอง
รหัสโครงการ 65-L2514-1-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านอูยิ
วันที่อนุมัติ 17 สิงหาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนิรมาลย์ ดือราซอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละเด็กอายุ 0- 5 ปี มีฟันผุ
46.41

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของทุกคนโดยเฉพาะในเด็ก โรคฟันผุในเด็กสามารถ พบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นใน ขวบปีแรก และอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1-3 ปี สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กมีฟันผุ มาจากพฤติกรรมของมารดาใน การเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการดูแลทำความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธี และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิด โรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ส่งผลทำให้เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอ และส่งผลต่อพัฒนาการการเจริญเติบโตของเด็กได้ การเกิดฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กและ ยังมีผลเสีย ต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย กล่าวคือ ฟันน้ำนมที่เสีย ถูกถอน หรือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นแทนที่จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกันรวน เก ล้ม เอียง เข้าหาช่องว่าง ท ให้ฟันแท้ที่จะขึ้นแทนตำแหน่งนั้นไม่สามารถขึ้นได้อย่างปกติ อาจจะขึ้นมาในลักษณะบิด ซ้อนกันหรือมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะสมกับใบหน้าของเด็ก ซึ่งจะเป็นปมด้อย ทำให้เด็กไม่กล้าแสดงออกวิธีการป้องกันฟันผุที่ ได้ผลมากที่สุด คือ การแปรงฟันให้สะอาดโดยใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ ซึ่งจะช่วยลดปริมารเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดฟันผุที่อยู่ในช่องปาก นอกจากนี้ฟลูออไรด์ยังช่วยทำให้ฟันแข็งแรงได้อีก อย่างไรก็ตามเด็กวัยนี้ยังไม่สามารถแปรงฟันให้สะอาดด้วยตนเองเนื่องจากข้อจำกัดของพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก ซึ่งเด็กไม่สามารถบังคับมือให้สามารถแปรงฟันได้ทั่วทั้งปาก ดังนั้นผู้ปกครองหรือผู้ดูแลจึงมีบทบาทสำคัญในการแปรงฟันและดูแลความสะอาดของช่องปากและฟันของเด็ก รวมถึงการส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพฟัน การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดฟันผุ และปลูกฝังให้เด็กมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของตนเอง  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอูยิ ปี 2564พบว่าเด็กอายุ0-5ปี จำนวน 334 คน พบเด็กเล็กมีฟันผุ จำนวน 155 คน ร้อยละ 46.41 จากการสอบถามผู้ปกครองพบว่าผู้ปกครองไม่ได้ดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก ไม่แปรงฟันให้เด็ก เนื่องจากเด็กไม่ยินยอม กลัวเด็กร้องไห้และไม่ทราบวิธีการแปรงฟันในเด็กเล็ก เนื่องจากมีความยุ่งยากและเด็กไม่ให้ความร่วมมือ ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอูยิ จึงเล็งเห็นถึงปัญหาฟันผุในเด็กเล็กจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถดูแลสุขภาพเด็กได้อย่างถูกต้องและป้องกันฟันน้ำนมผุในเด็กเล็กและเพื่อให้ฟันแท้ที่กำลังจะงอกขึ้นมาไม่ผุต่อไปด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถดูแลสุขภาพช่องปากเด็กเล็กได้ถูกต้องและถูกวิธี

ร้อยละ 90 ของผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี มีความรู้ ความเข้าใจการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง

90.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถแปรงฟันให้เด็กได้อย่างถูกวิธี

ร้อยละ 90 ของผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี สามารถแปรงฟันให้เด็กถูกวิธี

0.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,000.00 0 0.00
1 ก.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการแก่ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี 0 15,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองสามารถดูแลสุขภาพช่องปากเด็กเล็กได้ถูกต้องและถูกวิธี
  2. เด็ก 0-5 ปี ฟันดี อัตราฟันผุลดลงจากปีที่ผ่านมา
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2565 00:00 น.