กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ
รหัสโครงการ 65-L3321-1-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต
วันที่อนุมัติ 29 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 2,275.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประดับวุฒิ ณ นิโรจน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ส.ค. 2565 31 ส.ค. 2565 2,275.00
รวมงบประมาณ 2,275.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ความพิการ เป็นสถานะทางสุขภาพอย่างหนึ่ง ซึ่งแสดงออกมาในลักษณะของการสูญเสีย ความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆในการดำรงชีวิตในสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาสุขภาพ เช่น การเจ็บป่วย การได้รับการบาดเจ็บ ในกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพอาจประกอบด้วยการใช้วิธีต่างๆ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนการจัดหาและการให้บริการอุปกรณ์ เครื่องช่วยคนพิการเพื่อสนับสนุนการดำรงชีวิตและการเสริมสร้างสมรรถภาพหรือการเสริมสร้าง ความสามารถของคนพิการ เนื่องจากความพิการได้ส่งผลต่อชีวิตประจำวันคือผู้พิการไม่สามารถ ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้เองทั้งหมดทำให้ต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิงญาติ/ผู้ดูแล ครอบครัวถือเป็น องค์ประกอบพื้นฐานส่วนหนึ่งที่ร่วมกันดูแลคนพิการ ดังนั้นการให้ความรู้ความเข้าใจและให้ทักษะ การดูแลผู้ป่วยด้านการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยพิการแก่ครอบครัวหรือผู้ดูแลจะช่วยในการจัดการปัญหา สุขภาพของผู้ป่วยได้ดีขึ้น ลดภาวะข้อติดในผู้ป่วย และผู้พิการก็มีความสุขที่ได้มีญาติดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งแสดงถึงการไม่ถูกทอดทิ้ง รวมทั้งเป็นการเสริมพลังแก่ครอบครัวและผู้ดูแลด้วย
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแตจึงได้จัด “โครงการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ” ปี 2565 ขึ้น เพื่อให้ผู้ดูแลมีศักยภาพในการดูแลฟื้นฟูผู้พิการได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยเน้นชุมชนและครอบครัว ผู้ป่วยมามี ส่วนร่วม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้พิการได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยญาติหรือผู้ดูแล

ผู้พิการได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยญาติหรือผู้ดูแล

0.00
2 เพื่อให้ญาติหรือผู้ดูแลมีความรู้ในการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ

ญาติหรือผู้ดูแลมีความรู้ในการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ

0.00
3 เพื่อให้ผู้พิการมีความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันเพิ่มขึ้น

ผู้พิการมีความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันเพิ่มขึ้น

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณส.ค. 65
1 จัดประชุมวางแผนการดำเนินงานโครงการ(3 ส.ค. 2565-3 ส.ค. 2565) 0.00  
2 ค้นหาและสำรวจข้อมูลจำนวนผู้พิการที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟู(8 ส.ค. 2565-31 ส.ค. 2565) 0.00  
3 อบรมเชิงปฏิบัติการบำบัดฟื้นฟูผู้พิการ ให้แก่ญาติ/ผู้ดูแล(31 ส.ค. 2565-31 ส.ค. 2565) 2,275.00  
รวม 2,275.00
1 จัดประชุมวางแผนการดำเนินงานโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 0.00 0 0.00
3 ส.ค. 65 1.กิจกรรม จัดประชุมวางแผนการดำเนินงานโครงการ ภายในหน่วยงาน เจ้าหน้าที่ รพ.สต. อสม. เพื่อชี้แจงรายละเอียดและร่วมวางแผนการดำเนินงานตาม โครงการ 50 0.00 -
2 ค้นหาและสำรวจข้อมูลจำนวนผู้พิการที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟู กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 0 0.00
3 - 31 ส.ค. 65 กิจกรรม ค้นหาและสำรวจข้อมูลจำนวนผู้พิการที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟู 0 0.00 -
3 อบรมเชิงปฏิบัติการบำบัดฟื้นฟูผู้พิการ ให้แก่ญาติ/ผู้ดูแล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 2,275.00 0 0.00
31 ส.ค. 65 จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการบำบัดฟื้นฟูผู้พิการ ให้แก่ญาติ/ผู้ดูแล ซึ่งมีผู้พิการ จำนวน 50 คน หลักสูตร ๑ วัน 50 2,275.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ลดภาวะข้อติดในผู้พิการ ลดความพิการ ผู้พิการที่จำเป็นต้องได้การฟื้นฟูได้รับการบำบัดฟื้นฟูอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง
ลดภาวะแผลกดทับของผู้พิการ ญาติหรือผู้ดูแลมีความรู้ในการฟื้นฟูผู้พิการได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ญาติหรือผู้ดูแลมีการตื่นตัวในการดูแลผู้พิการมากขึ้น ผู้พิการมีการฟื้นตัวขึ้นกว่าเดิม และส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2565 13:55 น.