กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผู้สูงอายุสุขใจ สูงวัยอย่างมีคุณค่า 2565
รหัสโครงการ 65-L4115-02-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมาอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน ตำบลห้วยกระทิง
วันที่อนุมัติ 29 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 26,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมาอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน ตำบลห้วยกระทิง
พี่เลี้ยงโครงการ มาเรียม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลห้วยกระทิง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 26,200.00
รวมงบประมาณ 26,200.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผู้สูงอายุหรือคนชรา ปัจจุบันประเทศต่างๆทั่วโลกมีอัตราการเพิ่มจำนวนของผู้สูงอายุมากขึ้นทุกปี ผู้สูงอายุถือได้ว่าเป็นทรัพยากรของชาติที่มีคุณค่าทุกคนควรให้ความรักเคารพ และดูแลเอาใจใส่เนื่องจากเป็นผู้ที่สร้างประโยชน์แก่ชุมชนมาก่อน เปรียบคือคลังความรู้ ประสบการณ์ และวัฒนธรรมอันดีไปสู่ลูกหลาน  แต่ปัจจุบันด้วยปัญหาทางเศรษฐกิจ การดิ้นรนเลี้ยงชีพเป็นภาระหนักของคนวัยทำงานในครอบครัว ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งจากบุตรหลานมากขึ้น ฉะนั้นผู้สูงอายุควรได้รับการดูแล และเข้าถึงการบริการมากขึ้น ทั้งในเรื่องของความรู้ในการดูแลสุขภาพองค์รวม ความรู้เรื่องการป้องกันอุบัติเหตุเพื่อความปลอดภัยในชีวิต
จากการสำรวจผู้สูงอายุในตำบลห้วยกระทิง ปี2565 พบว่ามีผู้สูงอายุทั้งหมดจำนวน 407 ราย โดยแบ่งกลุ่มผู้สูงอายุได้เป็น 3 กลุ่ม ในแต่ละกลุ่มมีความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองได้แตกต่างกัน กลุ่มที่ 1 กลุ่มติดเตียงมี  จำนวน 6 ราย คิดเป็นร้อยละ ๑.47 ซึ่งอยู่ในกลุ่มติดเตียง มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการดูแล อย่างใกล้ชิดทั้งผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆและส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น กลุ่มที่ 2 ติดบ้าน มีจำนวน 18 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.42 ซึ่งกลุ่มนี้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้บางส่วน กลุ่มที่ 3 กลุ่มติดสังคม มีจำนวน 383 ราย คิดเป็นร้อยละ 94.10 ซึ่งกลุ่มนี้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้  แต่พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังขาดทักษะและความรู้ในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิเคราะห์ต้นทุนทางสังคม เราพบว่า พื้นที่ ตำบลห้วยกระทิง มีต้นทุนทางสังคมจากหลากหลายองค์กรที่สามารถเอื้อต่อการดูแลเยียวยาผู้สูงอายุในพื้นที่ อาทิเช่น แกนนำ 4 เสาหลัก ชมรมผู้สูงอายุ ชมรมกีรอาตี โรงเรียนประถม 2 แห่ง รร.ตาดีกา แกนนำสัตรี เป็นต้น การบูรณาการความช่วยเหลือจากต้นทุนทางสังคมในพื้นที่นั้นจะความสามารถส่งผลดีต่อสุขภาพกายใจและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  ยิ่งคนในสังคมเล็งเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุด้วยแล้ว สถาบันครอบครัวจะมีสุขภาพจิตที่ดีส่งผลให้สุขภาพกายดีตามมา เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและส่งเสริมสถาบันครอบครัวดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อบูรณาการต้นทุนทางสังคมร่วมกันส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้สามารถดูแลตนเองได้โดยต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้อง
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้ในการปฏิบัติตนและสามารถดูแลตนเองถูกต้องตามสมรรถนะ ร้อยละ 80
0.00
2 เพื่อส่งเสริมสุขภาพทางจิตวิญญาณ และส่งเสริมเรื่องความจำป้องกันความจำเสื่อมในผู้สูงอายุ
  1. ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี ร้อยละ 90
0.00
3 เพื่อวางแผนการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุและให้คำแนะนำด้านสุขภาพที่เหมาะสม
  1. ผู้สูงอายุได้รับการการดูแลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ร้อยละ 90
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้อง
2.ผู้สูงอายุมีการพบปะและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลสุขภาพร่วมกัน
3.ผู้สูงอายุได้รับการประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน(ADL)
4.ผู้สูงอายุติดเตียงได้รับการเยี่ยมบ้านและให้คำแนะนำด้านสุขภาพที่เหมาะสม
5.ผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมสุขภาพทางจิตวิญญาณ และส่งเสริมเรื่องความจำป้องกันความจำเสื่อม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2565 21:35 น.