กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการคัดกรองเชิงรุกโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(Covid-19) สำหรับผู้ปกครองนักเรียน บุคลากรทางการศึกษาและผู้มาติดต่อราชการ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกลิ้งกลอง ปีงบประมาณ 2565

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองเชิงรุกโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(Covid-19) สำหรับผู้ปกครองนักเรียน บุคลากรทางการศึกษาและผู้มาติดต่อราชการ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกลิ้งกลอง ปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-L1523-3-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกลิ้งกลอง
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 21,130.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกลิ้งกลอง
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวศศิมา โสะสะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.465place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 28 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 48 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาราจักรในปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ 26 มีนาคม ๒๕๖๓ และตามมติคณะรัฐมนตรีได้ขยายประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ออกไปถึงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๔ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่คำสั่งศูนย์บริหาร สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) ที่ ๑๕/๒๕๖๔ เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่ กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด และพื้นที่ควบคุม ตามข้อกำหนดออกตามมาตรา ๙ แห่ง พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกาศระบุว่าตามที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ จนถึงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๔ นั้น สถานการณ์ การระบาดของโรคติดเชื้อโควิค 19 ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึง ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ซึ่งขณะนี้มีพื้นที่ จังหวัดที่ประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดถึง ๒๓ จังหวัด เนื่องจากมีการติดเชื้อแบบกลุ่มใหม่ ๆ ในการระบาด เกิดอย่างนีผลให้ระบบการวรณสุข การรักษาการวิกฤตในการให้การ ผู้ป่วย เรา เน ทั้งขาดแคลน อุปกรณ์ที่จำเป็นบุคลากรและสถานที่ที่ให้การรักษามีอัตราครองเตียงสูงมากยิ่งขึ้น มีผลกระทบขยายวงกว้างไปยัง ทุกจังหวัดในประเทศ จังหวัดกาย ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด มีรายงานจํานวนผู้จัดเชื้อรายวันอย่างต่อเนื่อง
ตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท ๐๘๑๖.๔/ว ๕๙๐๒ ลงวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๔ เรื่อง มาตรการ ดำเนินการเปิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ใช้ สังกัดดำเนินการตามมาตรการดำเนินการเปิดศูนย์ฯ โดยจัดเตรียมอุปกรณ์ตรวจเชื้อ Antigen Test Kit (AT ให้เพียงพอต่อความต้องการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้ปกครอง และบุคคลในครอบครัวของเด็กเล็ก ซึ่งผู้ปกคร และบุคคลในครอบครัวของเด็กเล็กทุกคนต้องได้รับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้วย Antigen Te Kit (ATK) ก่อนเปิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไม่เกิน ๗ วันบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์ฯ ทุกคน ต้องได้รับการตรวจหาเชื้อด้วย ATK ในวันแรกที่เปิดศูนย์ฯ และกรณีอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด ให้ตรวจหาเชื้อทุก ๒ สัปดาห์ ดังนั้น แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID กรณีเปิดสถานประกอบกิจการในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด มาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Setting) สำหรับสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ข้อ ๒. แนวปฏิบัติด้านผู้ให้บริการ (COVID-FREE Personal) ข้อ การตรวจคัดกรองเชื้อ (๓) บุคลากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและพื้นที่ควบคุม (สีแดงและสีส้ม) หากไม่ได้รับ ครบตามเกณฑ์ ให้ตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ด้วยการตรวจแบบ ATK ทุก ๒ สัปดาห์ สำหรับแนวปฏิบัติผู้รับบริการ (COVID-FREE Customer) ๓.๑ การเฝ้าระวังและป้องกันโรค (๒) เด็กปฐมวัย หรือสมาชิกทุกคนในครอบครัว ต้องได้รับการตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ครบ 100% ก่อนเปิดไม่เกิน 7 วัน (อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพ) 3.3 การตรวจคัดกรองเชื้อ (1) การตรวจ ATK ของครอบครัวและเด็กปฐมวัย ใช้หลักเกณฑ์ ข) เด็กปฐมวัยหรือสมาชิกทุกคนในครอบครัว ที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและพื้นที่ควบคุม (สีแดงและสีส้ม)  หากไม่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ให้ตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยการตรวจแบบ ATK ทุก 2 สัปดาห์ หรือเมื่อ  มีอาการ ในการนี้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกลิ้งกลอง จึงต้องจัดหาอุปกรณ์การตรวจเชื้อ Antigen Test Kit (ATK) ให้เพียงพอต่อความต้องการของเด็กนักเรียน ผู้ปกครอง บุคลากรทางการศึกษา และผู้มาติดต่อได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วย Antigen Test Kit (ATK) อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และหากพบว่าผลการตรวจคัดกรองเป็นบวก ให้แจ้งเจ้าพนักงานสาธารณสุขในพื้นที่ทันที และเข้ารับการกักตัวในชุมชน เพื่อเป็นการสร้างความปลอดภัย และความเชื่อมั่นให้แก่ผู้เข้ามาใช้บริการทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงมีความจำเป็นในการที่จะจัดหา จัดซื้อ อุปกรณ์ป้องกันให้กับเด็ก ผู้ปกครอง และบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข และสามารถควบคุม การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้ทันท่วงที

