กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกประจำปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-L5238-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อบต.ชุมพล
วันที่อนุมัติ 14 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 14 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 32,742.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเพียงขวัญ กาญจนเพ็ญ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.603,100.385place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สำคัญซึ่งมีการแพร่ระบาดของโรคในทุกภาคของประเทศมีแนวโน้มช่วงระยะเวลา ในการระบาดถี่ขึ้นและมีความรุนแรงมากขึ้นจากการระบาดของโรคปีเว้นสองปี ปีเว้นปี  ปัจจุบันมีการระบาดของโรคเป็นประจำทุกปี โดยพบผู้ป่วยได้ในทุกฤดูกาลโรคไข้เลือดออกจึงเป็นปัญหาระดับประเทศ ในแต่ละปีมีผู้ป่วยและตายเป็นจำนวนมากส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม รัฐบาลจึงได้เล็งเห็นความสำคัญ จึงได้นำปัญหาโรคไข้เลือดออกมากำหนดเป็นนโยบายหลักในการดำเนินงาน โดยที่สถานบริการสุขภาพทุกแห่งจะต้องร่วมมือกับองค์กรชุมชนต่างๆดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ครอบคลุมทุกพื้นที่อย่างต่อเนื่อง การป้องกันโรคไข้เลือดออกนั้น จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นอสม. อปท. ผู้นำชุมชน ครูและนักเรียน รวมทั้งประชาชนในพื้นที่ในการกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคโดยได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปี
      จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2565 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 18 พฤษภาคม 2565 พบผู้ป่วย จำนวน 1,952 ราย เสียชีวิต 2 ราย กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยมากที่สุด คือ อายุ 5-14 ปี รองลงมา คือ 15-24 ปี และเด็กแรกเกิด  - 4 ปี ตามลำดับ จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูง 5 จังหวัดแรก คือ แม่ฮ่องสอน ระนอง ตาก นครปฐม และราชบุรี ตามลำดับ แม้สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในช่วงต้นปี 2565 จะมีตัวเลขน้อยกว่าปี 2564 แต่ในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา กลับพบว่าจำนวนผู้ป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและสูงกว่าช่วงเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว
        สำหรับ สถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดสงขลา (ข้อมูล ตั้งแต่ 1 มค - 10 พค 65) พบผู้ป่วยไข้เลือดออก 32 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 2.27 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 10 -14 ปี คิดเป็นอัตราป่วย 5.99 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาอายุ 15-24 ปี (อัตราป่วย 4.67) และกลุ่มอายุ 0 - 4 ปี (อัตราป่วย 3.07) ตามลำดับ อำเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุดคือ อำเภอกระแสสินธุ์ อัตราป่วยเท่ากับ 6.41  ต่อประชากรแสนคน รองลงมาสะเดา และคลองหอยโข่ง ตามลำดับ และอำเภอที่พบผู้ป่วยสูงสุด คือ อำเภอสะเดา (7) หาดใหญ่ (7) เมือง (3) สะบ้าย้อย (3) สิงหนคร (3) ตามลำดับ
      ทั้งนี้ การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังการเกิดโรคให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลชุมพล อาศัยอำนาจพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา67(3) องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการป้องกัน ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลชุมพลจึงจัดทำโครงการฯ เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดอัตราป่วยด้ายโรคไข้เลือดออก
  1. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกน้อยกว่าร้อยละ๒๐ของค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง (2560-2564)
0.00
2 2.เพื่อให้มีทรัพยากร งบประมาณ พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง และควบคุมโรคไข้เลือดออก

2.ร้อยละ80 ของ พื้นที่ตำบลชุมพล เช่น ส่วนราชการ/รพ.สต./โรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/วัดมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย  CI= 0 /ในหมู่บ้านมีค่า HI น้อยกว่า 10

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2565 10:35 น.