กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผู้สูงอายุร่วมใจใส่ใจสุขภาพ
รหัสโครงการ 65-L5267-02-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุตำบลป่าขาด
วันที่อนุมัติ 1 กรกฎาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 23,632.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเฉลี่ยว ซ้วนเล่ง
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวบุญญาพร คงเอียง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลป่าขาด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.241,100.469place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเข้าสู่วัยสูงอายุเป็นเรื่องธรรมชาติที่ทุกคนไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งผู้สูงอายุอาจแตกต่างกันไปเมื่อพิจารณาจากแง่มุมต่างๆ อาทิ ทางชีววิทยา ประชากรศาสตร์ การจ้างงาน และทางสังคมวิทยา ในทางสถิตินัก ถือว่าผู้สูงอายุเป็นวัยที่อยู่ในวัยสูงอายุคือบุคคลที่มีอายุ 60-65 ปีขึ้นไป สำหรับประเทศไทยกำหนดไว้ว่าผู้สูงอายุคือบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป แต่ในทางปฏิบัติจะนับตั้งแต่ 65 ปี ซึ่งวัยนี้ถือเป็นระยะสุดท้ายของพัฒนาการ แห่งชีวิต และการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ที่เกิดในช่วงนี้มักเป็นไปในทางเสื่อมลง เช่น การสูญเสียฟัน ผิวหนังเหี่ยวย่นเพิ่มขึ้น สีผมเปลี่ยนเป็นสีเทา หรือสีขาว ความสามารถในการมองเห็นลดลง การรับรู้ทางเสียงลดลง ร่างกายเคลื่อนไหวได้น้อยลง และใช้เวลามากขึ้น การใช้ความจำน้อยลง ความต้องการทางเพศลดลงหรือหมดไป ความต้องการทางเพศมากขึ้น ความหิวลดน้อยลง ซึ่งนอกจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายผู้สูงอายุยังมี การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และจิตใจอีกด้วย ส่วนหนึ่งเป็นผลจากสภาพร่างกายที่เสื่อมลงอีกส่วนเป็นผลจากสถานภาพทางสังคมที่เปลี่ยนไป ชนิดของอารมณ์ที่ผู้สูงอายุมักแสดงออกที่ผิดปกติและพบได้บ่อย คือ อารมณ์ เศร้า เบื่อหน่าย ท้อแท้ เหงา ร้องไห้ง่าย น้อยใจบ่อย ๆ ซึม แยกตัว เป็นต้น อารมณ์วิตกกังวลก็พบได้บ้าง มักแสดงออกโดยห่วงใยลูกหลานมากขึ้น บางครั้งจะมีอาการเครียด หงุดหงิดง่าย บ่นมากขึ้น พบได้บ้างบางครั้งจะมี อาการสับสนเรื่องวัน เวลา สถานที่และบุคคล นอกจากนี้ผู้สูงอายุจะมีบทบาทและความสำคัญในสังคมถูกจำกัดให้ลดลง ทั้งนี้เนื่องจากถูกมองว่าสุขภาพไม่แข็งแรง เกิดภาวะความเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย การสื่อสาร กับคนทั่วไปทำได้ลำบาก มีผลให้ผู้สูงอายุต้องอยู่ในบ้าน และมีความรู้สึกว่าตนเองไม่มีประโยชน์ หมดคุณค่าเป็นภาระให้ลูกหลาน โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เคยพึ่งตนเอง หรือเป็นที่พึ่งให้สมาชิกในครอบครัว ต้องเปลี่ยนบทบาทเป็น ผู้รับการช่วยเหลือ และถ้าผู้ใกล้ชิดไม่ให้ความสนใจจะส่งผลให้ผู้สูงอายุเกิดอาการซึมเศร้าอย่างรุนแรงถึงขั้นทำร้ายตนเองได้ จากการสำรวจปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลป่าขาด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีปัญหาเกี่ยวกับภาวะข้อเสื่อมร้อยละ9.59 ภาวะปวดเข่าร้อยละ45.21 ภาวะหลงลืมร้อยละ 52.05 ภาวะ ท้องอืดร้อยละ 4.11 ภาวะท้องผูกร้อยละ 12.33 และอาการปวดศีรษะร้อยละ 10.96 ซึ่งสาเหตุที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่เกิดจากการที่พฤติกรรมไม่เหมาะสม เช่น ภาวะข้อเสื่อมและปวดเข่าเกิดจากการสึกกร่อนของกระดูก อ่อน ภาวะหลงลืมเกิดจากขาดการกระตุ้นการทำงานของสมอง ภาวะท้องอืดและท้องผูกเกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม อาการปวดศีรษะเกิดจากการทำงานและปรับเปลี่ยนอิริยาบถที่ไม่ถูกวิธี ชุมชน ไม่มีการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในผู้สูงอายุอย่างจริงจัง จึงทำให้เป็นปัญหาสุขภาพตามมาดังนั้นชมรมผู้สูงอายุตำบลป่าขาด ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดโครงการ “ผู้สูงอายุป่าขาดร่วมใจใส่ใจสุขภาพ” โดยมีกิจกรรมให้ความรู้ คำแนะนำเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวข้างต้น และกิจกรรมนันทนาการ เพื่อให้ผู้สูงอายุ ตำบลป่าขาด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ได้มีความรู้ ความเข้าใจที่ ถูกต้องเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในแต่ละปัญหาดังกล่าว และสามารถปฏิบัติได้ถูกต้องเหมาะสมอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว และผู้สูงอายุในชุมชนมีสุขภาพที่ดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายในกลุ่มผู้สูงอายุ

 

0.00
2 2.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมดูแลสุขภาพ จิต สังคม

 

0.00
3 3.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจในการปฎิบัติตัวได้อย่างเหมาะสม

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุเพื่อนำเสนิโครงการสนับสนุน 2.กำหนดกิจกรรมเดือนละครั้ง โดยแต่ละครั้งมีกิจกรรม 3.ประชาสัมพันธ์แก่สมิกชมรมผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรม 4.ประเมิณความพึ่งพอใจ 5.สรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้สูงอายุปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการ 3 อ 2 ส และสามารถอัตราการเกิดปัญหาของผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านร่างกาย จิตใจและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2565 13:17 น.