กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.สู่การดูแลสุขภาพช่องปากในเด็ก 0 - 12 ปี ตำบลห้วยกระทิง ปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-L4115-02-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลห้วยกระทิง
วันที่อนุมัติ 29 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 17,620.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลห้วยกระทิง
พี่เลี้ยงโครงการ มาเรียม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลห้วยกระทิง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 17,620.00
รวมงบประมาณ 17,620.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยยังคงเผชิญกับปัญหาสุขภาพช่องปาก โดยเฉพาะในเด็กระดับประถมศึกษาโดยโรคในช่องปากที่พบมากและเป็นปัญหาสาธารณสุขอันดับแรกในวัยเรียนคือ โรคฟันผุ จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 8 พ.ศ.2562 พบว่าเด็กวัยเรียนอายุ 0 - 12 ปี มีประสบการณ์โรคฟันผุ ร้อยละ 52.0 โดย มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 1.4 ซี่/คน ซึ่งใกล้เคียงกับผลจากการสำรวจครั้งที่ 7 ที่มีความชุกของโรคฟันผุ ร้อยละ 52.3 ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 1.3 ซี่/คน ตามลำดับ (สำนักงานทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2562 : 15) ปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เด็กมีสภาวะฟันผุเกิดจากพฤติกรรมการชอบบริโภคอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลในปริมาณที่ไม่เหมาะสม เด็กส่วนใหญ่ชอบบริโภคขนมหวาน ขนมกรุบกรอบ น้ำหวานรวมไปถึงเครื่องดื่มน้ำอัดลม ซึ่งมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบหลักที่ส่งผลทำให้เกิดโรคฟันผุ การดูแลสุขภาพช่องปากนั้นถือว่าเป็นงานที่สำคัญยิ่งในการนำมาวางแผนในการจัดการควบคุมป้องกันและ ดำเนินการรักษาเพื่อบรรเทาอาการในช่องปากหรือทำให้ปราศจากโรคในช่องปาก อีกทั้งจำนวนกลุ่มเด็กอายุ  0 – 12 ปี จำนวน 760 คน เฉพาะในเขตตำบลห้วยกระทิง กับการดูแลของทันตบุคากรเพียงคนเดียว ทำให้ไม่สามารถที่จะดูแลหรือรับทราบ ถึงปัญหาทางด้านทันตสุขภาพได้อย่างทั่วถึง จำเป็นต้องอาศัยผู้นำสุขภาพในหมู่บ้านคืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านซึ่งบุคคลเหล่านี้เป็นบุคคลที่ใกล้ชิดและทำหน้าที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพของเด็กในชุมชน การดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ผ่านมานั้นไม่มีรูปแบบ การดำเนินงานในการเป็นผู้นำด้านทันตสุขภาพที่ชัดเจน ทำให้ไม่สามารถขยายการดำเนินงานทันตสุขภาพสู่ระดับ ครัวเรือนและระดับหมู่บ้านได้ ในการนี้เพื่อเปีนการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพซ่องปากของ เด็กในขุมซน โดยอาศัยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมาเป็นแกนนำในการส่งเสริมทันตสุขภาพในขุมซน จะต้องเริ่มด้นจากการพัฒนาศักยภาพด้านทันตสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในตำบลห้วยกระทิง ให้มีทักษะและความรู้เบื้องต้นในการดูแลสุขภาพซ่องปากระดับครัวเรือน การเฝ้าระวังการเกิดโรคในซ่องปาก และ เผยแพร่ความรู้ด้านทันตสุขภาพต่อขุมซนได้ ดังนั้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยกระทิง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา ได้ให้ความสำคัญกับเรื่อง สุขภาพช่องปาก ซึ่งเป็นประตูด่านแรกด้านสุขภาพเกี่ยวกับปัญหาการเกิดโรคต่าง ๆ ตามมา จึงได้จัดทำโครงการ พัฒนาศักยภาพ อสม. สู่การตรวจสุขภาพช่องปากในเด็กอายุ 0 - 12 ปี ตำบลห้วยกระทิง ปีงบประมาณ ๒๕๖5 นี้ขึ้นมา เพื่อให้ อสม. ที่ผ่าน การอบรมจากทันตบุคลากร สามารถตรวจสุขภาพช่องปากของกลุ่มเด็กอายุ 0 - 12 ปี ได้อย่างถูกต้อง และนำข้อมูลส่งกับทันตบุคลากร เพื่อที่ทันตบุคลากรจะนำข้อมูลที่ได้มาปรับแผนในการออกให้บริการ หรือการวางแผน ป้องกันและรักษาแก่ผู้ที่มีปัญหาด้านทันตสุขภาพในลำดับต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย คือ แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 - 4 จำนวน 50 คน มี ความรู้ด้านทันตสุขศึกษาเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากได้

ร้อยละ 100 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 - 4 มีความรู้ด้านทันตสุข ศึกษาเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากได้

0.00
2 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสามารถตรวจสุขภาพช่องปากเบื้องต้นได้

: ร้อยละ 100 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสามารถตรวจสุขภาพช่องปากเบื้องต้นได้

0.00
3 เพื่อให้เด็กอายุ 0 – 12 ปี ตำบลห้วยกระทิงได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก

ร้อยละ 80  เด็กอายุ 0 – 12 ปี ตำบลห้วยกระทิงได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้ด้านทันตสุขศึกษาเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากได้   2. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำาหมู่บ้านสามารถตรวจสุขภาพช่องปากเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง   3. เด็กอายุ 0 – 12 ปี ตำบลห้วยกระทิงได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2565 21:17 น.