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 (1) เพื่อให้เด็กนักเรียน ผู้ปกครอง บุคลากรทางการศึกษา และผู้มาติดต่อทางราชการในศูนย์พัฒนา เด็กเล็กบ้านกลิ้งกลอง ได้รับการตรวจคัดกรองเชิงรุกด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น Antigen Test Kit (ATK)

ด้านปริมาณ - ร้อยละ 100 ของเด็กนักเรียน ผู้ปกครอง บุคลากรทางการศึกษา และผู้มาติดต่อทางราชการ        ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกลิ้งกลอง ได้รับการตรวจคัดกรองเชิงรุกด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น Antigen Test Kit (ATK)
ด้านคุณภาพ - เด็กนักเรียน ผู้ปกครอง บุคลากรทางการศึกษา และผู้มาติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกลิ้งกลอง ได้รับการตรวจคัดกรองเชิงรุกด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น Antigen Test Kit (ATK) และลดการแพร่ระบาดของเชื้อโรค - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกลิ้งกลอง มีชุดทดสอบเบื้องต้น Antigen Test Kit (ATK)  สามารถปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันโรคติดต่อ ควบคุมการระบาดของโรคติดต่อ และสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ปกครองและชุมชนได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 152 21,130.00 0 0.00
1 มี.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมตรวจคัดกรองเด็กเล็ก และผู้ปกครอง บุคลาการทางการศึกษา และผู้มาติดต่อทางราชการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกลิ้งกลอง ด้วยชุดตรวจ ATK 76 17,130.00 -
1 มี.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมการล้างมือบ่อยๆ สำหรับเด็กเล็ก และผู้ปกครอง บุคลาการทางการศึกษา และผู้มาติดต่อทางราชการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกลิ้งกลอง 76 4,000.00 -

3.1 ประชุมครูและบุคลากรของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อกำหนดรายละเอียดและผู้รับผิดชอบโครงการ 3.2 จัดทำโครงการเสนอขออนุมัติต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาเมืองเพชร 3.3 รอการแจ้งผลพิจารณาการอนุมัติโครงการจากคณะกรรมการกองทุนฯ
3.4 จัดทำหนังสือขอเบิกเงินโครงการจากกองทุนฯ
3.5 ดำเนินโครงการตามรายละเอียดของกิจกรรม   1) จัดหาจัดซื้ออุปกรณ์การตรวจเชื้อ Antigen Test Kit (ATK) อุปกรณ์ในการป้องกันในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ 2) ดำเนินการจัดมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

(1) เด็กนักเรียน ผู้ปกครอง บุคลากรทางการศึกษา และผู้มาติดต่อทางราชการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกลิ้งกลองทุกคน ได้รับการตรวจคัดกรองเชิงรุกด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น Antigen Test Kit (ATK) (2) เด็กนักเรียน ผู้ปกครอง บุคลากรทางการศึกษา และผู้มาติดต่อทางราชการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกลิ้งกลองทุกคน มีพฤติกรรมใหม่ตามหลัก New Normal และ DMHTT (3) ยับยั้งการแพร่ระบาดชองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกลิ้งกลอง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2565 08:14 น.