กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงเลี่ยงเบาหวาน
รหัสโครงการ 65-L3329-1-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลตะโหมด
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2564 - 31 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2565
งบประมาณ 22,076.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวโสรยา มีหมื่นพล
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาววาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวาน เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประเทศไทย
โดยสถานการณ์โรคเบาหวานทั่วโลก พบว่ามีผู้ป่วย จำนวน 463 ล้านคน และคาดการณ์ว่าในปี 2588
จะมีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน จำนวน 629 ล้านคน สำหรับประเทศไทยพบอุบัติการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นประมาณ 3 แสนคนต่อปี (ข้อมูล ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 : กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค) ในปี 2564 จังหวัดพัทลุง พบประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานจากการคัดกรอง จำนวน 11,739 คน และอำเภอตะโหมด พบประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานจากการ คัดกรอง จำนวน 610 คน (ข้อมูลจากระบบคลังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จังหวัดพัทลุง) นอกจากปัจจัยทางกรรมพันธุ์ที่ส่งเสริมการเกิดโรคแล้ว การมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ทั้งด้านอาหาร โดยการรับประทานอาหารรสเค็ม มัน หวาน ขาดการออกกำลังกาย มีความเครียดสูงเรื้อรัง ดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่เป็นประจำ นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคดังกล่าว หากประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ด้านสุขภาพ ตระหนักในการดูแลสุขภาพ เข้ารับการคัดกรองภาวะสุขภาพ รวมทั้งมีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม จะสามารถดูแลตนเอง ครอบครัว และชุมชน ลดโอกาสการเกิดโรคเบาหวาน กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลตะโหมด
ทำหน้าที่เป็นหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ บริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมโรค
ฟื้นฟูสภาพ และให้บริการรักษาโรคเบื้องต้นในเขตพื้นที่เทศบาลควนเสาธง ตระหนักถึงความสำคัญที่จะดูแลสุขภาพแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ตามหลัก 3อ.2ส.1ฟ. เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสม มีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค
จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงเลี่ยงเบาหวาน สำหรับประชาชนในเขตเทศบาลควนเสาธง ปีงบประมาณ 2565 ขึ้นเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในครั้งนี้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 จัดทำโครงการ/ขออนุมัติโครงการจากคณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุน และโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงเลี่ยงเบาหวาน 1.2 ประชุมชี้แจง เจ้าหน้าที่ รพ.ตะโหมด เพื่อหาแนวทางร่วมกัน 1.3 ประชาสัมพันธ์เชิญชวนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน เข้าร่วมโครงการ
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 จัดกิจกรรมอบรมตามโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงเลี่ยงเบาหวาน ตามหลัก
    3อ. 2ส. 1ฟ. (อ. อาหาร อ. อารมณ์ อ. ออกกำลังกาย ส. สูบบุหรี่ ส. สุรา และ ฟ. การดูแลฟัน ประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้
    กิจกรรมที่ 1 ประเมินสุขภาพก่อนเข้าร่วมโครงการ กิจกรรมที่ 2 “BAR & Check in Idea” สะท้อนคิด วิถีชีวิตและการดูแลสุขภาพ กิจกรรมที่ 3 เรียนรู้ “เสี่ยงเลี่ยงเบาหวาน ตามหลัก 3อ. 2ส. 1ฟ. กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “วางแผนพิชิตโรค พิชิตพุง” กิจกรรมที่ 5 สาธิตและฝึกปฏิบัติ “การออกกำลังกายแบบ New normal อยู่บ้านก็สุขภาพดีได้” กิจกรรมที่ 6 “AAR : สะท้อนการเรียนรู้” 2.2 สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน พร้อมข้อเสนอแนะทางแก้ไขปัญหา
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
  2. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80     3. อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานลดลง ร้อยละ 20
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2565 16:03 น.